在9月4日,由迪士尼出品的《花木兰》在泰国上映了。让国内的朋友们可以说是十分羡慕了。虽然这部电影因为疫情的原因经历了几番波折,但是还是吊足了观众的胃口。这不一上映,小编就约上了小伙伴前去电影院支持!

泰国版的《花木兰》,是由也有一样坚强性格的小水Baifern配的音。两个女强人的叠加会是什么效果呢!

当然《花木兰》在泰国也大获好评!不过国内的小伙伴也不用着急,电影国内定档9月11日,马上也可以到影院观看一睹花木兰的英姿啦!而在这之前,我们先来了解 一下关于木兰的幕后故事吧!

ที่มาที่ไปของ “มู่หลาน” ตามตำนานจีน
中国传说中“木兰”的来源

สำหรับเรื่องดังๆ อย่าง มู่หลาน (木兰) หลายคนในจีนก็ยังเข้าใจว่า เป็นบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์จีน ในขณะที่อีกกลุ่มก็ให้ความเป็นว่า เป็นเพียงเรื่องแต่ง มู่หลานถูกกล่าวถึงในบทกลอนเก่าที่สุดคือ “มู่หลานฉือ” (木兰辞) หรือ “ลำนำมู่หลาน” (Ballad of Mulan) ซึ่งถูกรวบรวมอยู่ในบันทึกรวมเพลงโบราณที่มีอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 6 ราวปลายสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) หรือต้นราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) โดยถือกันว่า ตำราชุดนี้ได้สูญสลายไปตามกาลเวลาและไม่สามารถหาตัวอย่างหรือต้นฉบับได้แล้ว แต่ว่าในราวศตวรรษที่ 11 สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1127) กวีนามว่า “กัวเม่าเฉียน” (郭茂倩) (มีชีวิตในปี ค.ศ. 1041-1099) ได้เขียนตำราชื่อ เยี่ยฝูชี (乐府诗) เพื่อรวบรวมเพลงและร้อยกรองต่าง ๆ โดยอ้างว่าได้นำเรื่องลำนำมู่หลานมาจากตำรากู่จินเยี่ยลู่(古今乐录)อีกที เนื้อความในลำนำมู่หลานที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้จึงมาจากฉบับที่กัวเม่าเฉียนเขียนอ้างอิงอีกที
花木兰,在中国是家喻户晓的故事。一部分人认为这是真实的故事,然而有一部分人则认为木兰是虚构的人物,只在《木兰辞》这首歌谣中被提及,并被收录于古代民间的各种诗词集中。大约在六世纪,隋末(公元581-618)或唐初(公元618-907)左右。人们认为,随着时间的流逝,这一系列的书记已经无法找到最初的手稿了。但是,大约在十一世纪宋朝(公元960-1127)时期。诗人郭茂倩(1040年-1099年),为了收集各种诗歌和乐曲编写了《乐府诗》,而木兰的故事引用于《古今乐录》这本书中,直到现在花木兰的故事都来源于郭茂倩所编写的引用版本。

(但要注意的是,百度百科上所申明,《古今乐录》中并没有辑录《木兰诗》,《木兰诗》是北宋才出现的,相关来源可能还需要考究。)

“ลำนำมู่หลาน” เดิมน่าจะเป็นเพียงเพลงร้องที่ชาวบ้านในศตวรรษที่ 4-5 ร้องกัน เพื่อปลุกเร้าความกล้าหาญว่า ถึงจะเป็นผู้หญิงอ่อนแอก็อาสาช่วยรบกับผู้ชายเพื่อปกป้องบ้านเมืองได้ เพราะในช่วงนั้นจีนต้องรบรากับพวกกลุ่มอานารยชนภายนอกบ่อยครั้ง โดยในช่วงแรกเข้าใจว่าเรื่องราวมู่หลานอาจอิงกับแนวคิดแบบชนเผ่าและความเสียสละเพื่อชนเผ่ามากกว่าความกตัญญู

“花木兰”最初是在4-5世纪期间,老百姓中流传的歌谣。因为在那个时候中国经常受到外侵。为了鼓舞女性勇敢,哪怕身为一名柔弱的女性也志愿和男人共同保护家园。最初我们了解到《花木兰》的故事,可能基于民族的思想。为了民族而牺牲大过于孝顺。

โดยเล่าถึงวีรกรรมของสตรีชนเผ่านางหนึ่ง มีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (ค.ศ. 420-589)เธออาสาปลอมเป็นชายไปรบแทนพ่อที่ชราและน้องชายที่ยังเล็ก ออกเดินทางข้ามแม่น้ำและภูเขากว่าพันลี้เพื่อเข้าร่วมกองทัพของข่านแห่งราชวงศ์เว่ยเหนือ สงครามดำเนินไปถึงสิบกว่าปีจึงสิ้นสุด สร้างความดีความชอบไว้มากมาย ข่านต้องการมอบตำแหน่งเลขาธิการกองทัพให้ แต่เธอกลับขอเพียงม้าตัวหนึ่งเพื่อขี่กลับบ้าน เมื่อถึงบ้านจึงได้จัดแจงแต่งกายคืนตามเพศจริง เพื่อนทหารหนุ่มที่ตามมาส่งต่างตกใจว่า รบร่วมกัน 12 ปี กลับไม่รู้ว่ามู่หลานคือสตรี

但通过讲述发生在南北朝时期(公元420-589)的另一个英雄女性的故事。她自愿女扮男装,代替父亲和弟弟出战。步行千里,穿越山川和河流,加入北魏可汗的军队。这场战争持续了十年之久,花木兰屡立战功。可汗想让她作官,但木兰只求一匹马回家。直到回到家乡,木兰才脱下自己的戎装换上了女装。跟她一起战斗了12年的士兵们都很吃惊,竟然不知木兰是女孩。

 

การปรากฏตัวของ “มู่หลาน” ในฉบับภาพยนตร์
首次出现在荧屏中的“花木兰”

มู่หลานปรากฏตัวครั้งแรกบนแผ่นฟิล์มเป็นลักษณะการเล่นงิ้วหน้ากล้องในหนังชื่อ Hua Mulan cong jun (1927) แล้วก็ถูกผลิตซ้ำอยู่อีกหลายหน เปลี่ยนนักแสดงไปอีกหลายฉบับ
花木兰首次出现在荧屏中,是在戏曲电影《花木兰从军》(1927)中。这部电影已经被翻拍了很多次,不同的演员都有演绎过。


Hua Mulan cong jun (1927)
《花木兰从军》(1927)

 

จนกระทั่งฉบับที่คนทั่วโลกได้รู้จักตัวละครนี้จริง ๆ ก็ตอนที่ Disney ได้นำมาผลิตเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติในปี 1998 และทำให้มู่หลานถูกนับเป็นหนึ่งในเจ้าหญิง Disney ไปด้วย ทั้งที่ไม่ได้ครองคู่กับเจ้าชายเหมือนเรื่องอื่น ๆ แต่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากจักรพรรดิ
直到1998年迪士尼所制作的2D动画电影,让木兰被世界范围所认可,成为迪士尼的公主之一。她不像其他故事中的公主一样与王子在一起,而是得到了皇帝的拥戴和赞赏。

ก่อนหน้านี้ในปี 2010 ก่อนที่ Disney จะหันมาเอาจริงเอาจังกับการดัดแปลงภาพยนตร์การ์ตูนในอดีตของตัวเองให้มาเป็นหนัง Live Action อย่างทุกวันนี้ ก็เคยมีแผนจะให้ “จางซิยี่” หรือ Ziyi Zhang จาก Memoirs of a Geisha (2005) มาเล่นภายใต้การกำกับของ Chuck Russell จากหนังหน้ากากเทวดา The Mask (1994) ที่ฟัง ๆ แล้วดูไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะเอาเสียเลย ต่อมา Disney ก็เคยหมายมั่นจะให้ผู้กำกับชื่อดังอย่าง Ang Lee หรือหลี่อัน จาก Crouching Tiger, Hidden Dragon (2000) และ Life of Pi (2012) มากำกับ Mulan ฉบับคนแสดงแต่เขาปฏิเสธ
早在2010年前,迪士尼就有将动画电影改编成“真人版动作电影”的打算。曾计划让出演过《艺伎回忆录》(2005)的章子怡和出演《变相怪杰》(1994)的查克·拉塞尔合作,这听起来真是个不错的选择。除此之外,迪士尼还曾邀请过执导了《卧虎藏龙》(2000)和《少年派的奇幻漂流》的李安导演来拍摄花木兰,但是被他拒绝了。


Ziyi Zhang ใน Memoirs of a Geisha (2005)
《艺伎回忆录》(2005)中的章子怡

 

รวมถึงเคยมีข่าวออกมาในปี 2017 ว่า นอกจาก Disney แล้ว ค่าย Sony ก็เคยอยากจะคิดสร้างหนังจากตำนานเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ถอยฉากไป
包括在2017年就曾有媒体报道过,除了迪士尼,索尼也曾考虑过将这个传奇的故事制作成电影,但最终还是由迪士尼来制作了这部电影。

最后小编想说,《花木兰》这部电影从制作到上映都是一波三折呀。虽然现在电影还没有在国内上映,就受到了褒贬不一的评价。但电影究竟如何,还是需要自己走进影院观看才能体会的。毕竟一千个人心中有一千个哈姆雷特。

花木兰是属于中国的,可以把她看做是迪士尼的公主,而她更是我们的英雄。当然想要讲好一个中国故事,还是得靠我们自己。

以前读书的时候不能理解《木兰辞》中真正的含义,直到走出国门的今天才更能体会“可汗问所欲,木兰不用尚书郎。愿驰千里足,送儿还故乡。”

木兰的“忠、勇、真、孝”四字精神,或许正是我们需要学习并传承下去的。

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自beartai,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。