说到泰国的高等教育,已经越来越受到国内学生的偏爱了,很高的性价比都让很多人把泰国当作提升自己学历的目的地,大家可选择的学校也有很多。最近,很多泰国高校已经开放了新学年的申请,今天,我们就带大家再好好认识一下泰国这些出名的公立大学,了解一下它们的前世今生。


จุฬาล งกรณ์มหาวิทยาลัย
朱拉隆 功大学



จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับแบบเก่า) หลังสำเร็จการศึกษาให้นักเรียนเหล่านี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก จึงมีการเปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และใช้ทุนที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้ามาใช้เป็นทุนโรงเรียน และโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียน โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา
朱拉隆功大学最开始是“国民公务员培训学校”,由拉玛五世1899年3月30日建立,在这所学校毕业的学生均会担任皇家侍卫,因此在1902年4月1日更名为“皇家侍卫学校”,为接下来的学校奠定了基础。1910年1月1日(拉玛六世王时期),将皇家侍卫学校升格为国民公务员学校,御赐的校名为“朱拉隆功国王公务员学校”,用修 建五世王骑马像余下的预算作为学校的资金,规划了总共1390莱的土地作为校区,总共分成了五个学校,分别是宗教学校、教师学校、医生学校、法律学校和机械学校。



ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังกัดกระทรวงธรรมการ ในระยะแรก การจัดการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่เพียงระดับประกาศนียบัตรพร้อมกับเตรียมการเรียนการสอนในระดับปริญญา โดยจัดการศึกษาออกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตปทุมวันและวิทยาเขตโรงพยาบาลศิริราช จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
1916年3月26日,六世王将朱拉隆功国王公务员学校升级为“朱拉隆功大学”,以纪念朱拉隆功大帝,隶属于宗教部。刚开始,朱拉隆功大学的教育还 不涉及学位教育,分成了两个校区,分别是巴吞旺校区和诗里拉吉医院校区,教学一共分成了四个学院,分别是宗教学院、医学院、工程学院、文学和科学院。



ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาได้ นอกจากนี้ ยังเริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
后来在1922年,拉玛六世获得了洛克菲勒基金会的支持,合作调整了朱拉隆功大学的教学标准,使朱拉隆功大学能够进行学位教育。除此之外,还注重高中阶段的教 育,设立了大学预备学校,名为朱拉隆功大学预备学校。


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
法政 大学




มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย
法政大学是泰 国第二所大学,建立之初的名字是“法律政治大学”,目的是提供法律和政治方面的教育。后来在1916年,政府将其更改为现在的名字,成为了泰国第二古老的大学,和泰国的政治、国家、宪法的发展都有着密切的联系。



วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558" ซึ่งได้มีผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอีก 30 วันต่อมา นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย
2015年7月17日,政府公布了2015年法政大学政令,成为了自主高校。法政大学除了是亚洲欧洲技术学术会的成员之外,还是大湄公河次区域的学术和研究委 员会的成员。


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 业大学




มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ แรกเริ่มเป็น โรงเรียนช่างไหม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่และโรงเรียนกรมคลองเป็น โรงเรียนเกษตราธิการ และถูกยุบรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ในปี พ.ศ. 2456 ต่อมาได้รับการก่อตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2460 ในนาม โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม และได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถัดจากนั้นมา รัฐบาลได้ปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกษตรกลาง บางเขน กับโรงเรียนวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ และสถาปนาเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2486 ระยะแรก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ บริหารธุรกิจ และงานบริการ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
农业大学,是泰国第一所开设农业类课程的公立大学,是泰国第三所大学。起先是纺织学校,建立于1904年,后来改名为种植学校,后来整合了地图学校和运河学校,成立了农业学校,在1913年收编进了国民公务员学校。后来1917年建立了农业教师学校,后来后更名为农业中级学校,之后又被升级为农业学院 。泰国政府在1943年合并了 Bang Khen 的农业学院和帕府的森林学校,建立了农业大学。刚开始,农业大学只开设农业方面的专业,但是后来扩展到了多个学科,包括农业、科学、健康科学、工程、教育、社会、人文、商业管理和服务妆液。目前,农业大学复合2015年政府政令,属于公立自主高校。


มหาวิทยาลัยมหิดล
玛希 隆大学




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่าวังหลัง ต่อมาใน พ.ศ. 2432 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง โรงเรียนแพทยากร โดยจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อววันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" ซึ่งได้รับการพัฒนาวิชาการจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตร ซึ่งอนุมัติโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
拉玛五世下 御诏在旺朗宫建立了诗里拉吉医院,后来在1889年下令建立了医学学校,开设为期3年的医学课程。后来,五世王和王后亲临医学学校的竣工仪式,御赐了新名为“Phaetthayalai 医学学校”。在拉玛六世王时期,建立了朱拉隆功国民公务员学校,后来发展为朱拉隆功大学,1917年4月6日将 Phaetthayalai 医学学校收编为其的医学院,后来更名为西里拉医学院,获得了洛克菲勒基金会的支持,得到朱拉隆功大学的批准后可以开设神经学方面的学位教学。



ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ หลายคณะ ต่อมาได้โอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะสัตวแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1943年2月2日,拉玛八世的代表团下令建立一所医学方面的高校,于是将西里拉医学院的牙医学、药品学、兽医学分离出来,成立了医科大学,隶属于公共卫生部的 管理,在学校中设立了多个学院,后来又将一些重复的学院,例如朱拉隆功大学医学院、医药学院和牙医学院重新整合回朱拉隆功大学,清迈医院医学院整合回清迈大学,兽医学院整合回农业大学。



ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม และในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ใน พ.ศ. 2551 มีแผนแม่บทพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558–2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน
1969年2月21日, 拉玛九世为其赐名为玛希隆大学,为的是纪念拉玛八世王。在2007年10月16日,设立的皇家项目调整了玛希隆大学的行政管理体制,使其变成了公立自主高校。2008年,将玛希隆大学的 Salaya 校区发展为绿色大学城,调整提升了环境以适应各种活动。此外,玛希隆大学还有2015-2019年可持续发展的管理项目,分为三个重要战略,分别是有效利用资源项目、低碳社会项目和民众参与合作项目。


มหาวิทยาลัยศิลปากร
 术大学




มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เดิมคือ "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร" ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2476 โดยหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น และ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) มีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี หรือชื่อเดิม กอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาจารย์ผู้สอนหลัก โดยใช้พื้นที่วังกลางและวังตะวันออกของ วังท่าพระ ซึ่งในตอนนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จไปประทับตำหนักปลายเนินแล้ว รัฐบาลจึงรับซื้อมาจากทายาทของพระองค์ และทำการเปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมา พ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนศิลปากร"
艺术大学是一所隶属于高等教育部的公立自主大学,前身为隶属于艺术局的“艺术学校”,建立于1933年,时任艺术局局长 Luang Wichitwathakan、Sarot Sukkhayang 和六世王时期来泰国担任公务的意大利人 Corrado Feroci 是主要的老师,在 Tha Phra 宫的中宫、东宫进行教学,因为当时那里沙拉·努瓦迪翁已经搬到普拉伊拿恩海滨宫居住,政府就将校区买下免费为公务员和学生进行教学,后来1935年整合了位于前宫的歌舞学校,新名为“艺术学校”。



วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร ได้พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร" เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการและภูมิปัญญาเพื่อสังคม พร้อมทั้งจัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นเป็นคณะวิชาแรก และใน พ.ศ. 2498 ได้จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง และ คณะโบราณคดี จากการวางรากฐานโดย ศาสตราจารย์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) และหลังจากนั้นได้จัดตั้ง คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งได้แยกตัวจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในปีต่อมา
1943年10月12日,时任艺术部部长 Phraya Anuman Rajadhon 发展了学校的课程,将其升级为“艺术大学”,使其成为了国家级的艺术高校,目的是为了发展社会艺术和智慧,还建立了绘画和雕塑学院作为艺术大学的第一个学院。1955年,设立了建筑委员会,Phra Phrom Phichit 为创始人;还建立了考古学院,Luang Boriban Buriphan 为奠基人;第二年又从绘画和雕塑学院分离出了装饰艺术学院。


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
诗纳卡 琳威洛大学




มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แรกเริ่มได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นการผลักดันของ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 เพื่อผลิตวิชาชีพครู ซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา
诗纳卡琳威洛大学建立之初是隶属于教育部的高级教师培训学校,是在当时教育部常务秘书 Pin Malakul 的推动下成立的,成立于1949年4月28日,目的是焊接当时缺乏 教师的问题,是小学和中学教师培养的起点。



ในปี พ.ศ. 2516 คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัย ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามความหมายที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบต พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาศบพิตรฯ รัชกาลที่9 พระราชทานให้กับมหาวิทยาลัยฯ แปลว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร"
1973年,为了避免当时军人政府的高压统治,师生出面 呼吁让政府将学校提升为大学,隶属单位从教育部更改为高等教育委员办公室,以更好地发展还很局限的办学结构、管理和教学,希望将学校发展成一个多学科的大学。最终,根据九世王的御诏,赐名为诗纳卡琳威洛大学,意为“为国家繁荣带来荣光的大学”。


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 迈大学




มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคขึ้นแต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 การดำเนินงานจึงชะงักลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 รัฐบาลชุด จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาว่า "จะดำเนินการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูง" พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล) เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นว่า "น่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่" พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกชื่อมหาวิทยาลัยนี้ว่า "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508
清迈大学是泰国第一所地方大学,也是泰国第一所根据地名取名的大学,政府在1941年出台政策准备在地方成立大学,但是发生了第二次世界大战。后来在1958年他侬政府执政时期,推行了在地方发展教育的政策,包括高等教育。1959年召开了8个地区的教育发展会议,由当时的教育部长担任会议主席,在会议 上达成了建立清迈大学的意见。1960年沙立政府批准成立清迈大学。清迈大学在1964年6月18日开始教学。1965年1月24日,九世王亲临主持清迈大学开办典礼。


มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 敬大学




พ.ศ. 2505 ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ขึ้น ที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า "สถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น" และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Khon Kaen Institute of Technology" มีชื่อย่อว่า K.I.T. หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น "มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" มีชื่อย่อว่า "North-East University หรือ N.E.U" เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีหน่วยราชการใด ที่จะรับผิดชอบการดำเนินการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยตรง รัฐบาลจึงได้มีมติให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการหาสถานที่ จัดร่างหลักสูตร ตลอดจนการติดต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ตามชื่อเมืองที่ตั้ง และได้โอนกิจการจากสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติไปเป็นของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1963年,出台了在孔敬府建立一个工程和农业方面高校的议题,名称为“孔敬技术研究所”,英文名为“Khon Kaen Institute of Technology”,缩写为K.I.T.,后来更名为“东北大学”,英文名为“North-East University 或N.E.U”。当时没有任何政府机构直接管理高校,政府任命当时的国家教育委员会负责学校的校区、课程体系和国外援助。1965年,内阁将大学的名称变更为“孔敬大学”,将国家教育委员会的工作转移至孔敬大学。


不看不知道,一看才发现没所大学发展至今都是经历了风风雨雨的呀!你的学校都有什么有趣的历史呢?讲来听听?


声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。