“ทองไม่รู้ร้อน”,金子不懂热?这个词到底是什么意思呢?其实,这个词在汉语里也可以表达为若无其事的意思。为什么可以这样理解,词语的背后有隐藏着什么故事?一起来看看吧!

“แม้สถานการณ์จะน่ากังวลเป็นอย่างมาก แต่เขายังคงทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่เลย”

“尽管现在的形势让人十分担忧,但他还是若无其事的样子。”

สำนวน “ทองไม่รู้ร้อน” เป็นหนึ่งในสำนวนไทยที่มีการใช้กันบ่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งในสมัยโบราณนั้น มีเกณฑ์ในการเรียกทองที่แตกต่างกันไป เช่น ทองชมพูนุช เป็นทองที่มีเนื้อสีเหลืองเข้ม ออกไปทางสีแดงเล็กน้อย ส่วนทองคำบริสุทธิ์ก็จะมีคำเรียกอื่น ๆ เช่น ทองเนื้อแท้ ทองคำเลียง
 “ทองไม่รู้ร้อน”是一个自古以来就经常使用的泰国成语。在古时候,不同的金子会有不同的叫法,例如,粉红金,是一种呈深黄色并微泛红色的金子,而纯金也会有别的叫法,例如,真金、纯金。

ซึ่งทองคำนั้นเป็นโลหะที่อ่อนและเหนียว สามารถตีแผ่ทองคำให้เป็นแผ่นบางมากๆ ได้ รวมถึงลักษณะของเนื้อทองที่จะมีสีเหลืองสว่างสดใส และมีความสุกปลั่ง เป็นประกายมันวาวสะดุดตา ไม่ว่าจะฝังอยู่ในดิน โคลน หรือในน้ำ ก็ไม่เกิดสนิมหรือหมองได้ง่าย
金子是一种软软的金属,可以通过敲打延展将其变得十分轻薄,而且金子本身也是鲜艳的黄色,富有光泽,十分耀眼,无论是埋在泥土地里,还是水中,都不会轻易地生锈。



ในการนำทองมาขึ้นรูปทำเป็นเครื่องประดับจึงจำเป็นต้องมีการผสมโลหะอื่น ๆ ลงไป โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการกำหนดคุณภาพของทองคำ ตามความบริสุทธิ์ของทองที่อาจจะมีส่วนผสมของแร่อื่นอยู่ด้วยตามราคาต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาท
如果用金子来做首饰的话,就必须与其他一些金属物进行融合。在拉玛五世的时候,因为金子中可能会混有其他矿产物,所以需要根据每一铢(此处的“铢”为黄金的重量计量单位)黄金的价格去看黄金纯度,并通过黄金纯度去规定金子的质量。

ทองเนื้อสี่ หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 4 บาท
四金:1铢重的黄金,价格为4铢。
ทองเนื้อห้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 5 บาท
五金:1铢重的黄金,价格为5铢。
ทองเนื้อหก หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 6 บาท
六金:1铢重的黄金,价格为6铢。

ในกระบวนการทำทองจากเม็ดทองคำที่ร่อนได้ สู่ทองคำแท่ง-ทองรูปพรรณที่เราสวมใส่กันนั้น จะมี “การหลอมทอง” โดยการนำทองมาหลอมด้วยความร้อนมากกว่า 1000 องศาฯ เพื่อให้ทองคำละลาย เป็นน้ำทอง ก่อนนำไปเทลงเบ้า เพื่อนำไปทำงานต่าง ๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการตี การชักลวด หรือการรีด ฯลฯ นำไปสู่การทำเป็นเครื่องประดับต่อไป
在将金子淘出来并制作成金条、黄金首饰的过程中,会有“冶金”这一环节。倒入模具之前,要先使用超过1000摄氏度的热度去冶炼金子,让金子溶解,使其变成液态,这样才能更好地进行后续工作,包括打金、拉金丝、轧制黄金......之后再做成首饰。

ซึ่งกระบวนการหลอม หรือการหล่อ หรือแม้แต่การเชื่อมชิ้นงานเข้าด้วยกัน ก็จะมักใช้ความร้อนในการทำให้ทองอ่อนลง ทองที่ผ่านการผสมกับโลหะอื่น ก็จะทำให้การใช้ไฟลนจำเป็นต้องใช้ความร้อนที่สูงมาก หรือหากผสมกับตะกั่ว ก็จะใช้ความร้อนที่ต่ำกว่า ความผันแปรดังกล่าวจึงจะกลายเป็นที่มาของคำว่า “ทองไม่รู้ร้อน”
所以在冶金环节,或者是零件焊接中,都会通过高温让金子变软,而一些与其他金属混合过的金子就必须使用极高的温度,如果是与铅混合过的金子,就要使用比较低的温度。上面提到的加工环节就是“ทองไม่รู้ร้อน”的来源。

เพราะเมื่อโดนไฟลนจำนวนมากแล้ว ทองบางชิ้นยังคงสีสัน คงรูปเหมือนเดิมไม่ยอมอ่อนได้โดยง่าย ซึ่งทองที่มีส่วนผสมของโลหะอื่น ๆ มาก็จะมีความสามารถในการคงรูป หรืออ่อนตัวได้แตกต่างกันไป ตามสัดส่วน และชนิดของโลหะที่ผสมในเนื้อทองนั้น ๆ
当经常用火冶炼后,一些金子还是保留着本来的色泽,形状也没有变化,无法简单地使其变软。一些与其他金属物混合过的金子就经常会保持原形,或者根据金子中所混合的其他金属物的比例以及种类,其变软的程度也有所不同。



ความหมายของคำว่า “ทองไม่รู้ร้อน”
“ทองไม่รู้ร้อน”的含义


จากที่มาดังกล่าว ทำให้สำนวนที่ว่า “ทองไม่รู้ร้อน” จึงมีความหมายในลักษณะเปรียบเทียบเปรียบเปรยถึงการที่ไม่กระตือรือล้น ไม่สะดุ้งสะเทือน เฉยเมย ไม่สนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นอย่างไร หรือจะกระทบต่อใครบ้างนั่นเอง
从上述的内容我们就可以知道,“ทองไม่รู้ร้อน”这个成语可以用来形容不心急、不一惊一乍、淡定的状态,还可以表达某个人对一些发生了的事情漠不关心,也不关心那些事会对谁产生影响。

ตัวอย่างการใช้งาน
例句:


แม้จะมีคนท้องเดินขึ้นมาบนรถเมล์ แต่เขาก็ยังคงนั่งเฉย ทำเป็น “ทองไม่รู้ร้อน” ไม่ยอมลุกให้นั่งเลย
即便有孕妇上了公交车,但他还是定身坐着,装成若无其事的样子,不起来让座。

งานเอกสารจำนวนมาก ต้องเร่งให้เสร็จพรุ่งนี้เช้าแล้ว แต่เลขาฯ คนนั้นยังคงทำเป็น“ทองไม่รู้ร้อน” อยู่เลย ไม่รู้ว่า พรุ่งนี้จะเสร็จหรือเปล่า
文件那么多,必须要在明天早上完成,但那位秘书却摆出事不关己的样子,不清楚这些工作明天能否完成。


大家可以在自己的泰语写作中试着去用这个成语噢!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自mthai,图片来自视觉中国,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。