不知道你在看《天生一对》的时候有没有开过这样的脑洞,如果穿越回阿瑜陀耶的人是你,会发生什么样的故事呢?小编第一个反应就是,我能吃得惯吗?阿瑜陀耶时期的他泰人到底都吃什么呢?和今天美味的泰餐一样吗?今天我们就来为你解答迷惑。




วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 “ศิลปวัฒนธรรม” จัดกิจกรรมสโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนาในหัวข้อ “อาหารไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา” โดยได้เชิญ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา มาเป็นวิทยากร พร้อมกับ คุณดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
2021年5月22日,“文化艺术”俱乐部举办了题目为“阿瑜陀耶时期的食物”的文化艺术座谈会,邀请了Sukanya Sujachaya教授担任座谈会的专家学者,还有Duangrithi Claewplodtook担任 座谈会的主持人。

ในการเสวนาในครั้งนี้ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา กล่าวถึงความสำคัญของอาหารว่า อาหารไม่ใช่สิ่งที่รับประทานเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์เท่านั้น ในเชิงวัฒนธรรมแล้ว อาหารยังเป็นสิ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของชาติ อีกทั้งยังเป็นสิ่งสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี
在这次座谈会上,Sukanya Sujachaya教授讲到了食物的重要性,食物不仅仅是人类为了生存而吃的东西,在文化方面,食物也讲述了关于民族的故事,另外还很好地展 示了当地的物产。

สำหรับในเรื่องของอาหารไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ได้ศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกของชาวไทย บันทึกของชาวต่างประเทศ และหลักฐานจากภาพจิตรกรรมในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งในการค้นคว้าในหัวข้อดังกล่าวนี้ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา พบว่าชาวไทยสมัยอยุธยาบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารน้อยมาก แม้แต่ในวรรณกรรมก็แทบไม่มีพูดถึงอาหาร ดังนั้น หลักฐานที่พึ่งพาได้เป็นส่วนมากคือบันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสยาม ณ เวลานั้น
关于阿瑜陀耶时期的泰餐,Sukanya Sujachaya教授表示,经查阅了很多泰国人和外国人的记载,以及曼谷王朝时期的画作。在研究这个题目的过程中,Sukanya Sujachaya教授发现阿瑜陀耶时期的人们对于食物的记载非常少,就算是在文学作品中提及的也很少。因此,大部分的依据都是当时来到暹罗的外国人所记载的内容。

จากการศึกษาทำให้ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา พบเอกลักษณ์การรับประทานอาหารของคนไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ และมีเหมือนกันในทุกภูมิภาคคือการรับประทานอาหารแบบ “สำรับ” ซึ่งแม้ว่าอาหารที่อยู่ในสำรับอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ แต่โดยหลักแล้วก็มักจะประกอบไปด้วยน้ำพริก ผักพื้นเมือง อาหารแนมจำพวกของปิ้ง ย่าง หรือทอด อาหารพวกแกง ยำ และที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือข้าว
通过研究,让Sukanya Sujachaya教授发现了泰国人自古以来就存在的一种饮食习惯,而且这个习惯在泰国的各个地区都是相同的,那就是习惯吃成套的食物,虽然各个地方会在套餐中搭配不同的食物, 但是总体来说一般都会有辣椒、当地的蔬菜、烧烤类或油炸类的食物、汤、凉拌类的食物,少不了的就是米饭。

อย่างไรก็ตาม พบว่าสำรับที่ทำถวายพระสงฆ์มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากสำรับที่ชาวบ้านจัดรับประทานกันเองอยู่บ้างกล่าวคือ “สำรับพระ” จะประกอบไปด้วยทั้งอาหารคาวและหวาน ต่างจากของชาวบ้านที่มีแต่อาหารคาวเท่านั้น หากจะมีอาหารรสชาติหวานอยู่บ้างก็อาจเป็นเพียงแค่ผลไม้จัดเตรียมไว้
无论如何,发现给僧侣的贡 品和民众日常食用的食物不一样,给僧侣会搭配成套的僧侣餐食,会有荤菜和甜品,和只吃荤菜的民众不同,如果是甜品的话,那也一般只是水果。



นอกจากเรื่องของการกินอาหารแบบสำรับแล้ว ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ยังกล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมอาหารในสมัยอยุธยาซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงเนื่องจากหลักฐานของชาวต่างชาติที่ได้บันทึกไว้ตรงกัน นั่นคือ “ความอุดมสมบูรณ์” ของกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้น ดังเช่นในจดหมายเหตุของฟานฟลีต พ่อค้าชาวเนเธอแลนด์ของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย ได้บันทึกไว้ว่า
除了吃成套的食物之外,Sukanya Sujachaya教授还提到,阿瑜陀耶美食中另一件有趣的事情就是阿瑜陀耶城的富饶,这很可能是真实的,因为出现在了外国人的记载中,比如荷兰东印度公司的商人Van Vliet的书信中记载到:

“นอกจากประเทศสยามจะมีความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารอย่างล้นเหลือ ประชาชนสามารถยังชีพตนเองด้วยสิ่งของและผลไม้ในประเทศของตนเองได้…พวกเขาสามารถอยู่ได้อย่างดียิ่งโดยไม่ต้องอาศัยผลิตผลของประเทศอื่น ๆ…”
“暹罗非常富饶,食物很丰富,人们 可以用自己国家的食物水果养活自己,他们生活很安逸,不需要依靠其他国家的东西…”

หรือแม้แต่ในบันทึกของ ครูแปง ปอล ซาเวียร์ ก็ยังได้กล่าวถึงสาเหตุความขี้เกียจของชาวสยามว่ามาจากความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศ ดังข้อความที่ว่า
Paeng Pon Savier 老师的也记录了 暹罗富饶的地理环境也导致了暹罗人的懒惰:

“ข้าวและปลาเค็มปลาแห้งในกรุงสยามราคาถูกอย่างเหลือหลาย เพราะฉะนั้น ชนชาตินี้ไม่ต้องห่วงถึงช่องทางหากิน ปล่อยตัวเกียจคร้าน ทุกบ้านช่องกึกก้องไปด้วยเสียงร้องเพลงและเสียงชื่นชมโสมนัส ซึ่งเราจะไม่ได้ยินจากชนชาติอื่น”
“暹罗城的米饭和咸鱼干鱼非常 便宜,因此,这个民族不需要担心吃的问题,非常懒惰,每个家里都充满了欢声笑语,我们从别的民族中是听不到的。”

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการตามที่มีบันทึกไว้โดยชาวต่างชาติคือ อาหารที่ราชสำนักนำมาต้อนรับแขกต่างชาตินั้นไม่ใช่อาหารไทยเลย ล้วนแต่เป็นอาหารต่างชาติไม่ว่าจะเป็นจีน ยุโรป แขก ซึ่งจากประเด็นนี้เราอาจคาดเดาได้ว่าในครัวของราชสำนักน่าจะมีพ่อครัวแม่ครัวจากหลายสัญชาติมารวมกันก็เป็นได้
另一个在外国人记载中非常有趣的事情是,暹罗王室用来招待外国宾客的美食根本不是泰餐,而是来自中国、欧洲、印度的美食,因此我们可以判断皇家后厨可能汇聚了很多国家的 厨师。

ในช่วงท้ายของการเสวนาได้มีคำถามจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้ว่า
在座谈会的最后 ,有听众提出了这样的问题:


“ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีร้านขายอาหารจำพวกร้านอาหารตามสั่ง หรือย่านอาหารเหมือนในปัจจุบันหรือไม่?”
“在阿瑜陀耶时期,有像现在一样的点餐餐厅或者美食街之类的东西吗?”


ในการตอบคำถามนี้อาจารย์ได้หยิบยกหลักฐานข้อมูลที่พบจากหนังสือกรุงสถานอยุธยาและหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดซึ่งมีบันทึกไว้ว่าที่เกาะเมืองอยุธยามีย่านร้านขายอาหารหลากหลายรวมกว่า 61 ร้าน มีทั้งร้านที่ขายผลไม้ ร้านที่ขายข้าวราดแกงที่มีข้าราชการเป็นลูกค้าประจำ มีร้านขายขนมต่าง ๆ และร้านขายอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เรื่องของร้านอาหารตามสั่งนี้ดูเหมือนว่าจะยังไม่พบว่ามีบันทึกไว้
在回答这个问题的时候,老师举出了阿瑜陀耶城书籍和贵族的证词中记载到在阿瑜陀耶城中有汇集了61家餐厅的美食区域,有水果店、以公务人员为主要顾客的盖浇饭饭店,还有各种点心店,还有其他很多种类的食品商店,但是像现在这样的点餐餐厅现在还未发现有记载。


有趣,看来以后做白日梦不止“梦回大唐”当大厨了,还能到泰国“开分店”呢!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。