干饭人,干饭魂!大家对“吃饭”都有哪些了解?如果是患有胃病的人,医生会建议“少食多餐”,而对于无法控制饮食的减肥人而言,最简单的方法就是控制碳水化合物的摄入,少吃饭,多吃菜。今天,我们就来看看这“少吃饭、多吃菜”是从何时起的说法吧!

คำสอนในวงข้าวของสังคมเก่าเมื่อ 40-50 ปีก่อน คือ “อย่ากินกับข้าวเยอะ เดี๋ยวเป็นตานขโมย” หากความจริงที่กล่าวเช่นนั้น น่าจะมาจาก อาหารการกินไม่สมบูรณ์ และมีอยู่จำกัด, แต่ละครอบครัวมีลูกมาก, ความคิดเรื่องการประหยัดและไม่ต้องการให้กินทิ้งกินขว้าง ฯลฯ
对于吃饭这件事,四五十年前的旧社会有那么一句话:“少吃点菜,否则会患上佝偻病。”如果真如这样所说,那么患病的缘由可能来自于粮食匮缺、有限,又或者是因为每个家庭都有许多孩子,考虑到节约、减少食物浪费的情况,等等。

แต่วันนี้ใครๆ เวลากินข้าว ใครๆ ก็บอกว่า “ให้กินกับมากๆ”
但如今,每个人在吃饭时都会说,“多吃菜”。

ใคร, อะไร, เมื่อไหร่ ที่เปลี่ยนความคิดเรื่องการกินของเราไปเช่นนี้
何人,何事,何时,让我们的饮食思维发生了这样的转变。

ความรู้เรื่องการกินตามหลักโภชนาการคนไทย เริ่มขึ้นพร้อมกับการรับรูปแบบการแพทย์ตะวันตกเข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่การสร้างโรงพยาบาลศิริราชเมื่อ พ.ศ. 2431
1888年,随着西方医学进入泰国,以及泰国Siriraj医院的建成,泰国人也开始了解营养搭配原则。

ความชัดเจนเรื่องโภชนาการเพิ่มมากขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรมีนโยบายด้านสาธารณสุขอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาสาธารสุขของไทย มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินงานโครงการอาหารของชาติในปี 2477 ต่อมาในปี2482 กรมสาธารณสุขได้จัดตั้ง “กองส่งเสริมอาหาร” มีนายแพทย์ยงค์ ชุติมา เป็นหัวหน้า
准确地来说,泰国人深入了解营养搭配原则是在政变之后。为了解决泰国公共卫生问题,人民党认真地制定了公共卫生政策,并于1934年设立了国家研究与落实饮食计划委员会,之后的1939年,公共卫生厅设立“食品促进处”,Yong Chutima医生时任处长。

กองส่งเสริมอาหาร (กองบริโภคสงเคราะห์)เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ในการบริโภคตามหลักวิทยาศาสตร์แก่สาธารณะ นายแพทย์ยงค์ ชุติมา จึงได้เขียนบทความ, บทบรรยายทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกต้องโภชนาการ และจำนวนมากที่แนะนำให้ กินกับมาก ๆ กินข้าวน้อยๆ เช่น
食品促进处(消费福利部)主要负责向大众推广传播科学消费知识,由Yong Chutima医生撰写泰国国际广播之声文章文稿,内容则是关于正确的营养消费,以及大量的推荐,即多吃菜,少吃饭,例如:

“…ตามหลักอนามัยแผนใหม่ บรรดาผู้อยู่ในวัยกําลังเติบโต และหญิงมีครรภ์ หรือแม่ลูกอ่อน จักต้องกินกับมากๆ กินข้าวมากพอควร…”
“......根据新的卫生准则,所有正处于成长期的人、孕妇、产妇,都必须多吃菜,吃适量的饭。”

“การกินดีคือกินผัก กินไม่เผ็ดจัด กินข้าวแต่พอควรย่อมบำรุงรักษาสุขภาพไว้ได้ดี การกินเลว เช่น การกินข้าวมาก กินกับน้อย และกินเผ็ด ย่อมทำให้ป่วยง่าย และตายเร็ว”
“好的饮食行为是吃蔬菜、不吃辣、吃适量的饭,这样肯定能很好地维持身体健康。而不良的饮食行为,例如,米饭摄入量大、吃少量的菜、吃辣,这种行为会导致人很容易生病,并且死得快。”

“การกินอาหารอย่างที่เราสามัญชนเข้าใจกันแต่ก่อนว่า อยากให้อ้วน อยากให้แข็งแรง ก็กินข้าวมากๆ นั้น นับว่าเป็นเข้าใจที่ผิดมาก เพราะสมัยนี้สมัยที่วิทยาศาสตร์รุ่งโรจน์ เราค้นคว้าได้หลักเกณฑ์แน่นอนแล้วว่า สิ่งที่สร้างสมสุขภาพให้สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนั้น อยู่ที่อาหาร คือต้องกินกับต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่กินข้าวมากๆ แต่อย่างเดียว ดังที่เข้าใจกันมาแต่ก่อนนั้น”
“之前,普通百姓一直理解的饮食理念是如果想要变胖、变壮,就要多吃饭。而这是一种十分错误的理念,因为在这科技进步的时代里,我们已经研究出了明确的准则,那些让我们身体健康、远离病痛的事物,就藏在食物里,必须要多吃各种各样的菜,而不是如之前所理解的那般,只吃很多米饭。”

ฯลฯ
......


แล้วทุกควรจะกินข้าวมากหรือน้อยเท่าใด
那么每个人应该吃多少米饭?

นายแพทย์ยงค์อธิบายว่า “ตามหลักวิทยาศาสตร์ ข้าวก็คือน้ำมันเชื้อเพลิงนั่นเอง คือไม่ได้สร้างกระดูกเนื้อหนังให้แก่ร่างกาย แต่ข้าวมีหน้าที่สําคัญ คือทําให้เกิดกําลังงาน
Yong Chutima医生解释到,“根据科学原则,饭就好比汽油,无法让我们长出皮肉骨骼,但米饭有个重要的责任,就是让我们有力气。

ฉะนั้นสําหรับบุคคลใดๆ ไม่ว่าหนุ่มหรือแก่ หญิง หรือชาย หากว่าต้องทํางานหนักตรากตรํา ออกกําลังกายมาก เช่น กรรมกรขับขี่ จักรยานสามล้อ กรรมกรลากรถ กรรมกรเหมืองแร่ นักกีฬาที่ใช้กําลังกายมาก และนักเดินทางไกล ควรจะกินข้าวมื้อละหลายจาน วันละหลายมื้อ ยิ่งกินข้าวจุได้ยิ่งดี เพราะจะได้เป็นกําลังงานสําหรับงานหนัก และทั้งจะช่วยเนื้อหนังในร่างกายมิให้ถูกเผา เป็นกําลังงาน
所以无论男女老少,如果工作繁重,要干体力活,例如,三轮车驾驶员、拉车夫、矿工、需要花费很多力气的体育运动员以及徒步旅行者,就应该一日多餐,每餐吃很多碗饭,吃得越多越好,这样才有力气工作,还能保持身体肌肉,不会以消耗脂肪来获取力气。

ผู้ที่ต้องทํางานหนักแต่กินข้าวน้อย จะทําให้โปรตีนแห่งร่างกายของตนถูกเผาเป็นกําลังงาน ซึ่งสภาพเช่นนี้เป็นภัยอย่างยิ่งต่อร่างกาย เว้นเสียแต่สําหรับท่านผู้ที่อ้วนท้วม มีมันสํารองไว้ทั่วสรรพางค์กาย ซึ่งท่านเหล่านี้ไม่จําเป็นต้องกินข้าวจุอย่างคนปกติมีรูปร่าง “เพรียวลม” แม้ว่าต้องทํางานหรือออกกําลังกายมากๆ…”
工作繁重又吃得少的人,会导致自己身体的蛋白质消耗成力气,这种情况对身体来说是一种危害,除非是脂肪型的肥胖者,尽管他们需要做力气活,也不必像清瘦的人一样吃大量的饭......”

นายแพทย์ยงค์ยังจำแนกอีกว่า บุคคลในช่วงอายุเท่าใด และมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป ควรกินข้าว กินกับอย่างไรไว้ใน“ข้อแนะนําง่าย ๆ ในเรื่องอาหารการกิน” สรุปได้ดังนี้
Yong Chutima医生还在“饮食方面的简单建议”中,对不同年龄段、不同职业的人的饭菜摄入量进行指示。总结如下:

สําหรับคนหนุ่มสาวทั่วไปซึ่งมีอายุต่ำกว่า 25 ปี  ควรกินกับมากๆ (ไข่ ปลา เนื้อ และเครื่องในสัตว์ต่างๆ และถั่วเหลือง ) เพื่อ บํารุงเนื้อหนังร่างกายให้เติบใหญ่สมส่วน และเพื่อบํารุงปัญญาให้เฉียบแหลม กินข้าวมากพอควรเพื่อเป็นกําลังงาน สำหรับงาน,กิจกรรม หรือการออกกำลังกาย ถ้าต้องทํางานหนักหรือบริหารร่างกายมากๆ ก็ยิ่งต้องเพิ่มปริมาณข้าวให้มากเพื่อเผาเป็นกําลังงาน
25周岁以下的年轻男女:应该多吃菜(蛋、鱼、肉、各种动物内脏、黄豆)以补充营养,长身体、补脑子;同时,应该吃适量的米饭以便有力气工作、进行活动或者运动。如果工作繁重或者大量运动,就需要增加饭量,补足力气。


สําหรับหญิงมีครรภ์และหญิงแม่ลูกอ่อน ให้ปฏิบัติอย่างเดียวกันกับคนหนุ่มสาว เพราะหญิงมีครรภ์หรือแม่ลูกอ่อนเสีย โปรตีนและแร่เกลือต่าง ๆ ออกจากร่างกายของตนมากในการเลี้ยงลูกทั้งในครรภ์ และนอกครรภ์
孕妇、产妇:应采取与年轻男女一样的摄入量,因为孕妇、产妇在怀孕生产的时候,身体会大量流失蛋白质,缺乏矿盐。

สําหรับหญิงชายทั่วไปซึ่งมีอายุเกิน 25 ปีและทํางานหนัก เช่น ผู้ใช้แรงงาน หรือนักกีฬาที่ออกกําลังกายมาก ๆ (นักมวย, นักมวยปล้ำ) ควรกินข้าวมากๆ และบ่อย ๆ วัน 4-5 มื้อๆ ละปริมาณมาก เช่น 2-3 จาน เพื่อเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงใช้เผาเป็นกําลังงาน และเพื่อกันมิให้โปรตีนแห่งร่างกายของตนถูกเผาเป็นกําลังงาน
25岁以上并且工作繁重的男女:例如,工人,运动量大的体育运动员(拳手、摔跤手),应该每天4-5顿饭,每顿饭应该多吃米饭,大概2-3碗,让身体把米饭转化成力气,而不是把自己身体的蛋白质消耗成力气。

สําหรับคนซึ่งมีอายุเกิน 25 ปีแต่ไม่ทํางานหนัก ได้แก่ ผู้ทํางานนั่งโต๊ะไม่ตรากตรําและไม่บริหารร่างกายมาก ควรกินกับพอควร ไม่น้อย แต่ก็ไม่มากเท่าคนหนุ่มสาว ข้าวก็ไม่ควรกินมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเผาให้เป็นกําลังงานได้หมด ถ้าไม่ออกกําลังกายมากแล้ว ขืนกินข้าวมาก็จะอ้วนลงพุง
25岁以上并且工作较为轻松的人:包括,运动量少的办公室上班族,应该吃适量的菜,不少,但也不像年轻男女所吃的一样多。饭也不应该多吃,因为没有机会将米饭完全消耗成身体力气,如果不进行大量运动,肚子就会变胖。

ฯลฯ
......

ไม่แต่เพียงให้กินกับมาก กินข้าวน้อย เท่านั้น ยังเร่งส่งเสริมให้กินอาหารพวก “โปรตีน” เพื่อส่งเสริมอนามัยของชาติไม่ให้ประชาชนเกิดภาวะ “บกพร่องโปรตีน” ซึ่งโปรตีนในเวลานั้นไม่ได้จำกัดเพียงโปรตีนจากเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโปรตีนจากพืชตระกูลถั่วต่างๆ โดยเฉพาะถั่วเหลือง
不仅仅是多吃菜、少吃饭,还要提倡多吃富含蛋白质的食物,以促进国家卫生,不让百姓出现“蛋白质缺乏”的情况。那个时期的蛋白质并不局限于来自动物的肉,还包括这种豆类的蛋白质,特别是黄豆。

其实无论怎么吃,都是要以身体健康作为出发点,我们都要做个健康的干饭人!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。