可爱的喵星人有各种颜色,有肥肥胖胖的橘猫,有非常干净的白毛,还有看起来异常神秘的黑猫。对于一般人来说,猫的毛色只是一种普通的颜色罢了,但是泰国人竟然用这种颜色来解读猫咪是否吉利,到底是怎么回事呢?一起来看看吧!

ผู้เขียนเป็นคนที่ชอบแมวมาก ขอให้เป็นแมวไม่ว่าจะสีอะไรก็ชอบหมด แต่ตอนเด็กๆ ผู้เขียนมักถูกผู้ใหญ่ทักไม่ให้ไปยุ่งกับ “แมวดำ” โดยอ้างว่า แมวดำคือ “แมวผี” ซึ่งมีอำนาจชั่วร้ายที่สามารถทำให้คนตายไปแล้วฟื้นขึ้นมาได้ หากว่ามันได้ไปกระโดดข้ามโลงศพของใครเข้า ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่กลับกัน ซากศพที่ถูกแมวดำกระโดดข้ามจะกลายเป็นผีร้ายที่มาพร้อมความอาฆาตพยาบาท
我本人非常喜欢猫, 不管是什么颜色都很喜欢,但小的时候,经常有大人来说不要去招惹黑猫,因为黑猫是“鬼猫”,它们拥有让人死而复生的魔力,如果它们跳上了谁的棺材,那个人就能复活。这听起来是件好事,但相反,被黑猫跳过的尸体会立马变成充满仇恨的厉鬼。

ถึงตอนนี้เมื่อนึกย้อนกลับไปก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนเฒ่าคนแก่เหล่านั้นเขาเชื่อกันอย่างนั้นจริงๆ หรือแค่ต้องการขู่ไม่ให้เด็กไปยุ่งกับแมวเพราะกลัวว่าจะกลายมาเป็นภาระของตัวเองหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ในหลายวัฒนธรรม แมวดำเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้แมวดำจรจัดเป็นแมวที่หาผู้รับเลี้ยงได้ยาก (บางประเทศไม่ยอมให้สัตว์เลี้ยงออกเพ่นพ่านในที่สาธารณะจึงถูกจับมาขังจนกว่าจะหาผู้รับเลี้ยงได้)
直到现在回想起来还是会忍不值怀疑,那些老人是真的那样认为还是只是吓唬小孩子不要招惹猫,担心小孩招惹猫后变成自己的负担,但可以肯定的是,在很多文化中,黑猫都是不被 喜欢的,使黑色流浪猫很难拥有饲养的主人(有些国家不允许宠物外出到公共范围,它们在找到主人之前只能被关着)。

สำหรับอคติต่อแมวดำในตะวันตกส่วนใหญ่เชื่อกันว่า แมวดำเป็นตัวแทนของความชั่วร้ายมักไปพัวพันกับแม่มดมนต์ดำทำให้ในช่วงยุคกลางแมวดำจึงถูกฆ่าทิ้งเป็นจำนวนมาก ในอินเดียเองก็มีทัศคติในเชิงลบต่อแมวดำเช่นกันว่า หากใครเจอแมวดำเดินตัดหน้าก็จะทำให้คนๆนั้นต้องเจอกับความโชคร้ายเนื่องจากสีดำเป็นสีของ “พระเสาร์” (Shani) ซึ่งมีอำนาจในทางบาปเคราะห์ (13 Superstitions We Indians Follow Blindly. The India Times)
西方人对黑猫的偏见 ,很多人都相信,黑猫代表了邪恶,和邪恶的黑巫婆联系在了一起,在中世纪,黑猫被大量捕杀。在印度也有对黑猫的偏见,如果迎面遇到一只黑猫,这个人就会遇到厄运,因为黑色是Shani神的颜色,他有给人带来厄运的神力。

ส่วนในเมืองไทยมีคนพยายามอธิบายว่า อคติต่อแมวดำของคนอินเดียนั้นน่าจะเกี่ยวโยงกับพระษัษฐีมากกว่า โดยอ้างว่า
在泰国,也有人努力解 释了印度人对黑猫的偏见,认为这和婴儿的死神有关系:

“แมวดำเป็นสัตว์ผี เป็นพาหนะของพระษัษฐี เทวีแห่งความตายของทารก หากใครเห็นแมวดำที่ไหน มักต้องเห็นพระษัษฐีปรากฏกายที่นั่น และจะมีเด็กหรือคนตายที่นั่นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในงานศพจะระมัดระวังไม่ให้แมวมาถูกต้องศพ ด้วยเชื่อว่าจะเกิดมนทินกับศพนั้น ๆ ไปตลอด…ในคติความเชื่อของจีน ก็ถือกันว่าหากแมวข้ามศพผีนั้น จะฟื้นคืนชีพและกลายเป็นผีที่ดุร้ายมากซึ่งก็ไม่ต่างจากไทย”
“黑猫是鬼动物,是婴儿死 神的坐骑,如果谁在哪里见到黑猫,就说明婴儿的死神在哪里降临,那里会有婴儿夭折或大人死亡。尤其是在葬礼的时候,要特别小心不让黑猫碰到尸体,因为大家相信这会让尸体沾染厄运。根据中国人的信仰,如果猫跨过了尸体,尸体就会复活哦,变成厉鬼,这和泰国人的说法一样。”

ข้อความข้างต้นมาจากบทความเรื่อง “ตำนาน ภูติ ผี ปีศาจ และ สิ่งแปลกประหลาด ตอนที่ 110 ความเชื่อ แมวดำ” จากเว็บไซต์ Dek-D และยังมีอีกหลายเว็บไซต์ที่กล่าวคล้ายๆ กัน ซึ่งผู้เขียนบอกตามตรงว่าไม่รู้จักเทพอินเดียองค์นี้ ส่วนความเชื่อของไทยเรื่องแมวดำข้ามศพที่ว่าเหมือนกับจีนนั้น คงเป็นเพราะไทยรับมาจากจีน
上面的内容来自Dek-D网站题为《神鬼传说和奇闻逸事第110集:黑猫传说》,还有很多网站也有类似的说法,我实话实说并不认识这尊印度神,泰国人在黑猫跨过尸 体的信仰上和中国人一样,可能是从中国传过来的。

ที่ผู้เขียนเห็นเช่นนั้นเนื่องจากตามตำราโบราณของไทยว่าด้วยแมวลักษณะต่างๆ ระบุว่า แมว “ดำปลอดตลอดล้ำ” นั้น “เลี้ยงไว้จะดีเป็นเศรษฐีมีทรัพย์หลาย” ขณะที่ “แมวขาวตาแดง” หากใครเลี้ยงไว้ “จักเกิดโกลี มักอัปปรีศรีเสาอยู่โรยรา อย่าเลี้ยงไว้บ่มีดี เอาไปเสียจงไกลตา”
我之所以这么 认为是因为古代泰国有对于各种关于猫的说法,比如纯黑的猫养了会让人发财,而红眼白毛的猫则会让饲养的人得到厄运,还是不要养的好,要远离这样的猫。

ตำราดังกล่าวเป็นตำราซึ่งบันทึกบนสมุดข่อยในยุคศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1801-1900 หรือ พ.ศ. 2344-2443) หรือในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ จึงเป็นไปได้ว่า อคติต่อแมวดำของคนไทยน่าจะพัฒนาขึ้นในยุคหลังที่ไทยเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับนานาชาติมากขึ้นจึงได้อิทธิพลทางความเชื่อในลักษณะนี้มาจากทั้งจีน อินเดียและตะวันตก
曼谷王朝 初期1801-1900年期间的课本上也写到了这样的事,泰国人对于黑猫的偏见可能是在和其他国家联系变多之后出现的,接受了来自从中国、印度和西方这方面的思想。

ความเชื่อเรื่องลางถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่คงจะห้ามกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในต่างประเทศเริ่มมีการรณรงค์ให้คนลดละอคติต่อแมวดำ โดยในอังกฤษกลุ่ม Cat Protection ได้ประกาศให้วันที่ 27 ตุลาคม เป็นวันแมวดำแห่งชาติเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อแมวดำ
信仰问 题是个人的问题,是没办法制止的。无论如何,国外开始出现了为黑猫正名的运动,英国的猫咪保护组织宣布每年的10月27日为国家黑猫日,为了消除大家对黑猫的偏见。

แม้ว่าแต่เดิมมาชาวบริเตนจะเชื่อกันว่าแมวดำถือเป็นแมวนำโชค (เหมือนคนไทยสมัยก่อน) แต่ดูเหมือนปัจจุบันแมวดำในบริเตนจะโชคไม่ดีนัก เห็นได้จากสถิติของราชสมาคมเพื่อการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ (RSPCA) ที่พบว่าแมวไร้บ้านในความดูแลขององค์กรนับพันตัวกว่า 70 เปอร์เซนต์เป็นแมวดำ หรือดำปนขาว
虽然英国人曾经认为黑猫是吉祥的(和以前的泰国人一样),但是现在黑猫在英国也是不幸的象征,可以从英国皇家防止虐待动物协会(RSPCA)的数据中发现,百分之70被弃养的猫是黑猫或黑白猫。

 

大家认同泰国人对黑色喵星人的这种“偏见”吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。