说到印度文化对泰国的影响,那可真的是无处不在,尤其是在宗教方面,简直是随处可见,其实你经常能在泰国看到的一个象头人身的雕像也是印度教中的一个神仙,相信你读完今天的文章就会知道,泰国人为什么会祭拜它了!

文章带读:
(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

พระพิฆเนศ เป็นเทพเจ้าที่หลายคนให้ความเคารพบูชา โดยคนส่วนใหญ่นั้นจะคุ้นเคยในการพบเห็นรูปปั้นของพระพิฆเนศที่มีเศียรเป็นช้างและมีร่างกายเป็นมนุษย์นั่งอยู่บนเฟอร์นิเจอร์ทองคำปูด้วยพรมแดงตามสถานที่ต่าง ๆ และเป็นที่เคารพบูชากราบไหว้ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ศิลปากร เพราะมีความเชื่อว่า พระพิฆเนศนั้นเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ความรู้และความสำเร็จ
象神,是很多人祭拜信奉的神仙,大家熟悉的是一个象头人身的雕像站在铺着红毯的金家具上面,它被很多艺术大学的学生祭拜,因为大家认为象神是艺术、知识和成功 之神。

พระพิฆเนศนั้น เป็นเทพเจ้าของชาวฮินดู เป็นพระโอรสของพระศิวะ และเชื่อว่าพระพิฆเนศนั้นเป็นองค์เทพผู้ขจัดความขัดข้องและเป็นผู้ที่อำนวยความสำเร็จให้กับกิจการทั้งหมดทั้งปวง ชาวอินเดียนั้นเมื่อจะประกอบพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาหรือมีการเล่าเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ ทางด้านศิลปะจะต้องมีการบูชาและทำความเคารพต่อองค์พระพิฆเนศก่อนเพื่อขอความสำเร็จให้กับกิจการและการเรียนนั้น ๆ
象神是印度教中的神仙,是湿婆的儿子,大家相信象神是消除矛盾、为事业带来成功的神仙,印度人不管在举行任何宗教仪式或者是有任何和艺术相关的学术活动,都 会先祭拜象神,来祈祷活动或学习能够顺利进行。

ประวัติของพระพิฆเนศ ตามตำราเล่าว่า พระพิฆเนศนั้นเป็นโอรสที่พระแม่ปารวตีพระมเหสีของพระศิวะได้เสกขึ้นมาเพื่ออยู่คอยรับใช้ครั้งที่พระศิวะเสด็จไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานาน ซึ่งครั้งนั้นพระแม่ปารวตีต้องอยู่เพียงลำพัง จึงเสกโอรสขึ้นมาเพื่อดูแลและปกป้องบุคคลที่จะเข้ามาทำร้ายและก่อความวุ่นวาย
象神的历史,据说 是湿婆的妻子帕尔瓦蒂在湿婆去长时间修行的期间生出的孩子,帕尔瓦蒂孤身一人,所以生出了象神为了陪同自己,并且保护自己不被其他的坏人伤害。

มีอยู่คราวหนึ่งที่พระแม่ปารวตีต้องการสรงน้ำในพระตำหนักด้านใน จึงได้สั่งให้พระโอรสคอยนั่งเฝ้าหน้าประตูไว้ และรับสั่งว่า ห้ามให้ใครก็ตามเข้ามาในพระตำหนักของพระองค์ทั้งสิ้น แต่ครั้งนั้นเป็นคราวเดียวกันกับที่พระศิวะเสด็จกลับมายังพระตำหนักและเมื่อต้องการเข้าไปข้างในกับพบเด็กหนุ่มนั่งขวางไว้ไม่ให้เข้าตามคำรับสั่งของพระมารดา
有一次帕尔瓦蒂准备在行宫内沐浴,就让象神看守大门,命令他不得让任何人进入到行宫内,但那次刚好湿婆回到行宫,正好看到了受母亲命令看守大门不让他 进去的象神。

พระศิวะจึงโกรธมากและทั้งสองจึงได้ทะเลาะกันใหญ่โตจนเทพทั่วทั้งสวรรค์ต่างเกิดความวิตกเกรงกลัวต่อหายนะที่จะเกิดขึ้น แต่ในที่สุดพระโอรสนั้นก็ถูกตรีศูลของพระศิวะตัดศีรษะขาดจนสิ้นใจ โดยที่พระศิวะไม่ได้ทราบเลยว่าเด็กหนุ่มผู้นั้นทรงเป็นพระโอรสของพระมเหสีของตนที่ถูกเสกขึ้นมา
湿婆非常生气,于是二人大吵一架,惊动了上天,都非常担心可能会招致更大的灾难,但是最后象神的头还是被湿婆的三叉戟砍下死掉了,而且湿婆完全不知道他杀死 的正是自己妻子生下的儿子。

เมื่อพระแม่ปารวตีได้ยินเสียงดังครึกโครมก็ได้เดินออกมาดูและเมื่อเห็นว่าพระโอรสของนางได้ถูกปลิดชีพโดยพระสวามีพระนางจึงได้ตัดพ้อต่อว่าพระศิวะและโศกเศร้าโศกาเป็นอย่างมาก พระศิวะเมื่อทราบความจริงดังนั้นจึงรับปากว่าจะฟื้นคืนชีพพระโอรสให้ แต่หาศีรษะของพระโอรสไม่พบ จนเกือบจะเลยเวลาที่จะสามารถฟื้นคืนชีพได้ จึงได้รับสั่งเทพยดาที่คอยรับใช้พระองค์ว่าให้ออกตามหาศีรษะของสัตว์มาโดยให้นำศีรษะของสัตว์ตัวแรกที่พบมาให้พระองค์
当帕尔 瓦蒂听到外面吵闹的声音之后就走出来看,当看到自己的儿子被丈夫杀死了,她就非常责怪湿婆,而且极为伤心,当湿婆知道真相后就答应说要让儿子复活,但是找不到他被砍掉的头颅了,马上就要错过复活的时间,所以就命令手下的人去找一个动物的头来代替自己儿子的头。

เทพยดาเหล่านั้นจึงออกตามหาและได้พบกับช้าง จึงได้ตัดเอาศีรษะของช้างมาให้กับพระศิวะ พระศิวะจึงได้ทำการต่อเศียรคืนให้กับพระโอรสเพื่อคืนชีพ พร้อมกับยกย่องและตั้งพระนามให้ว่า พระพิฆเนศ ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและความทุกข์ยาก โดยได้อวยพรเอาไว้ว่า ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดจะต้องมีการทำพิธีบูชาองค์พระพิฆเนศก่อน เพื่อความสำเร็จของพิธีเหล่านั้น
湿婆手 下的人于是就出门寻找,然后碰到了大象,所以就把大象的头割下来给了湿婆,湿婆就把大象的头接在了儿子的身上,然后给他取了名字为Phra Phikhanet,意思为克服困难和障碍的神,为他祝福到,在任何仪式前都要先祭拜象神,为了祈祷活动能够取得成功。

จากนั้นมา พระพิฆเนศนั้นจึงได้เป็นเทพที่เป็นตัวแทนแห่งความสำเร็จทั้งปวง โดยได้รับความเคารพจากชาวฮินดูอย่างมาก เพราะเดิมทีนั้นชาวฮินดูจะนับถือเทพทุกชนิดที่เป็นสัตว์ และเชื่อว่าช้างนั้นเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด จึงยกให้พระพิฆเนศนั้นเป็นหัวหน้าของเหล่าเทพทั้งหลายนั่นเอง
后来,象神就成了胜利之神,非常受印度教教徒的追捧,以前印度教教徒信奉一切化身为动物的神仙,他们相信大象是最大的动物,随意象神就成了所有神仙 的首领。

ในการกราบไหว้บูชาพระพิฆเนศนั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าองค์รูปปั้นของพระพิฆเนศเองนั้นมีหลายปาง ซึ่งแต่ละปางนั้นก็จะใช้ในการกราบไหว้บูชาของแต่ละสายอาชีพที่แตกต่างกัน
在祭拜 象神的时候,还有不同姿势的雕像,每种姿势的雕像都是给不同行业的人来祭拜的。

ดังนั้นหากใครที่ต้องการกราบไหว้องค์พระพิฆเนศให้ได้รับความสำเร็จอย่างแท้จริงควรทำการศึกษาข้อมูลของพระพิฆเนศแต่ละปางให้ละเอียดว่าตรงกับสายงานที่เราจะทำหรือไม่ และควรเคารพบูชาด้วยความเชื่อและหัวใจอย่างแท้จริง ไม่ควรกราบไหว้เพียงเพราะกระแสนิยมหรือความต้องการบางประการ
因此,要想让象神保佑我们获得真正的成功,就必须研究学习各种象神和我们要祈祷的符不符合,用自己的诚心去祭拜,不是为了随大流或者其他目的去跪拜。

 

下次见到象神各位小伙伴也可以拜一下哦!祈祷自己学业顺利吧!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。