今天我们来了解了解泰国的糖类产业,虽说泰国甜品享誉世界,很多甜品比如冰淇淋的出口量也在世界上处于上游位置,但这些甜品的重要原料之一——糖的价格在泰国却迟迟打不上去,甚至一直低于世界市场标准,这到底是怎么回事?

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกาศออกมาว่า จะขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน จากกิโลกรัมละ 19 บาท เป็น 24 บาท หลังจากนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ออกมากำหนดให้ราคาขายน้ำตาลหน้าโรงงานยังคงเป็นกิโลกรัมละ 19 บาทเหมือนเดิม แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำตาลในตลาดโลกแพงสุดในรอบ 11 ปี แต่ราคาน้ำตาลในไทยก็ยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาตามตลาดโลก เกิดอะไรขึ้นกับตลาดน้ำตาลทั่วโลก แล้วทำไมไทยถึงขึ้นราคาน้ำตาลได้ยาก ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
不久前,泰国甘蔗及砂糖委员会公布糖价将从每公斤19铢提高到24铢。在那之后,泰国商务部则出面规定糖价将仍然维持在19铢/公斤,但目前世界糖价已经创了11年来新高,泰国的糖价却仍然没有跟着上调,全国的糖类市场到底发生了什么?泰国上调糖价为什么这么难?我们会说给大家听。

น้ำตาล นับเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ชา กาแฟ ขนมปัง นม ไปจนถึงอาหารต่าง ๆ
ที่ต้องใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบ โดยมีผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกได้แก่
糖是与我们日常生活息息相关的商品,不论是茶、咖啡、面包、牛奶还是各种食物都需要用到糖这一配料,全球糖类生产大户分别为:
- บราซิล ครองส่วนแบ่งตลาด 23%
- อินเดีย ครองส่วนแบ่งตลาด 19%
- 巴西,占据23%市场
- 印度,占据19%市场

จะเห็นได้ว่า บราซิลและอินเดียครองส่วนแบ่งมากถึง 42% ของตลาดส่งออกน้ำตาลจากอ้อยทั่วโลก จึงมีอำนาจควบคุมราคาน้ำตาลโลกสูงมาก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา 2 ประเทศนี้เผชิญปัญหาภัยแล้งและฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลกระทบต่อการผลิตอ้อยโดยตรง เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำค่อนข้างมาก พอเป็นแบบนี้ ผลผลิตน้ำตาลสู่ตลาดโลกจึงน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้น อินเดียยังจำกัดการส่งออกน้ำตาลเพื่อควบคุมราคาน้ำตาลในประเทศอีกด้วย
可以看到,巴西和印度已经占据了42%的全球蔗糖出口市场,所以在控制全球糖类价格上有很大发言权。在过去的一段时间里,这两个国家遭遇了旱灾,降水异常,这直接影响到了甘蔗的生产,因为这是一种对水需求量很大的作物。在此情况下,流入世界市场的糖类产品便减少了,更甚之,为了控制国内糖类价格,印度还对糖类出口进行了限制。

นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น จึงทำให้ “เอทานอล” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ผสมในน้ำมันได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเอทานอลผลิตมาจากอ้อยได้เช่นกัน ผู้ผลิตน้ำตาลบางส่วนจึงหันไปผลิตเอทานอลแทน ทำให้น้ำตาลถูกส่งออกสู่ตลาดโลกน้อยลงนั่นเอง
此外,俄乌冲突让油价大涨,使得油中的其中一项原料“乙醇”也受到了影响,因为乙醇同样也产自甘蔗,一部分糖类生产者转而去生产起了乙醇,使得流入世界市场的糖类产品减少。

ในขณะเดียวกัน การที่จีนเปิดประเทศทำให้ความต้องการน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะจีนเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าน้ำตาลเป็นหลัก เมื่อความต้องการบริโภคน้ำตาลสูงขึ้นทั่วโลกในขณะที่ผลผลิตน้ำตาลออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาน้ำตาลทั่วโลกก็ปรับตัวสูงขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาด จนกระทั่งสูงสุดในรอบ 11 ปีเลยทีเดียว..
同时,中国打开国门后糖类需求得到大量提升,因为中国是糖类进口的主要大头,当全球的糖类消费需求在上涨的时候,流入市场的糖类产品却减少了,于是全球糖类价格便根据市场机制上调,直到超过了11年来的价格峰值。

กลับมาที่ประเทศไทย เราเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 5 ของโลก โดยในปีที่ผ่านมา มีการส่งออกน้ำตาลมากถึง 108,081 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลผลิตน้ำตาลของไทยส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 61% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด โดยที่เหลืออีก 39% ถูกใช้ภายในประเทศ หากไปดูสถิติการส่งออกน้ำตาลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า
回到泰国本身,泰国是世界第五大糖类出口国,去年糖类出口额高达1080.81亿铢。然而,泰国全部的糖类产品有超过61%都销往了国外,仅剩39%用于国内,如果我们观察过去三年糖类出口的数据会发现:
- ปี 2563 มูลค่าการส่งออก 55,879 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 5.5 ล้านตัน
- ปี 2564 มูลค่าการส่งออก 49,720 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 3.7 ล้านตัน
- ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 108,081 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 6.6 ล้านตัน
- 9 เดือนแรกของปี 2566 มูลค่าการส่งออก 102,912 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 5.8 ล้านตัน
- 2020年出口额558.79亿铢,出口量550万吨
- 2021年出口额497.2亿铢,出口量370万吨
- 2022年出口额1080.81亿铢,出口量660万吨
- 2023年的前九个月出口额1029.12亿铢,出口量580万吨

จะเห็นได้ว่า ไทยมีการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลหลักมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น แต่หากราคาน้ำตาลในตลาดโลกแพงขึ้นในขณะที่ราคาน้ำตาลในประเทศไทยยังเท่าเดิม ก็อาจทำให้น้ำตาลในไทยถูกส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายปรับขึ้นราคาน้ำตาลในประเทศ เพื่อไม่ให้แตกต่างจากราคาส่งออกมากเกินไป และปัญหาก็อยู่ตรงนี้ เพราะน้ำตาลกว่า 39% ของน้ำตาลที่ผลิตได้ทั้งหมดถูกใช้ไปกับ
可以看到,泰国的糖类出口量在持续增长,其中的主要原因就是世界糖类市场价格上涨,但如果此时泰国糖价还维持现状,就会使得泰国糖类的出口量更加增多,这便是泰国甘蔗及砂糖委员会提高国内糖类价格的原因,因为他们不想让国内价和出口价差太多。但问题就在这里,因为超过39%被生产出来的糖都被用于:
- ภาคครัวเรือน 58%
- ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 42%
- 餐饮行业 58%
- 周边产业 42%

อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ว่านี้ ก็เช่น น้ำอัดลม นม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ อาหารและเครื่องดื่มในไทยที่ใช้น้ำตาลนั่นเอง พอเป็นแบบนี้ การขึ้นราคาน้ำตาลจึงอาจส่งผลกระทบกับหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และท้ายที่สุดแล้ว ก็เป็นผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ที่ต้องจ่ายแพงขึ้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หากราคาสินค้าภายในประเทศแพงขึ้น ก็อาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอีกทอดหนึ่งแทน
上面所说到的周边产业就比如:汽水、牛奶、茶、咖啡、果汁、能量饮料,简单来说就是泰国的食品和饮料使用糖。在这种情况下,糖的价格上涨可能会影响到许多相关行业。最后,像我们这样的消费者必须付出更高的价格,而且,如果国内价格上涨,这可能导致通货膨胀加剧,并成为影响泰国经济的新问题。

สรุปแล้ว ปัญหาราคาน้ำตาลในตลาดโลกแพง เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นกับผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างอินเดียและบราซิล และกลายเป็นกระทรวงพาณิชย์ที่เข้ามาควบคุมราคา รวมไปถึงการส่งออกน้ำตาล เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับราคาน้ำตาลในประเทศมากนัก เรื่องนี้ต้องติดตามต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยอาจเสียประโยชน์จากราคาน้ำตาลที่แพงขึ้นในรอบ 11 ปีแทน แต่กลับขายได้ในราคาเท่าเดิม..
总之,世界糖价上涨的问题我们无法控制,因为这个问题出在像印度和巴西这样的糖类出口大户的身上,而现在泰国商务部为了不让这件事对国内糖价产生太大影响,便出手控制了糖类的价格和出口。这件事需要关注后续进展,但其实因为现在世界糖价达到了11年来的峰值,但泰国的制糖工厂和甘蔗种植户却只能以原价来售卖,这让他们承受了一笔不小的损失。

对于这个问题大家有何想法?欢迎在评论区讨论。

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自longtunman,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。