ป้ายรณรงค์ต่อต้านการล่าสิงโตพบได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นในห้องผู้โดยสารขาเข้าต่างประเทศที่สนามบินโจฮันเนสเบิร์ก ในวารสารของสายการบิน South African Airways ที่แจกให้ลูกค้าอ่านบนเครื่องและบนหน้าเว็ปไซด์ Google การรณรงค์จัดทำโดยกลุ่มเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ชื่อ กลุ่มอาวาซ (Avaaz)แปลว่า เสียงหรือ วอยซ ในหลากหลายภาษา

การรณรงค์นี้มุ่งยุติการผสมพันธุ์และเลี้ยงสิงโตในสวนเลี้ยงเพื่อธุรกิจล่าสิงโต รายงานข่าวบางชิ้นชี้ว่าคนยอมจ่ายเงินถึง 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐเพื่อเข้าไปสิงโตในฟาร์มเลี้ยง

เจมมี่ ชัว ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ของกลุ่มอาวาซกล่าวว่าสิงโตแห่งประเทศอาฟริกาใต้กำลังถูกคุกคาม ธุรกิจล่าสิงโตเลี้ยงกำลังขยายตัว บรรดาผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าสิงโตป่าที่เหลืออยู่ราวสองหมื่นตัวก็กำลังถูกล่าเช่นกัน คุณชัวบอกว่าการล่าสิงโตเลี้ยงจะกระทบต่อการท่องเที่ยวและชื่อเสียงของประเทศในฐานะแหล่งชมสัตว์ป่าธรรมชาติ นอกเสียจากประธานาธิบดีของประเทศออกมาสั่งห้ามธุรกิจล่าสิงโตเลี้ยง

จำนวนประชากรเสือ แรด ลดลงอย่างมากเนื่องจากถูกล่าเพื่อนำกระดูก หนัง และนอไปขายในประเทศเอเชีย คุณเจมมี่ ชัว กล่าวว่าสิงโตกำลังเป็นตกเหยื่อรายต่อไป

นักรณรงค์กล่าวว่า ปัจจุบันกระดูกสิงโตถูกนำไปใช้แทนกระดูเสือที่หายากมากขึ้นนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ไวน์กระดูกเสือที่คนมีฐานะในเวียดนามและจีนนิยมดื่มเพราะเชื่อกันผิดๆว่าช่วยแก้โรคปวดตามข้อกระดูกและโรคเก้าท์ บางคนเชื่อว่าช่วยเสริมสมรรถนะทางเพศ

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายเอ็ดน่า โมลีวา รัฐมนตรีสิ่งเเวดล้อมอาฟริกาใต้ปฏิเสธไม่ยอมสั่งห้ามการค้ากระดูกสิงโตเพราะเธอเชื่อว่าไม่มีผลคุกคามต่อสิงโตในป่าธรรมชาตินี่ทำให้กลุ่มรณรงค์เริ่มต้นการทำงานเฟสที่สองของการรณรงค์ระดับโลกคุณชัว นักรณรงค์บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทางการประเทศอาฟริกาใต้ไม่ตอบสนองใดๆต่อการรณรงค์รอบแรกแม้จะมีคนทั่วโลกเพื่อให้คน 700,000 คนทั่วโลกร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้องก็ตาม

อย่างไรก็ดี ทีมนักวิจัยอเมริกันที่มหาวิทยาลัย University of Pretoria และ Sweet Briar College ในรัฐเวอร์จีเนียได้ศึกษาประเด็นการล่าสิงโตในสวนเลี้ยงที่อาฟริกาใต้ ทีมวิจัยพบว่าการล่าสิงโตเลี้ยงในประเทศอาฟริกาใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การล่าสิงโตในป่าทวีปอาฟริกากลับลดลง

ทีมวิจัยอเมริกันชี้ว่าการมีการสั่งห้ามการล่าสิงโตเลี้ยง คนจะหันไปล่าสิงโตในป่าธรรมชาติทดแทน หากจะมีการสั่งห้ามจริงๆ ทางการอาฟริกาใต้ต้องกำหนดมาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการลักลอบล่าสิงโตในป่าไม่ให้มากเกินไปจนคุกคามต่อจำนวนประชากรสิงโตในป่าธรรมชาติ ตลอดจนควรกำหนดอายุของสิงโตในป่าธรรมชาติที่อนุญาติให้ล่าได้ นอกจากนี้อาฟริกาใต้ควรจัดทำเขตกันชนรอบๆเขตอุทยานต่างๆที่ห้ามล่าสิงโตเป็นอันขาด

ทีมนักวิจัยอเมริกันในรัฐเวอร์จีเนียยังแนะนำด้วยว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างเร่งด่วนถึงปัญหาคุกคามต่ออนุรักษ์สิงโตในอาฟริกาใต้