เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของสากลก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ไม่ได้รวมถึงวันขึ้นปีใหม่ของทุกชนชาติอื่น ๆ นะคะ อย่างของไทยเราก็จะเป็นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี และส่วนของจีนก็จะเป็นวันตรุษจีน ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 31 มกราคม 2557 นี้
通用的新年(1月1日)已经过去了,但不是意味着是每个人过新年的时间都一样,对于泰国人而言,他们的新年是每年的4月(宋干节),对于中国人而言2014年的新年则是1月31日

และพอพูดถึงวันตรุษจีน สิ่งที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ ก็คงจะเป็นขนมเข่ง และขนมเทียน ที่จะมีขายตามท้องตลาดมากมายในช่วงเทศกาลนี้เท่านั้น และเนื่องในโอกาสที่ใกล้จะถึงวันตรุษจีนนี้ กระปุกดอทคอมก็เลยอยากจะนำเสนอประวัติความเป็นมาของขนมเข่ง และขนมเทียนกันสักหน่อย ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในวันตรุษจีนให้ทุกคนได้เก็บไว้เป็นความรู้รอบตัวกันค่ะ
要是说到泰国华侨的中国春节,许多人首先都会想到的便是泰式年糕和泰式糍粑(直译:蜡烛糍粑)。泰式年糕和泰式糍粑(直译:蜡烛糍粑)已经成为泰国华侨中国春节的一种节日食品代表,并且在中国春节期间,市场上便有许多卖泰式年糕和泰式糍粑(直译:蜡烛糍粑)的摊贩,接下来让小编跟大家讲讲它们的来源吧!

ความเป็นมาของขนมเข่งที่เป็นที่ร่ำลือก็คือ ในยุคประวัติศาสตร์ของชาวจีนมีความเชื่อว่า บรรดาเทพเจ้าจีนที่คอยปกปักรักษามนุษย์ในโลก จะต้องขึ้นไปถวายรายงานความดีความชอบ และความชั่วที่มนุษย์ทุกคนได้กระทำกับองค์เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์ ก่อนที่จะถึงวันตรุษจีนประมาณ 4 วัน เหล่าบรรดาคนที่รู้ว่าตนเองไม่ได้ทำความดีกับเขาสักเท่าไร จึงคิดทำขนมเข่ง หรือที่ชาวจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ขนมเหนียนเกา (แปลว่าขนมที่ทำมาจากแป้ง) โดยใช้แป้งข้าวเหนียวมากวนกับน้ำตาลทราย และนำไปนึ่งจนมีลักษณะเป็นก้อนแป้งแข็ง ๆ และเหนียวหนืด จากนั้นก็นำขนมเข่งเหล่านี้ไปถวายให้บรรดาเทพเจ้าจีน เพื่อหวังให้ขนมแป้งเหนียว ๆ ช่วยปิดปากเทพเจ้าทั้งหลาย จนกล่าวรายงานความชั่วของตัวเองให้องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ฟังไม่ได้และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าขนมเข่งก็กลายเป็นขนมไหว้เจ้าของชาวจีนไปโดยปริยาย
有关于泰式年糕的传闻是这样的,在中国历史上有这样的说法,说是有一位神仙专门管理着人间,所以他在春节的前四天要向玉皇大帝报告这一年人间的善恶,一些知道自己没少做好事的凡人就想出了年糕或者是潮汕人口中说的“ขนมเหนียนเกา ”(有点类似于“年” “糕”谐音,直译是,用面粉做的糕点),那时候的年糕也是拿糯米粉和砂糖一起做,然后拿去蒸,变成一块硬硬的、有粘性的糕点。然后这些人就拿做好的年糕去祭拜那位管理人间的大神,希望年糕被大神吃掉之后可以黏住他的嘴巴,不能向玉皇大帝回报自己的罪恶,然后年糕就这样诞生了,并且演变成中国人去拜祭神明必须的食物之一。

แต่อีกประวัติศาสตร์หนึ่งกลับแย้งขึ้นมาว่า ขนมเข่งมีความสำคัญในพิธีตรุษจีนก็เพราะสืบเนื่องมาจากในยุคประวัติศาสตร์ที่ชาวจีนหมดหนทางทำมาหากินในประเทศของตัวเอง จนต้องอพยพหนีความยากลำบาก มาทำมาหากินในประเทศไทย ชาวจีนเหล่านี้ต้องการเสบียงที่มีอายุเก็บรักษาได้นาน เอาไว้ประทังชีวิตระหว่างเดินทางโดยเรือสำเภา และขนมเข่งที่เป็นแป้งกวนกับน้ำตาล ก็ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างพอดิบพอดี เลยได้กลายมาเป็นอาหารสำคัญสำหรับชาวจีนในยุคแร้นแค้น ต้องอพยพหนีความยากลำบากนั่นเอง
还有一种争议比较大说法是,在泰国“中国春节”年糕之所以这么重要是为了怀念自己的祖父们。据说泰国华侨的祖父们为了逃避灾难,不惜艰苦的从中国大陆迁徙来到泰国,那时候为了能让食物在迁徙途中保存的久些,祖父们便用面粉和砂糖做成了年糕,此外,制作年糕的方法和所需要的材料也很简单,方便祖父们迁徙。慢慢的年糕就演变成迁徙时期艰苦生活的代表食物,泰国华侨后辈们通过用年糕祭拜祖父是为了告诉后辈们不能忘记先人们的艰苦,以及表示对先人们的怀念和感谢。

ดังนั้นในช่วงต่อมาที่ชาวจีนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และถึงวันไหว้เจ้า คนจีนเลยถือเอาขนมเข่งที่เคยเป็นเสบียงสำคัญในช่วงยากลำบาก มาเซ่นไหว้เทพเจ้า เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวันที่ต้องปากกัดตีนถีบนั่นเอง อีกทั้งขนมเข่งยังมีความหมายสื่อถึงความหวานชื่น ราบรื่น และความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
随着泰国华侨在泰的生活越来越好,当他们去祭拜的时候,都会拿上年糕,为了纪念先人的奋进。还有一样就是年糕还寓意着生活年年高升、生活甜蜜等

ส่วนขนมเทียนนั้น ก็ถือเป็นเป็นขนมไหว้เจ้าอีกชนิดหนึ่ง ก็มีต้นกำเนิดมาจากการดัดแปลงขนมเข่งเช่นกัน โดยใช้แป้งข้าวเหนียวมากวน และใส่ไส้ถั่วบด ผสมกับเครื่องปรุง กลายเป็นไส้เค็ม จากนั้นห่อด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ คล้ายทรงเจดีย์ แล้วนำไปนึ่งจนสุก
至于泰式糍粑(直译为:蜡烛糍粑),也是中国春节期间,泰国华侨喜欢拿去祭拜的食物之一,它的历史来源和年糕差不多,泰式糍粑是那糯米粉和绿豆馅一起做成的,再混合些调料(食盐等等),做成咸馅,然后拿荷叶包成三角型状有点像塔,然后拿去蒸直到它熟了为止。

นอกจากชื่อขนมเทียนแล้ว บางคนก็นิยมเรียกว่า ขนมนมสาว และชาวภาคเหนือก็นิยมเรียกว่า ขนมจ็อกอีกด้วย ซึ่งโดยส่วนมากแล้วขนมเทียนจะนิยมใช้เป็นขนมในงานบุญวันสงกรานต์ และชาวจีนก็นำไปใช้ในงานวันตรุษจีนด้วยเช่นกัน
它除了叫“ขนมเทียน ”之外,还有一些人叫它“ขนมนมสาว”,泰国北部的人更喜欢叫它“ขนมจ็อก”,泰式糍粑不仅可以用于宋干节的祭拜,还可以用于中国春节。

จะเห็นได้ว่า ขนมไหว้เจ้าในวันตรุษจีนจะเป็นขนมที่ทำจากแป้งกวนกับน้ำตาล แล้วนำไปนึ่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่ต้องเป็นขนมแป้งนึ่งก็เนื่องจากว่า ทั้งขนมเทียนและขนมเข่ง ต่างก็มีความหมายเป็นมงคล สื่อถึงความหวานชื่น ความราบรื่น และความอุดมสมบูรณ์นั่นเองค่ะ
看见了吗?!大部分在中国春节拿去祭拜神明、先人的,通常是是用面粉和砂糖做的糕点,虽然泰式年糕和泰式糍粑有些不同,但是它们都有着生活甜蜜、顺利、丰收之意。

相关阅读:泰国春节不可缺少的甜品