我们在生病时,很多人怕打针,因为怕疼,但是也有很多人热衷于打针,因为打针效力强、见效快。那到底打针到底好不好呢?我们来看看这篇科普文吧!

หลายคนที่ไม่สบาย แล้วอยากให้ไข้ลดลงเร็วๆ อาจมีการกราบกรานอ้อนวอน ขอให้หมอช่วยฉีดยาให้ ด้วยคิดว่ายาฉีดออกฤทธิ์แรงกว่า เร็วกว่า แล้วหลังจากนั้นก็จะขอยาฉีดอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าราคาจะสูงกว่ายากินก็ตาม แต่ยาฉีดกับยากินต่างกันอย่างไร ออกฤทธิ์ไม่เท่ากันจริงหรือไม่ และหากใช้ยยาฉีดบ่อยๆ จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ
很多朋友感觉身体不舒服,想要尽快摆脱病痛,就会恳求医生给自己来一针,因为他们都认为打针比吃药效力强、见效快。自此之后每次一有什么头疼发热就要求医生给自己打针,也不管打针的收费不菲。但是打针和吃药到底有何区别?两者的区别是否真的有天渊之别?如果经常打针,是否会对我们的身体产生副作用呢?我们一起来寻找一下答案吧!

ยาฉีด VS ยากิน
打针VS吃药

จริงๆ แล้ว ยาฉีด กับยากิน หากมีระดับยาที่เท่ากัน จะออกฤทธิ์ได้เท่ากัน ต่างกันเพียงระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ซึ่งโดยหลักการใช้ยาแล้ว แพทย์จะคำนึงถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในการเลือกชนิดยาให้กับผู้ป่วย มากกว่ามุ่งเป้าไปที่การออกฤทธิ์เร็วแต่เพียงอย่างเดียว การใช้ยากิน จึงค่อนข้างปลอดภัยกว่า
其实,如果针筒里的药量和内服药的剂量一样,两者在见效的时间长短方面是会不一样的。因此在用药时,医生首要考虑的是两种方式的效果性和安全性,而不是一味地追求见效快。因此,内服药相对来说会比较安全。

อันตรายจากยาฉีด
打针的危险性

แม้ยาฉีดจะออกฤทธิ์เร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะเมื่อฉีดยาเข้าเส้นเลือด ยาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที หากพบว่าผู้ป่วยแพ้ยา หรือได้รับยาผิด ก็จะมีอาการผิดปกติอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่ายากินมากเช่นกัน
尽管打针见效快,但是其风险也不小。因为当针筒里的药物被打进血管之后,药性就会马上随着血液的流动发生效用,万一病人对药物过敏或者打错药了,病人的症状就会更快产生异常,症状也比口服药更严重。

นอกจากนี้ ยาฉีดยังมีราคาสูงกว่ายากิน นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องของยาโดยใช่เหตุแล้ว เราควรเตือนตัวเองว่า ยาฉีดอันตรายมากกว่ายากิน
除此之外,打针比吃药费用更高。除了会耗费不必要的医疗费用,我们还应提醒自己打针还会比口服药更加危险。

ผู้ป่วยขอยาฉีดกับหมอเองได้หรือไม่?
病人可以自己要求医生给自己打针吗?

การขอยาฉีดนั้น ควรพิจารณาโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย และคุ้มค่า ดังนั้นครั้งหน้า อย่าคิดไปเองว่าต้องเป็นยาฉีดเท่านั้นถึงจะรักษาหาย ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณายาที่เหมาะสมในการรักษาให้เราเองจะดีกว่าค่ะ
是否需要打针,只能由专业医生来决定。这样才能确保用药的安全性,也能避免不必要的医疗花销。因此,下次看病时可不要自以为是地觉得只有打针能治好自己的病,最好还是让医生给予我们更专业的意见吧!

词汇学习:
กราบกราน俯伏、跪拜อ้อนวอน央求、恳求
คำนึง考虑 พิจารณา检查、审查、研究
ฤทธิ์效果、效力

本双语文章的中文翻译系沪江泰语原创内容,转载请注明出处。中文翻译仅代表译者个人观点,仅供参考。如有不妥之处,欢迎指正。