不知道大家在微信、QQ上聊天有没有碰见过老是发“微笑表情”的人呢?或者你自己也是?那就得小心了,发给同事或者客户可能会弄巧成拙,别人可能反而对我们产生坏印象!

ผลวิจัยเผยว่า “ยิ่งเรายิ้ม คนอื่นยิ่งชอบเรา” แต่ ผลลัพธ์นี้อาจไม่เป็นจริงเสมอไปในโลกของอีโมจิ! นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Amsterdam, Haifa และ Ben-Gurion ได้ค้นพบว่า ในการใช้อีโมจิรูป ‘หน้ายิ้ม’ ในสังคมการทำงานอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เราถูกเพื่อนร่วมงานมองในแง่ลบ รวมทั้งอาจถูกลูกค้ามองว่าเราเป็นคนโง่อีกด้วย
研究表明“微笑使我们更受欢迎”,但是这一说法也许在表情包世界里不一定适用!来自阿姆斯特丹大学、以色列海法大学和本.古里安大学的研究发现,在职场使用“微笑表情”可能会使我们在同事中的评价下降,而且有被客户认为我们是笨蛋的风险。
ดอกเตอร์ Ella Glikson ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “การค้นพบของเราเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า ตรงกันข้ามกับการยิ้มในชีวิตจริง อีโมจิหน้ายิ้มไม่ช่วยทำให้ผู้เห็นรู้สึกดีกับเรา แต่กลับทำให้เขาสงสัยในความสามารถของเรา”
Ella Glikson博士接受采访时表示,“我们的发现表明,和现实生活中的微笑相反,‘微笑表情’在网络世界并不会帮助别人对我们产生好印象,反而会使别人怀疑我们的能力。”
ผลสำรวจนี้ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Social Psychological and Personality Science ภายใต้ชื่อ “The Dark Side of a Smiley” หรือที่แปลเป็นไทยแบบตรงตัวว่า “ด้านมืดของเจ้าหน้ายิ้ม” โดยทำการสำรวจจากผู้เข้าร่วมถึง 549 คน จาก 29 ประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องมีการอ่านอีเมลแบบเป็นทางการจากผู้ส่ง ที่เป็นคนที่ไม่รู้จัก และต้องทำการประเมินศักยภาพของผู้ส่ง
这项研究结果发表于《社会心理学与人格学》杂志,题目名为《微笑的阴暗面》。这项研究总共有来自29个国家的549名样本人员,这些人都需要通过阅读陌生人发送的电子邮件,并通过电子邮件对发件人作出一定程度的评价。
ความน่าสนใจของผลสำรวจนี้คือ การส่งอีโมจิรูปหน้ายิ้มในสังคมออนไลน์นั้น ไม่ได้ช่วยให้ผู้รับรู้สึกดีเลยแม้แต่น้อย หนำซ้ำยังส่งผลทางลบกับมุมมองของผู้อ่านข้อความต่อผู้ส่งข้อความอีกด้วย
这项研究值得关注的重点在于,在网络社会使用“微笑表情”并不会使接收者对发送人产生丝毫好感,反而会使接收者对发送者的评价有所下降。
“การสำรวจนี้ยังพบอีกว่า เมื่อให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบอีเมลทางการแบบไม่มีการส่งอีโมจิหน้ายิ้ม เนื้อหาภายในจะมีรายละเอียดมากกว่า และเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ของการส่งมากกว่าอีเมลที่มีการใช้หน้ายิ้ม” Glikson ให้สัมภาษณ์
“这项研究还发现,让研究参与者发送电子邮件时不使用‘微笑表情’时,邮件的内容反而会更详尽。而且比起使用了‘微笑表情’的邮件而言,没有使用的电子邮件,其内容更吻合主题。”Glikson博士说。
การทดลองนี้ยังเผยอีกว่า หากมีอีเมลหน้ายิ้มส่งมาโดยไม่ระบุว่าใครเป็นผู้ส่ง คนอ่านมักจะจินตนาการว่าคนที่ส่งมาเป็นผู้หญิง (ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประเมินความสามารถของผู้ที่ส่งอีเมลมาสักเท่าไหร่)
这项实验还表明,如果“微笑表情”出现在匿名电子邮件中,阅读电子邮件的人会产生“这是女性发来的邮件”的印象。(其实这也跟能力评价没多大关系啦。)
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ หากใครต้องส่งอีเมลแบบเป็นทางการให้เพื่อนร่วมงาน ผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า ลูกค้า หรือบริษัทอื่นๆ ก็อย่าลืมนะครับ “อย่าส่งอีโมจิหน้ายิ้ม! ”
无论如何,读了这篇文章之后如果大家需要发送跟工作有关的电子邮件,特别是上级、客户或者别的公司,别忘了哦,“不要发‘微笑表情’!”
 
 
 
其实,“微笑表情”在中国已经被加入了好多超越了微笑的“深层”含义,例如“呵呵”、“笑而不语”、“神秘莫测”等等。不过如果是在职场上的工作交流,特别是对客户的交流,一定要注意这些细节,不然引起客户的误会就得不偿失啦。

本双语文章的中文翻译系沪江泰语原创内容,转载请注明出处。中文翻译仅代表译者个人观点,仅供参考。如有不妥之处,欢迎指正。