无论在哪个国家,流浪动物问题一直都是备受人们关注的话题。虽然很多部门,很多地方都设置了救助机构和收容所,但对于大量的流浪动物而言,也只是杯水车薪,更重要的是增强对动物的爱护和关注意识,今天,来看看这几个国家是怎么解决这一棘手问题的呢...

 

 

กลายเป็นประเด็นมาให้ถกเถียง กันจนบางทีแทบจะมองหน้ากันไม่ติด กับปัญหาเรื่องสุนัข และแมวจรจัดทั้งหลาย ที่ไม่ว่าใครๆ จะเดินไปไหนในกรุงเทพ ก็มักจะเห็นได้เกือบทุกที่ แม้ว่าหลายๆคนจะหวังดีที่จะพยายามหาทางแก้ปัญหา และนำเสนอความคิดต่างๆ ที่ทั้งดู “โอเค” และดู “ไร้สาระ” เช่นการ Set Zero หรือการฉีดยาฆ่าสัตว์จรจัดเหล่านี้หากไม่สามารถหาผู้เลี้ยงได้ (ฟังดูโหดร้ายจริงๆ) หรือการเรียกเก็บภาษีผู้เลี้ยงสัตว์ (อันนี้ก็แปลกๆ นะ)
不论走到曼谷的什么地方,几乎在每个角落都会看到很多流浪狗流浪猫,这一直以来都备受争议,以至于有时候产生的分歧都会让人与人之间产生隔阂。尽管很多人都希望努力找到解决办法,也提出了各种看似“还行”甚至“没有意义”的想法建议,比如:集中设点,或者如果找不到领养的人,就给这些流浪动物们注射药物(听起来好恶毒的咩...!)或者向流浪动物领养者们征税。(这一条听起来好奇怪哦!)

 

แต่ปัญหาที่หลายๆ ฝ่ายกำลังกังวลอยู่อีก คือเรื่องที่ “พิษสุนัขบ้า” กำลังระบาดในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเริ่มพยายามหาทางแก้ และพยายามเสนอทางแก้ต่างๆ ทีนี้ Tonkit360 จะลองพาไปดูสถานการณ์ของ “สัตว์จรจัด” ในต่างประเทศและวิธีการแก้ปัญหาของพวกเขา ว่าเขาจะแก้ปัญหาเรื่องนี้กันอย่างไรบ้าง ทั้งในระยะสั้นและยาว เผื่อว่าจะเป็นแนวทางนำมาใช้กันได้
但是大家都在担心的问题就是:狂犬病正在暖武里府散播,这也让各方开始尽力地寻求解决办法以及努力提出各种意见。 今天,我们就带大家去看看国外“流浪动物”的情况,以及他们在这方面的解决方法,看看他们是怎么解决这个问题的,都有长期的和暂时的解决方法,可以借鉴一下哦。

 

เนเธอร์แลนด์
荷兰

 

อ้างอิงข้อมูลจาก ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นประกาศว่าพวกเขาไม่มีสุนัข หรือแมวจรจัดอยู่เลย (ใช่ อ่านไม่ผิดหรอก คือไม่มีเลย) เพราะว่าในประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น มีการตั้งกฎที่เรียกว่า “Adopt, Don’t Shop” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “รับเลี้ยง แทนที่จะซื้อ” นั่นเอง ซึ่งกฎนี้มีจุดสำคัญ คือการตั้งภาษีที่สูงมากในการซื้อสัตว์เลี้ยง ตรงกันข้าม หากเราเลือกจะ “รับเลี้ยง” สัตว์แทนนั้น ค่าใช้จ่ายที่ผู้เลี้ยงจะต้องจ่าย หากต้องการจะรับเลี้ยงสัตว์จากสถานสงเคราะห์นั้นจะถูกกว่ามาก
信息来自,荷兰声称他们国家没有流浪狗流浪猫(是的,你没有看错,就是没有),因为在荷兰,他们制定了叫做“Adopt, Don’t Shop”的法规,翻译过来就是“收养,代替购买”,该法规关键之处就在于:对购买宠物的行为设定了高额税收,反之,如果我们选择收养动物,领养人需要支付的费用,如果是从动物求助机构收养动物的话,这笔费用会变便宜很多呢。

 

นอกจากเรื่องนี้ ประเทศเนเธอร์แลนด์เองยังมีกฎทำหมันฟรีของสัตว์ด้วย เพราะฉะนั้นในแง่ของการออกลูกนั้น ก็สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้ เรื่องกฎหมายของการทารุณสัตว์เองก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้เนเธอร์แลนด์นั้นไม่ค่อยมีสัตว์จรจัดเยอะ เพราะพวกเขามีกฎหมายลงโทษอย่างรุนแรงหากพบเจอการทารุณสัตว์ ซึ่งการทำแบบนี้ ทำให้คนรู้จักที่จะรักสัตว์มากขึ้น และการลงทุนเรื่องการปลูกฝังการรักสัตว์ในประเทศเองก็ถือว่าทำกันอย่างเอาจริงเอาจัง และหลายๆ ฝ่ายก็มองว่า การปลูกฝังเรื่องการรักสัตว์นั้น จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการทอดทิ้งสัตว์ได้ในระยะยาว
除此之外,荷兰还有免费为动物避孕这条法律,由此一来,也解决了动物产子这一方面的问题。关于虐待动物方面的法律也是让荷兰少有流浪动物的又一个关键之处。因为如果发现虐待动物,他们就有强有力的法律措施,这样一来,也会让人们地更加爱护动物,国家这样加大力度地教大家爱护动物,也被认为是非常重视这一问题的了。很多人认为:像这样树立人们爱护动物的意识,能够长久地解决抛弃动物的问题。

 

อังกฤษ
英国

 

องค์กรพิทักษ์สัตว์พีต้า (PETA) เคยเขียนรณรงค์ในเว็บของพวกเขา ว่าในอังกฤษนั้น ปัญหาเรื่องสัตว์ไร้ที่อยู่นั้นถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่ซับซ้อน แต่ก็มีทางออกง่ายในเบื้องต้น คือการ “รับเลี้ยง” แทนการ “ซื้อ” โดยทาง PETA นั้นมุ่งเป้าไปว่าสาเหตุที่เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นนั้น มาจากผู้ประกอบการในตลาดซื้อขายสัตว์เลี้ยง ถือว่าผิดมาก เพราะพวกเขาปล่อยให้มีสัตว์เกิดขึ้นมาบนโลก เกินกว่าจำนวนที่ควรจะเป็น โดยไม่ยอม “ทำหมัน” ให้กับสัตว์เหล่านี้ การไม่ทำหมันนั้น สุนัขและแมว(เป็นต้น) จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆแบบควบคุมกันไม่อยู่
国际“善待动物组织”(简称PETA)曾经在他们网站上写道:在英国,流浪动物的问题是一个复杂的大问题,但最初也有很容易的解决办法,就是“收养,代替购买,”国际“善待动物组织”方面发现导致这一问题的原因来自肇事者在市场上买卖动物,这是大错特错的,因为他们让大量的动物来到这个世界上,数量已经超限了,又不愿意给这些动物做避孕措施,不避孕,狗狗和猫(等其他动物)的数量就越来越多,不受控制了。

 

อีกเรื่องที่รัฐบาลอังกฤษพยายามจัดการ คือการบังคับให้ฝังชิป หรือไมโครชิปลงไปในตัวสุนัขแบบฟรีๆ ซึ่งการแก้ปัญหาตรงนี้ นอกจากจะแก้เรื่องการ “ทอดทิ้ง” สัตว์แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องสุนัขหาย หรือถูกขโมยด้วย ซึ่งระบบนี้ จะทำงานด้วยการจัดรหัส 15 หลักให้กับสุนัข และฝังรหัสนี้ไว้ในตัวชิปที่ว่า ซึ่งหากมีคนพบเจอสุนัขและแจ้งไปที่เขต ทางเขตก็จะสามารถสแกนหาเจ้าของได้
英国政府也在努力解决的另一问题是:强制在动物体内免费安装微晶片,这样的方式除了解决“遗弃动物”的问题外,还能一并解决狗狗走丢或者被盗的问题,这个制度会给流浪狗设定15位数的编码,把这个编码置入微晶片中,如果谁看见这只狗狗,就上报到该地区,该地区的工作人员扫一下晶片就能找到到其主人。

 

ญี่ปุ่น
日本

 

มาดูประเทศตัวอย่าง อย่างญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อถึงเรื่องความมีระเบียบกันบ้าง แต่ปัญหาเรื่องสัตว์จรจัด หรือไม่มีที่อยู่เองก็ถือว่าเป็นปัญหาอยู่พอสมควร เพราะในปี 2012 นั้นมีการรายงานจากรัฐบาลญี่ปุ่นว่าในประเทศนั้นมีการจับสุนัขจรจัดไปถึง 210000 ตัว และต้องฆ่าสัตว์เหล่านี้ไปถึง 160000 ตัวซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก อย่างไรก็ตาม ในปี 2014 ทางรัฐบาลของญี่ปุ่นก็พยายามจะแก้ปัญหา ด้วยการฝังชิปลงไปในสุนัข และต้องมีการติดที่อยู่ รวมถึงชื่อของผู้เลี้ยงไว้ที่สัตว์เลี้ยงทุกชนิด เพื่อระงับการปล่อยทิ้ง (เพราะถ้าปล่อย คนที่พบก็สามารถส่งคืนได้)
来看下一个示范国家——日本,因它的体制而得名,但是流浪动物的问题被认为是一般的问题,因为早在2012年,日本政府就报道称:他们国家抓住了210,000只流浪狗,必须杀掉160,000只,这个数字太惊人了!无论怎样,2014年,日本政府通过在狗狗体内植入微晶片,关注它的去向,甚至还附上了每种动物领养人的姓名这样的方式尽量解决这个问题,为了杜绝遗弃动物。(因为遗弃之后,发现这些动物的人还是可以送还回去的)

 

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ผู้ขายสัตว์เลี้ยงเองก็ต้องรับหน้าที่สอนการเลี้ยงดูให้กับผู้ซื้อ และดูให้ออกว่า คนที่มาซื้อสัตว์เลี้ยงนั้น อยากจะเลี้ยงจริงๆ หรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันคนที่อาจจะไม่ได้มีความตั้งใจจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในระยะยาว และป้องกันการทิ้งสัตว์ด้วย รวมถึงเตรียมความพร้อมให้กับผู้เลี้ยง ให้ดูแลสัตว์ได้ตามความจำเป็นของสัตว์ โดยรวมแล้วนอกจากญี่ปุ่นจะพยายามป้องกันการทิ้งสัตว์เลี้ยงแล้ว พวกเขายังพยายาม “สกรีน” ผู้ที่ต้องการจะซื้อสัตว์เลี้ยง และให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงดูอีก นับว่าเป็นการปลูกฝังที่ดี และสร้างความเข้าใจถึงความยากลำบากในการเลี้ยงดูสัตว์ด้วย
另一件有趣的事情是:卖掉动物的人有责任教买主怎么照顾动物,懂得看买主是否真的想领养动物,以防备那些可能并不想长期领养动物的人们,防止遗弃动物再被遗弃,以及让领养者准备好根据动物的需求来照顾动物。总而言之,日本除了在尽量防止遗弃动物这一问题之外,还在努力教会领养人照顾动物的必备知识,这也被认为是很好的一种培养方式,也让他们明白养动物的不易。

 

สิงคโปร์์
新加坡

 

สำหรับประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์์เองก็มีปัญหาเรื่อง “สัตว์ไร้ที่อยู่” เหมือนกัน แต่พวกเขาก็พยายามจะจัดการปัญหาเรื่องนี้
像新加坡这样的小国家也同样存在流浪动物的问题,但是他们也同样在努力解决这一问题。

 

โดยเป้าหมายของหน่วยงานงานอย่าง Agri-Food and Veterinary Authority หรือ AVA ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ไปจนถึงเรื่องความเป็นอยู่ของสัตว์ และพืชต่างๆ และขึ้นกับรัฐบาลสิงคโปร์์ มีแพลนจะทำหมันให้กับสุนัขจรจัด 70% ภายใน 5 ปีต่อจากนี้ และจะพยายามหาคนรับเลี้ยงสัตว์ไป ส่วนสัตว์ที่ไม่เหมาะกับการรับเลี้ยง หรือหาคนเลี้ยงไม่ได้ ทางการก็จะจัดหาที่ให้สัตว์ที่ว่าได้อาศัยจนกว่าจะตายจากไป ซึ่งขั้นตอนในส่วนนี้ ทางรัฐบาลของสิงคโปร์์ก็จะกำชับกับหน่วยงานต่างๆที่จะมารับหน้าที่ ว่าจะต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง และจะต้องตรวจเช็กสุขภาพอย่างไร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์เหล่านี้
新加坡农业食品和兽医局(简称AVA)这个部门的目标就是负责检测食品安全和各种动物,植物的生存问题,这个部门隶属于新加坡政府。计划在今后5年内,会对70%的流浪狗进行避孕,也将尽力寻求动物领养者。至于那些不适合人们领养或者找不到领养人的动物,政府会为它们提供适合生存的地方,直至它们最后离开这个世界,在这一方面,新加坡政府嘱咐各部门担当起职责,看看哪些动物需要注射疫苗,怎么给动物做体检,以让这些动物更好地生存。

 

โดยตัวเลข 70% ที่ทางการสิงคโปร์์เลือกนั้น มีหลักการจากงานค้นคว้า คิดคำนวณต่างๆแล้ว ว่าการทำหมันสุนัขจรจัดถึง 70% นั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อการควบคุมการเกิดของสุนัขในประเทศ และจะสามารถลดจำนวนสุนัขจรจัดในระยะยาวได้
新加坡选择的70%这个数字,是来自具体的研究,各种数据的计算,对70%的流浪狗进行避孕,以控制国家狗狗的出生,是极其必要的,能够在长时间内减少流浪狗的数量。

 

 

本双语文章的中文翻译系沪江泰语原创内容,转载请注明出处。中文翻译仅代表译者个人观点,仅供参考。如有不妥之处,欢迎指正。