每所大学都有自己的传统,每种传统都清楚地表明了大学的个性。当谈到清迈大学时那一定会想到他们依山傍水,环境好得不得了。于是也诞生了“登山节”, 这个传统是如何产生的?为什么要登山呢? 让我们一起去寻找答案。(文末附视频)

ความเป็นมาของ ประเพณีรับน้องขึ้นดอย
迎新登山的由来

รับน้องขึ้นดอย เป็นประเพณีที่นักศึกษาน้องใหม่ นักศึกษาปัจจุบัน รุ่นพี่ รวมถึงผู้เข้าร่วมงานประเพณี จะร่วมกันเดินเท้าขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทั้งยังเป็นการแสดงถึงความสามัคคี และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับหมู่นักศึกษา จัดขึ้นเพื่อให้รุ่นพี่และรุ่นน้องในมหาวิทยาลัยเดินทางร่วมกัน จากศาลาธรรมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นไปถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 14 กม. และที่ขาดไปไม่ได้ในทุกๆปี นักศึกษาน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 ของแต่ละคณะ จะต้องแสดงความพร้อมเพรียง ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือที่นักศึกษา มช. เรียกกันว่า “การโชว์สปิริต” ที่โค้งขุนกัณฑ์แห่งนี้
迎新登山节是新生、在读学生、往届学生及其他一同参加活动的人的风俗传统。他们将一同步行登上清迈素贴山祭拜素贴寺无价的圣物佛陀骨灰,为了吉祥,也象征着团结,为了建立在清迈大学良好的前后辈关系,他们将从清迈大学前的活动亭一起登山至素贴寺,全程14公里。这是每个院系每位大一新生必不可少的活动,需要展示出团结一致,清迈大学称之为“精神展现”。

ทำไมถึงต้องแบกช้างแก้ว? ทำไมถึงต้องเป็นคณะวิศวะฯ?
为什么必须携带象杯? 为什么必须是工程学院?

เดิมทีการเดินขึ้นดอยในสมัยก่อน แต่ละคณะได้ทำเป็นการแสดงตรงตีนดอยก่อนที่จะเดินขึ้น แต่คณะวิจิตรศิลป์ได้คิดขึ้นว่าเราควรขึ้นพระธาตุเพื่อไปสักการะจริงๆ ซึ่งเครื่องสักการะชุดแรก อยู่ที่ส่วนหัวขบวน ซึ่งคณะวิจิตรศิลป์อาสาทำให้เป็นปราสาทสูงใหญ่ ซึ่งมีช้างอยู่ในนั้น คือเสลี่ยงของคณะวิศวะฯ ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนมี12คณะ
原本每个学院在登山前都要在山脚下表演,美术学院认为应该自接登山到素贴寺中祭拜才可以。而第一份祭拜的物件会放在登山队伍的前方作为领头——即美术学院自愿建造的高耸壮丽的佛塔,内置一头大象,也就是现在工程学院抬着的轿塔了,而其实在之前,抬轿的任务由12个学院一起完成。

คณะวิจิตรศิลป์จะเป็นคณะแรกที่เริ่มแบกเสลี่ยงก่อนจนถึงครูบา แล้ววนให้คณะอื่นแบกต่อ คณะละประมาณ 1 กิโลเมตรกว่าๆ จนถึงยอดดอย เมื่อเวลาผ่านไปคณะวิศวะฯได้เข้ามาขอแบกเสลี่ยงขึ้นดอยก่อนเป็นคณะแรก เนื่องด้วยคณะวิศวะฯ ย้ายมาเป็นหัวขบวนคณะแรกสุดคณะวิจิตรศิลป์จึงไม่ต้องแบกเสลี่ยงและเดินขึ้นตามปกติแทน แล้วพอคณะวิศวะฯจะวิ่งขึ้นดอย จึงรวบปราสาทของทุกคณะแล้ววิ่งขึ้นทีเดียวเลย จึงเป็นที่มาของ“การแบกเสลี่ยงวิศวะฯ”
美术学院是第一个抬轿子的学院直至到希维猜高僧纪念像(希维猜高僧是当年组织修建上山道路的高僧,纪念像位于山脚下),之后由下一个学院继续完成,每个学院大约(负责)一公里多直至到达山顶。随着时间的推移,工程学院申请先抬轿塔,而由于工程学院变成了队伍领头羊,美术学院也就不用抬轿塔,跟着走上山就行。而当工程学院用跑步山上后,就带着各学院的轿子一同直接冲向了终点,这就是“工程进击轿塔”的由来。

ระยะทางจากหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่ยอดดอยสุเทพ
从清迈大学门口到素贴山顶的距离

ทำไมต้องใช้คนแบกเยอะมาก?
为什么要那么多人抬塔?

เสลี่ยงมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากทำให้ต้องใช้จำนวนคนยกที่เยอะขึ้น เช่นตอนปี 60 ใช้คนต่อชุด 21-24 คน ชุดหนึ่งก็สลับวิ่งเดิน ได้ราวๆ 200-300 เมตร เนื่องจากทางขึ้นเขานั้น ชันมากและตัวเสลี่ยงที่มีน้ำหนักมากจึงต้องใช้จำนวนคนเยอะเพื่อที่จะสลับกันแบก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้องวางแผนการจัดการให้ดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนคนที่ผลัดเปลี่ยน การเคลียร์เส้นทาง การจดตำแหน่งสูงต่ำ และปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการวิ่ง เนื่องจากคณะวิศวะต้องไปถึงโค้งขุนกัน ให้เร็วกว่าขบวนหลัก 30 นาทีซึ่งเป็นงานที่ท้าทายและต้องใช้ความสามัคคีเป็นอย่างมาก
因为轿塔的重量很重必须很多人一起抬,例如,在2017年由21-24人为一组,这只队伍需要轮流交替跑步和行走大约200-300米,由于上山的路非常陡峭以及轿塔自身很重,需要很多人轮流搬运。因此,需要制定良好的计划,考虑好交替的人数、清理路障、记录好高低平衡等各种影响跑步的因素。而由于工程学院必须比大部队提早30分钟到达素贴寺前的弯道处,因此,这将是一项极具挑战、需要大团结的任务。

点我>>一起来感受一下2019年登山活动的震撼和感动

在这样浓郁的文化氛围之下,即使艰苦,蹒跚最后终于到达了山顶,这份喜悦和师生之间、前辈晚辈之间的大团结一定此生难忘。

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,转载请注明出处。如有不妥,敬请指正。