国旗对于一个国家的重要意义无需多言,在任何时候国旗都象征着国家,都值得被任何一个人尊重。最近泰国国旗的出镜率又非常高,不知道小伙伴们对现在使用的这个红、蓝、白三色旗了解多少呢?这三种颜色分别代表什么?泰国又是什么时候开始使用三色旗的呢?今天我们就带大家一探究竟!




ธงในอารยธรรมโบราณ
古代文 明使用的旗帜



(中国古代的三辰旗)

ธงเป็นสิ่งที่มีมาแต่อารยธรรมโบราณ ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานว่าดินแดนใดกันแน่ที่เป็นผู้เริ่มต้นใช้ธง จากการศึกษาทั้งจากอียิปต์ โรมัน อินเดีย จีน เมื่อพันปีก่อน พบว่าเคยมีการตั้งเสาสูงประดับเครื่องหมายต่างๆ แทนเทพเจ้าไว้ด้านบน เป็นทั้งสัญลักษณ์ของอำนาจและตัวแทนของราชา ต่อมาเริ่มมีการนำผ้ามาผูกติดไว้กับเสาสูงจนทำให้เกิด ธง ซึ่งสันนิษฐานว่า จีนเป็นชาติแรกๆในโลกที่ประดิษฐ์ธงเพราะมีเทคโนโลยีด้านการทอผ้ามาแต่โบราณ และการประดับธงในสถานที่และโอกาสต่างๆ ของจีนน่าจะกลายเป็นต้นแบบให้แก่วัฒนธรรมการใช้ธงในวัฒนธรรมอื่นๆ
旗帜在古代文明已有,但是仍然不确定旗帜的起源是哪片土地,在研究埃及、罗马、印度和中国等数千年前的文明时,发现了有装饰着各种东西的长杆,代表了天 神,有代表了权力和君王的符号。后来,在旗杆上捆绑直到产生了旗帜。根据证据表明,中国可能是世界上第一个使用旗帜的国家,因为中国古代的织布技术非常发达,中国在各个地方各种场合使用的旗帜,就成了其他文明使用旗帜的起源。

สำหรับในไทยนั้น ธง เคยปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย แต่เป็นธงที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ถัดมาในสมัยอยุธยาปรากฏ “ธงแดง” เป็นธงเรือสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขาย ก่อนจะถูกนำมาพัฒนาการสู่ธงแดงรูปจักร ธงช้างเผือก จนถึงธงไตรรงค์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
在泰国,旗帜曾经出现 在素可泰的石碑当中,但是是宗教方面的旗帜,后来在阿瑜陀耶时期出现了红色旗帜,是中国商船前来进行贸易的标志,后来发展成了法轮旗、白象 旗,最后演变成了今天使用的三色旗。


เริ่มต้นการใช้ ธงแดง ในสยาม
开始在暹 罗使用红色旗帜




ตั้งแต่สมัยอยุธยาเริ่มมีการใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายจากกรุงสยาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 เริ่มมีการใช้สัญลักษณ์ช้างเผือกบนธงเพื่อแสดงว่านี่คือเรือสินค้าของรัฐบาลสยาม โดยต้นเรื่องเกิดมาจากการที่สยามส่งเรือสำเภาของหลวงไปซื้อสินค้าที่เกาะสิงคโปร์ โดยชักธงแดงขึ้นตามประเพณีที่เคยมีมา ปรากฏว่าเจ้าเมืองสิงคโปร์แจ้งว่า เรือสินค้าของชวาก็ชักธงแดงเหมือนกัน จึงอยากขอให้มี “สัญลักษณ์” พิเศษบางอย่างเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเรือของรัฐบาลสยาม
从阿瑜陀耶王朝开始,就使用了红色的旗帜来象征暹罗的商队,后来在曼谷王朝二世王时期,开始使用白象旗来代表暹罗政府的商船。开始是暹罗的皇家商队前往新加坡进行贸易,按照习俗在船上升起了红色的旗帜,但是新加坡的城主说来自爪哇的商船使用的也是红旗,所以希望能有代表暹罗政府商船独特的标记出现在 其之上。

บังเอิญว่าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารหลายเชือก ถือเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่สำคัญ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเผือกอยู่กลางวงจักรสีขาว ลงไปบนธงพื้นแดง เพื่อประกาศว่าเรือลำนี้เป็นของ “พระเจ้าช้างเผือก” แห่งกรุงสยาม แต่ธงแบบนี้ก็ใช้ชักขึ้นเสาเรือสินค้าของหลวงที่ไปค้าขายยังต่างประเทศเท่านั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงเรือค้าขายได้เปลี่ยนรูปแบบ ถอดรูปวงจักรซึ่งถือเป็นของสูงในฐานะเครื่องราชูปโภคออกจากธง เหลือเพียงพื้นสีแดงและรูปช้างเผือกอยู่กลางผืนธง และเรียกว่า ธงช้างเผือก
碰巧拉玛二世得到了很多头白象,作为至高无上的荣誉,于是就下御诏在旗子上的法轮内画上白象的图案,显示了这是暹罗“白象之王”的船队。但是这种旗帜只在暹罗国王去往国外的贸易船队上使用。后来,拉玛四世时期,商船上的旗帜发生了变化,旗帜去掉了皇家器具法轮的形状,只在中间保留了白象的图案和红的底色,成为“白象旗”。




ธงชาติผืนแรก ของ สยามประเทศ
暹罗的第 一面国旗




ประเทศไทยเริ่มมี “ธงประจำชาติ” ในสมัยรัชกาล 4 ซึ่งตรงกับยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก และประเทศต่างๆ ในเอเชียก็เริ่มมีการใช้ “ธงประจำชาติ” เป็นสัญลักษณ์เหมือนประเทศในแถบตะวันตก และ “ธงช้างเผือก” ก็ได้กลายเป็น “ธงชาติสยาม” และได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกครั้งแรกใน พ.ศ.2400 พร้อมการปรากฏตัวของคณะราชทูตสยามชุดที่มีหม่อมราโชทัยเป็นล่าม เดินทางไปเฝ้าควีนวิคตอเรีย ที่อังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2410 ธงช้างเผือก ได้ถูกนำไปประดับในโรงนิทรรศการของสยาม ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนานาชาติ ที่ประเทศฝรั่งเศส
泰国在拉玛四世时期开始拥有国旗,时间大致是西方帝国主义时期,亚洲的各个国家也纷纷开始使用“国旗”,就像西方国家那样。“白象旗”于是变成了暹罗的国 旗,在1857年第一次进入外国人的视野,还出现在了暹罗官员觐见英国维多利亚女王的使团当中。后来在1867年,白象旗被悬挂在法国国际手工艺展览的暹罗展馆当中。

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการเมืองระหว่างประเทศจนในที่สุดฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราดคืนให้แก่สยามประเทศ เป็นที่มาของ “วันตราดรำลึก” ซึ่งตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี โดยชาวตราดจะปัก “ธงช้างเผือก” เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นด้วย
在拉玛五世时期,经过了多番外交斡旋,暹罗和法国签署协议同意将达叻城归还给暹罗,每年的1月23日是“达叻城纪念日”,当地的民众还会插上白象旗表达纪念。


ทำไมต้องใช้ ธงไตรรงค์
为什么选择了 “三色旗”?




วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ประเทศไทยออกประกาศพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2460 แก้ไขลักษณะธงชาติจาก “ธงช้างเผือก” เป็น “ธงไตรรงค์” และกำหนดให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ ครั้งนั้นรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบธงชาติจากธงที่มีรูปช้างเผือกอยู่บนผืนธง มาเป็นรูปแบบธงสีแดง ขาว และน้ำเงิน ซึ่งเหตุผลหนึ่งคืออิงต้นแบบมาจากตะวันตก อาทิ ธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ และธงดาวและริ้วขาวน้ำเงินแดงของสหรัฐอเมริกา อีกเหตุผลเพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎรที่ต้องสั่งซื้อผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศ ตอนเย็บบางครั้งก็ติดธงผิดเอาขาช้างชี้ขึ้น
在1971年9月28日 ,泰国颁布皇家条例,将国家的象征由白象旗更改为三色旗,并正式确立三色旗为国旗。当时,拉玛六世下令将有白象标记的旗帜改成红、白、蓝三色旗帜,原因是模仿西方国家,比如法国三色旗、英国联合杰克旗和美国星条旗;另一个原因是认为民众制作国旗还需要进口布来制作白象,有时候还会不小心错误地将象腿指向上方。

ในสมัย รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบธงชาติ จาก “ธงไตรรงค์” กลับมาเป็น “ธงช้าง” เพราะธงไตรรงค์ยังไม่เป็นที่รู้จักของต่างประเทศและสียังคล้ายคลึงกับธงชาติบางประเทศ ขณะที่ธงช้าง ไม่ซ้ำกับธงชาติใดเลย พระองค์ได้ขอความคิดเห็นจากองคมนตรี แต่คณะองคมนตรีมีความเห็นยืนยันที่จะใช้ธงไตรรงค์ตามเดิม ธงไตรรงค์จึงกลายเป็นธงชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน
拉玛七世时期曾经提出过将国旗的 样式又从三色旗改回了大象旗,因为三色旗的国际辨识度还不够高,颜色也和某些国家的国旗很像,相反白象旗和任何国家的旗帜都不一样,拉玛七世征求了各位部长的意见,但是各位部长认为还是应该继续使用三色旗,所以三色旗就一直被当作是泰国的国旗延用直至今日。




ธงชาติและการสร้างชาติ
国旗和 建国


สำหรับความหมายของ ธงชาติไทย ที่เปลี่ยนมาเป็น ธงไตรรงค์ นั้น สีแดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา และ สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์ สะท้อนถึง 3 ศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ด้านการเคารพธงชาติวันละ 2 เวลา (ชักธงขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา 8.00 น. เชิญธงลงเวลา 18.00 น.) เริ่มต้นสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และก็ได้ซบเซาขาดหายไป
关于泰国三色旗的含义,红色代表了国家和国内各民族的团结,白色代表了宗教,蓝色代表国王,展示了泰国汇集了泰国民众心智的3个中心,每天向国旗致敬的时间有两个(分别是早 上8点升国旗和下午6点降旗),这个传统在銮批汶担任总理期间开始实施,但之后慢慢也被人们淡忘。



กระทั่งรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รื้อฟื้นการเคารพธงชาติวันละ 2 เวลาให้กลับมาอีกครั้ง ทั้งยังได้ประกาศเชิญชวนข้าราชการหยุดยืนตรงเคารพธงชาติเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่ประชาชนทั่วไป โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2519 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ต่อมาประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการเทียบเวลาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ วันละ 2 ครั้ง ในเวลาเคารพธงชาติ
在他宁·盖威迁(Thanin Kraivichien)政府执政时期,又恢复了每天两次向国旗致敬的时间,还安排公务员起身站立向国旗致敬,以作为民众的榜样。1976年12月27日颁布了总理关于升国旗的相 关条例,后来在政府檄文中也有提及,于是每天都会有两次向国旗致敬的广播报时。



31 กรกฎาคม 2546 ธงชาติไทยถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการฉลองปลดหนี้ไอเอ็มเอฟ โดยนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ แถลงความสำเร็จของรัฐบาลที่ได้ชำระหนี้เงินกู้งวดสุดท้ายจำนวน 6 หมื่นกว่าล้านบาทให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเชิญชวนให้ประชาชนไทยประดับธงชาติเพื่อร่วมเฉลิมฉลองการปลดหนี้ ฟื้นฟูประเทศได้จากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 (วิกฤติต้มยำกุ้ง)
2003年7月31日 ,国旗成为了泰国成功偿还国际货币基金组织(IMF)债务的象征,当时的泰国总理他信·西那瓦(Thaksin Chinnawat)通过电视宣布泰国已经成功偿还国际货币基金组织的6百多亿泰铢国际贷款,鼓励大家悬挂国旗来庆祝泰国成功从1997年经济危机(冬阴功危机)中复苏。



28 กันยายน พ.ศ. 2560 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีธงไตรรงค์ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปีเป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” (Thai National Flag Day)
2017年8月28日,在三色旗百年之际,泰国副总理、国防部部长、代理总理巴逸上将(Prawit Wongsuwan)牵头组织部长会议,签署了关于国旗的条例,规定每年的9月28日为“泰国国旗日”。

点击观看歌曲《国旗》MV:
https://mp.weixin.qq.com/s/J9Xn29fJVIEHhAau_KEGNA

เพลง ธงชาติ
歌曲《 国旗》


คำร้อง-ทำนอง : "หลง ลงลาย"
 曲:Lhong Long-lai

ธงชาติไทยไม่ใช่เพียงผืนผ้า
泰国 国旗不仅仅是一块
เอาสีมาทาให้เป็นสามสี
染上 三种颜色的布
แต่กว่าจะเป็นไตรรงค์ผืนนี้
在成为 这面三色旗之前
เบื้องหลังยังมีเรื่องราวตั้งมากมาย
背后 经历了太多故事

ทั้งความทุกข์ ทั้งชีวิตของบรรพชน
所有 的苦难和先人的生命
หล่อรวมปะปนอนาคตลูกหลานไว้
铸就 了后人的未来
แต่วันนี้ที่ได้เห็นผืนธงไทย
今天面 对着国旗
น้ำตาแทบจะไหลให้สงสารแผ่นดิน
对这片大地 的热爱就让人热泪盈眶

นานแค่ไหนที่เหมือนคนไทยลืมรักชาติ
爱国已被泰 国人抛之脑后多久
ปล่อยไตรรงค์โบกสะบัดอย่างเดียวดายเสียจนชิน
让三色旗在空 中毫无意义地飞舞
ถึงเวลาเหลียวมองธงคู่แผ่นดิน
现在就是重 新关注国旗的时候
ฟังเพลงชาติให้ได้ยินเสียงหัวใจกันและกัน
听国歌时能 同时听到彼此的心跳
ให้ลึกซึ้งถึงความทุกข์ของบรรพชน
铭记 先祖经历的苦难

รู้สึกกังวลอนาคตของลูกหลาน
心系子孙 后代的未来
ถ้าเห็นสามสิ่งจากผืนธงเหมือน ๆ กัน
若我们能 齐心面对三色旗上的三种象征
เมื่อใดก็เมื่อนั้น สันติสุขจะคืนมา
那时和 平幸福就会来临


原来泰国的国旗竟然还有这么多历史呀!看完今天的文章,真的是长知识了呀!


声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。