语言是一种非常精细的东西,稍不留神就很容易出现各种各样的小错误,大家行走在泰国的大街小巷,一定曾经有看到过各种标牌上的泰语书写错误。其实泰国人在使用泰语的过程中也会有各种各样的问题,背后都是有原因的,那是因为泰语太难了吗?快来看今天的文章吧!

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม “ภาษาไทย” ซึ่งเป็นภาษาแม่ที่เราใช้กันตั้งแต่เกิด พูดกันทุกวัน เขียน/พิมพ์กันทุกวัน แต่ก็ยังใช้กันผิด ๆ ถูก ๆ ทั้งที่เป็นเรื่องที่เรียนกันมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล และผ่านการเรียนหลักภาษากันมาแล้ว
大家有没有曾经疑惑,泰语 是泰国人从出生就学习的、每天都说、每天都写的一种语言,尽管是从幼儿园就开始学习,已经学习了很多年了,但仍然是对的和错的夹杂在一起。

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “ภาษาไทย” เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท (Tai) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท (Kra–Dai Languages) หรือที่คุ้นหูกันว่าไท-กะได (Tai–Kadai) โดยจุดเด่นของภาษาตระกูลนี้คือ “เสียงวรรณยุกต์” ที่มีลักษณะเป็นเสียงสูง-เสียงต่ำคล้ายเสียงดนตรี
首先,先要了解一下,泰语 属于台语的一种,属于仡台语系,这个语系的一个突出特点就是有高有低的声调,就像音乐一样。

นอกจากมีความไพเราะเสนาะหูแล้ว การออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันก็ยังส่งผลต่อความหมายของคำด้วย ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทยที่มีการไล่เสียงคำ หรือที่เรียกว่า “การผันวรรณยุกต์” นั่นเอง ส่วนสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเขียนภาษาไทยกันผิด ๆ สามารถจำแนกได้ดังนี้
除了好听之外,不同声调 的变化会给词的意义也带来不同,泰语一个很特殊的地方就在于声调的变换。让泰国人用错泰语的主要原因已经分类总结在下面的内容中了。




1. แยกภาษาพูด-ภาษาเขียนไม่ออก
1. 分不清口语和 书面语

  • ภาษาพูด เป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ ใช้สนทนาในชีวิตประจำวัน ทั้งพูด และเขียน/พิมพ์ ที่ไม่ใช่การติดต่อกิจธุระ
  • 口语:是不正式的语言,在日 常生活的对话、书写中使用,不在商业往来中使用
  • ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกันอย่างเป็นทางการ ในการติดต่อกิจธุระ
  • 书面语:是正式交往中使用的 语言,在商业往来中使用

หากสังเกตจะพบว่า แทบไม่มีใครใช้คำว่า “เขา” ในการพูดคุยในชีวิตประจำวันเพื่อใช้เรียกแทนสรรพนามบุรุษที่ 3 แต่จะใช้ “เค้า” แทน ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ในการเขียนติดต่อที่เป็นทางการ จึงมีคนติดใช้ “เค้า” ในการเขียนแทน “เขา” ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาเขียน แม้ว่าจะสื่อสารได้เช่นกัน แต่กลับลดความน่าเชื่อถือลงไปหากนำไปใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้คำเขียนที่เป็นทางการ เช่น การติดต่อทางราชการ หรือติดต่อธุรกิจ เป็นต้น
如果仔细观察就会发现,在日常生活的对话中几乎看不到第三人称代词เขา,而是用เค้า来代替。因此,在需要正式的书写时,就也会用成เค้า这个词来代替เขา,这不符合书面语的规则。尽管所传 达的意思一样,但是会降低我们在正式场合下的可信程度,比如公务往来或者商业往来等等。



2. ไม่เข้าใจคำพ้องรูป-พ้องเสียง
2. 不了解 同形-同音词


คำพ้องเสียง
 音词

“หน้า” กับ “น่า” และ “หย่า” กับ “อย่า” คือตัวอย่างของ “คำพ้องเสียง” ที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เมื่อใช้ “หน้า” และ “น่า” ผิด จึงทำให้การสื่อสารมีปัญหา เช่น น่ารัก กลับเขียนเป็น “หน้ารัก” เป็นต้น ซึ่งคำว่า “หน้า” หมายถึง ใบหน้า หรือด้านหน้า ส่วน “น่า” เป็นคำวิเศษณ์ที่มีความหมายชักชวน ทำให้อยาก เช่น น่ากิน น่าอยู่ หรือใช้ประกอบหน้าคำกริยา (ลักษณะของคำประสม) ในความหมายว่าควร เช่น น่าจะไป น่าจะทำ
หน้า和น่า/naa3/、ห ย่า和อย่า/yaa2/是同音词的例子,它们发音相同,但是写法不同,意义也不同,混用这两个词会造成意义混乱,例如น่ารัก可爱变成了หน้ารัก等等。หน้า这个词的意思是脸或前方,而น่า是表示让人产生想要的副词,例如น่ากิน“好吃”、น่าอยู่“宜居”,或者加在同词前面表示“应该”,比如น่าจะไป“可能回去”、 น่าจะทำ“可能会做”。

คำพ้องรูป
同形 

“แหน” กับ “แหน” เป็นตัวอย่างในกรณี “คำพ้องรูป” เมื่อคำหนึ่งอ่านว่า “แหฺน” ที่แปลว่า ชื่อพืชชนิดหนึ่ง ส่วนอีกคำอ่านว่า “แหนฺ” ที่แปลว่า “หวง ล้อม รักษา เฝ้าระวัง (มาจากหวงแหน)” ซึ่งการใช้แปลความหมายของคำพ้องรูปให้ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องอาศัย “บริบท” หรือลักษณะความหมายแวดล้อมของประโยค จึงจะทราบว่าคำดังกล่าวต้องอ่านเช่นไร หากพูดถึงพืช ก็ต้องออกเสียง แหฺน แต่ถ้าใช้ในความหมายรักษา หวงแหน ก็ต้องออกเสียง แหนฺ
แหน和แหน是同形词,当一个 词读作แหฺน/nae5/,意思是一类植物,另一个词读作แหนฺ/haen5/,意思是“包围、保护”,要想正确翻译理解这两个同形词必须要依赖上下文或者剧中的其他词意,才能知道这个单词应该怎么读。如果是说植物,就要读作/nae5/,如果是说保护,就要读成/haen5/。


(就像猴子和猴面兰花,看着很像,但其实根本不是同一样的)


3. เว้นวรรคผิด
3. 断词错 

“เว้นวรรคผิดชีวิตเปลี่ยน” เพราะทำให้การสื่อสารผิดความหมาย ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สัมฤทธิผล ตัวอย่างเช่น “ตากลม (ตาก-ลม)” และ “ตากลม (ตา-กลม)” หรือตัวอย่างตั้งแต่เรียนประถมศึกษา “ยานี้ดีกินแล้วแข็งแรงไม่มีโรคภัยเบียดเบียน” ซึ่งทำให้เห็นว่า การเว้นวรรคผิดในประโยคหรือในวลีที่ยาว จะทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารที่ผิดเพี้ยน และอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่ายขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเว้นวรรคให้ถูกต้อง
“断词错误命运改变”,因为会导致传达的意思改变,交流变得无效,例如“ตากลม (ตาก-ลม)”/taak2-lom1/ และ “ตากลม (ตา-กลม)”/taa1-klom1/,又或者是小学就会学到的例子“ยานี้ดีกิ นแล้วแข็งแรงไม่มีโรคภัยเบียดเบียน”。让我们看到,在句子中的长短语短句错误的话,传达的意思会改变,可能更容易让人误解,一定要把句子断正确。

 

4. ผันวรรณยุกต์ไม่เป็น
4. 不会声调 变化

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผันวรรณยุกต์ คือ “ไตรยางศ์”, “คำเป็น-คำตาย” และ “วรรณยุกต์” ซึ่งทั้งสามสิ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้คนไทยหลายคนสับสนการใส่วรรณยุกต์ “คะ ค่ะ” และอีกหลายคำ จึงกลายเป็นปัญหาในการสื่อสาร หากไม่ใส่ใจเรื่องของการผันวรรณยุกต์ ก็จะทำให้การสื่อสารผิดพลาดและเกิดความเข้าใจผิดได้
和声调变换相关的就是三组辅音、活音节-死音节和声调符号。这三个条件都会让泰国人对“คะ/kha4/ ค่ะ/kha3/”和其他很多词的声调产生疑惑,导致了交流中的问题。如果不注意声 调变化的问题,就会导致交流中的误解。

ไตรยางศ์ และวรรณยุกต์
三组辅音和声调符 

หากจะผันวรรณยุกต์ให้ถูกต้องก็จำเป็นต้องเข้าใจเสียก่อนว่าไตรยางศ์นั้นประกอบด้วยอักษร 3 หมู่ คือ อักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ ส่วนวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีวรรณยุกต์ 4 รูป คือ วรรณยุกต์เอก (-่) วรรณยุกต์โท (-้) วรรณยุกต์ตรี (-๊) และวรรณยุกต์จัตวา (-๋) และมี 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงวัตวา
想要正确变换声调,就要先知道三组泰语字母,分成中辅音、高辅音和低辅音。泰语的声调符号一共有四个,分别是第二声调符号(-่)、第三声调符号(-้)、第四声调符号(-๊)、第五声调符 号 (-๋)。泰语中的声调共有五个,分别是第一声调(33)、第二声调(22)、第三声调(41)、第四声调(53)和第五声调(24)。

  • อักษรกลาง มี 9 รูป 7 เสียง ได้แก่ ก จ ด ต (ฎ ฏ) บ ป อ สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบทั้ง 5 เสียง
  • 中辅音共9个字母,发7个音,分别是ก จ ด ต (ฎ ฏ) บ ป อ,可以发出全部5个声调
  • อักษรสูง มี 11 รูป 7 เสียง ได้แก่ ข (ฃ) ฉ (ฐ) ถ ผ ฝ (ศ) ส (ษ) ห สามารถจับคู่เสียงกับอักษรต่ำคู่
  • 高辅音共有11个字母,发 7个音,分别是ข (ฃ) ฉ (ฐ) ถ ผ ฝ (ศ) ส (ษ) ห,可以和低辅音结合在一起
  • อักษรต่ำคู่ มี 14 รูป 7 เสียง คือ ข (ฃ) คู่กับ ค (ฅ ฆ) / ฉ คู่กับ ช (ฌ) / (ฐ) ถ คู่กับ (ฑ ฒ) ท (ธ) / ผ คู่กับ พ (ภ) / ฝ คู่กับ ฟ / (ศ) ส (ษ) คู่กับ ซ และ ห คู่กับ ฮ
  • 有配对的低辅音,有14个字母,发 7个音,分别是ข (ฃ) 搭配 ค (ฅ ฆ) / ฉ 搭配 ช (ฌ) / (ฐ) ถ 搭配 (ฑ ฒ) ท (ธ) / ผ 搭配 พ (ภ) / ฝ 搭配 ฟ / (ศ) ส (ษ) 搭配 ซ และ ห 搭配 ฮ

ทั้งนี้ อักษรสูงสามารถผันวรรณยุกต์ได้เพียง 3 เสียง และปรากฏรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น เช่น ขา ข่า ข้า ขณะที่อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 รูป 7 เสียง ได้แก่ ง (ญ) (ณ) น ม ย ร ล ว (ฬ) และอักษรต่ำ สามารถผันวรรณยุกต์ได้เพียง 3 เสียง ปรากฏรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น เช่น คา ค่า ค้า ซึ่งจะสังเกตได้ว่า อักษรต่ำคู่ที่มีเสียงจับคู่กับอักษรสูง จะทำให้ผันได้ครบ 5 เสียง คือ คา ข่า ข้า(ค่า) ค้า ขา
因此,高辅音只能变换出3个声调,只能使 用两种声调符号,分别是第二声调和第三声调符号;低辅音还有无配对的低辅音,共10个字母,发7个音,分别是ง (ญ) (ณ) น ม ย ร ล ว (ฬ)。低辅音只能变换出三种声调,可以添加两种声调符号,分别是第二声调和第三声调符号。可以看到,当把高辅音和低辅音结合在一起后,就能发出全部的五个声调,例如คา/khaa1/ ข่า/khaa2/ ข้า(ค่า)/khaa3/ ค้า/khaa4/ ขา/khaa5/.

คำเป็น-คำตาย
活音节- 死音节

  • คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว และสะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กง กน กม เกย เกอว
  • 活音节 是以长元音或者/ng/、/n/、/m/、/y/和/u/为尾音的音节
  • คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น และสะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กก กด กบ
  • 死音节是以短元 音或/k/、/t/、/p/为尾音的音节

คำเป็น-คำตาย ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อนำมาผันวรรณยุกต์จะยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังเช่นกรณีของคำว่า คะ/ค่ะ ที่หลายคนมักเขียนผิดกันอยู่บ่อย ๆ
活音节和死音节可以说是非常重要的, 因为它让泰语的声调变化更加复杂,就好像很多人都会写错的คะ/ค่ะ这两个词。

  • “คะ” เป็นคำตาย (สระเสียงสั้น) รูปสามัญ แต่เป็นเสียงตรี (คะ-จ๊ะ)
  • คะ/kha4/是死音节(短元 音),无声调符号,但发第四声调
  • “ค่ะ” เป็นคำตาย (สระเสียงสั้น) รูปเอก แต่เป็นเสียงโท (ค่ะ-จ้ะ)
  • ค่ะ/kha3/是死音节(短元音 ),第二声调符号,但发第三声调
  • “คา” เป็นคำเป็น (สระเสียงยาว) รูปสามัญ เสียงสามัญ (คา-จา)
  • คา/khaa1/是活音节(长元 音),无声调符号,但发第一声调
  • “ค่า” เป็นคำเป็น (สระเสียงยาว) รูปเอก เสียงโท (ค่า-ป้า)
  • ค่า/khaa3/是活音节(长音 节),第二声调符号,但发第三声调



ตัวอย่างการใช้ คะ ค่ะ นะคะ น่ะค่ะ ที่ถูกต้อง
一些正确使用 的例子

  • “คะ” ใช้ในความหมาย “คำถาม” และ “แสดงความสุภาพ” เช่น อะไรนะคะ จริงหรือคะ ขอบคุณนะคะ แต่ “ค่ะ” ใช้ในความหมาย “บอกเล่า” และ “ตอบรับ” เช่น ได้ค่ะ สวัสดีค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ
  • คะ/kha4/用在“疑问”和“表示 礼貌”的时候,例如อะไรนะคะ“什么?”、จริงหรือคะ“真的吗?”、“ขอบคุณนะคะ“谢谢哦!”;但是ค่ะ/kha3/用在“陈述”和“应答”时,例如ได้ค่ะ“可以”、สวัสดีค่ะ“你好”、ไม่เป็นไรค่ะ“没关系”等等。
  • “นะคะ” ใช้กับการบอกเล่า ตอบรับ ตอ บคำถาม เช่น โอเคนะคะ ไปก่อนนะคะ ขอบคุณมาก ๆ นะคะ
  • นะคะ/na4 kha4/用在陈述、应答、回答问题 ,例如โอเคนะคะ“好的”、ไปก่อนนะคะ“先走了哦”、ขอบคุณมาก ๆ นะคะ“非常感谢”。
  • “น่ะค่ะ” จะใช้กับการบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น เธอกำลังรีบน่ะค่ะถึงได้ไปโดยไม่บอกกล่าว
  • น่ะค่ะ/na3 kha3/用在陈述、应答、回答 问题时,例如เธอกำลังรีบน่ะค่ะถึงได้ไปโดยไม่บอกกล่าว“她正着急呢,所以没说就走了。”

ทั้งหมดนี้ หากพิจารณาเรื่องการผันวรรณยุกต์และความหมายของการใช้งานแล้ว จะรู้ทันทีว่าความหมายไม่เหมือนกัน จึงสามารถสรุปได้ว่า แม้ภาษาไทยจะเป็นภาษาที่เราใช้กันทุกวัน แต่คนไทยหลายคนกลับยังไม่แม่นเรื่องการผันวรรณยุกต์ และการสะกดคำเป็น-คำตาย จึงทำให้ “คะ ค่ะ” ยังเป็นคำที่ใช้กันไม่ถูกต้องเสียที
综上所述,如果考 虑到声调的变化和实际使用中的含义,就会知道它们的意思是不一样的,所以可以总结来说,尽管泰语是泰国人日常生活中使用的语言,仍然有一些词存在着误用。

อย่างไรก็ตาม มีคนแย้งว่า การเขียนผิดไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ จะต้องเข้มงวดอะไรนักหนา หากสื่อสารรู้เรื่องก็พอแล้ว แต่เหตุผลหนึ่งเดียวที่สำคัญที่สุดที่เราจำเป็นต้องสะกดให้ถูกก็คือ เพื่อให้การสื่อสาร “สัมฤทธิ์ผล” โดยเฉพาะการสนทนาที่ไม่เห็นหน้า ไม่ได้ยินน้ำเสียง เพราะไม่ใช่ผู้รับสารทุกคนจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อ เนื่องจากเพียงใช้วรรณยุกต์ผิด เว้นวรรคผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนทันที และทำให้ “คุยกันไม่รู้เรื่อง” ได้
无论如何,有人反驳说,拼写错误也并不是什么大的问题,如果不影响交流,干嘛要这么严格呢?但是需要我们正确拼写的唯一原因就是,我们要使交流圆满实现,尤其是在不能看见说话对象、不能听见说话对象的声音的交流过程中,因为并不是每个听话者都能完全理解说话者需要传达的含义,虽然仅仅只是声调错误、断句错误,意思立刻就会改变,让彼此无法达到交流的效果。

所以并不是看到泰国小伙伴用的就全是对的哦,学习泰语最好的方法还是要系统学习正确的语法和规则,单词也要好好记哦,不然以后哪天闹了笑话可就让大伙儿笑掉大牙啦~


不知道各位小伙伴在学习泰语的过程中还有哪些让你头疼的问题呢?评论区里告诉我们吧!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。