对泰国文化有所了解的小伙伴一定对传统的泰服不陌生,我们在图片见到的泰服都是非常华丽的,制作工艺也是极其繁杂。今天,我们再带大家去看看,我们今天看到的泰服是怎样一步一步发展的。




ชุดเครื่องแต่งกายถือเป็นการแสดงวัฒนธรรม ประเพณี เชื้อชาติ เอกลักษณ์ของคนในแต่ละท้องถิ่น อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและประวัติศาสตร์ เคยเล่าถึงวิวัฒนาการชุดไทยโดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 5 กลุ่มตามยุคสมัย
泰式服装 展示了泰国各个地区的文化、习俗、血统和特点,泰丝和历史学专家 Phaothong Thongchuea 老师曾经提到过,泰式服装经历了5个时期的变化发展,分别是:

กลุ่มแรก ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 1- รัชกาลที4
第一个 时期:拉玛一世-拉玛四世时期的泰式服装

กลุ่ม 2 ชุดไทยสมัย รัชกาลที่ 5
第二个 时期:拉玛五世时期的泰式服装

กลุ่ม 3 ชุดไทยสมัย รัชกาลที่ 6
第三个时 期:拉玛六世时期的泰式服装

กลุ่ม 4 ชุดไทยสมัย รัชกาลที่ 7- รัชกาลที่ 8
第四个 时期:拉玛七世-拉玛八世时期的泰式服装

กลุ่ม 5 ชุดไทยสมัย รัชกาลที่ 9
第五个时 期:拉玛九世时期的泰式服装


ชุดไทยสมัย รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 4
拉玛一世-拉玛四 世时期的泰式服装


ชุดไทยสำหรับเจ้านายฝ่ายใน ในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นพระมเหสี พระเทวีต่างๆ เจ้าจอม พระราชธิดา ส่วนใหญ่จะนุ่งซิ่น จีบหน้านาง ผ้าถุงยาว โดยใช้ผ้าลายอย่างจากอินเดีย ห่มทับท่อนล่าง ส่วนท่อนบนห่มสไบแพรจีนเปิดไหล่หนึ่งข้าง หรือใส่เสื้อคอตั้งผ้าไหมจีนผ่าอก ติดขัดกระดุม แขนกระบอก โดยแขนกระบอกจะฟิต ถ้าใส่เสื้อจะมีสไบห่มทับเสมอ โดยจะห่มสไบทับอัดกลีบ หรือไม่อัดกลีบก็ได้
宫廷中的泰式服装,不管是王后,还是王公贵族的妻子、公主,大部分都身着筒裙,在筒裙前面束紧,筒裙偏长,很多都使用的都是来自印度的花纹布,穿着在 下半身,上半身一般穿露出单侧肩膀的中国丝绸纱摆,或者身穿中国丝绸立领单排扣上衣,有绳结扣,直筒修身袖。如果穿上衣的话会再叠加一层纱摆,可以为纱摆按压褶皱,也可以不按压。



สมัยก่อนการแต่งกายเป็นเครื่องจำแนกตวามแตกต่างทางสังคม เช่นการอัดกลีบสไบก็เป็นการแสดงความแตกต่างจากสามัญชน โดยทำให้ประณีตขึ้น นอกจากนี้ยังมีการห่มสไบ 2 ชั้น หรือเรียกว่าห่มสไบทรงสพักตร์ อย่างไรก็ตาม พระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 4 จะเป็นการนุ่งจีบหน้านาง จะเห็นฝ่ายในใส่โจงกระเบนบ้าง แต่ไม่เป็นพระราชนิยม
以前穿衣打扮反映了社 会地位的不同,就好比给纱摆按压褶皱这种风格也是和普通民众不同的,这样可以使穿着打扮更加精美。除此之外,还有身穿两层纱摆的习俗,无论如何,拉玛一世到拉玛四世时期,贵族更流行穿前部收紧的筒裙,也会看到有些人穿缠腰布裤装。


ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5
拉玛五 世时期的泰式服装


ในระยะแรกช่วงต้นรัชกาล จะเห็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมเหสีในรัชกาลที่ 5 เช่น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงชุดไทยจีบหน้านาง แต่ต่อมาพระราชนิยมนุ่งโจงกระเบนกลายมาเป็นที่แพร่หลาย โดยจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแพรจีนแขนกระบอก ห่มทับสไบ
在这一时 期初期,可以看到拉玛四世的公主 Sunanda Kumariratana,她也是拉玛五世的王妃,身着前部收紧的泰式服装,但是后来,她改为穿着更受欢迎的缠腰布裤装,上身穿着中国丝绸的直筒上衣,披纱摆。



กระทั่งมีอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา จากเสื้อแพรจีนก็เปลี่ยนมาเป็นเสื้อแหม่มแบบฝรั่ง โดยได้รับอิทธิพลจากราชสำนักรัสเซียและออสเตรีย เสื้อแบบฝรั่งที่นิยมใส่ก็เป็นผ้าลูกไม้จีบระบายต่างๆ ทั้งปลายแขน รอบอก รวมทั้งเสื้อแขนหมูแฮม โดยต้นแขนจะจีบฟองฟูขึ้น และค่อยๆ แคบลงมาถึงข้อมือ
后来受到 了西方的影响,从中国丝绸的上衣变成了西式的女士衬衫,这是受到了俄罗斯和澳大利亚的影响,当时流行的西式服装是在手臂、胸口上有褶皱的镂空花纹服装,手臂是宽松样式的,肩膀处蓬起,越往下到手腕处收紧。



เมื่อเปลี่ยนเป็นเสื้อฝรั่ง เพื่อโชว์เสื้อลูกไม้ ก็เปลี่ยนมาจับหน้าสไบให้แคบลง โดยพับตามยาวให้หน้าสไบแคบลงเหลือประมาณครึ่งเดียว แล้วนำมาสะพายเฉียงไหล่ซ้ายลงมาที่เอวขวา แล้วเอาชายทั้งสองของสไบผูกเป็นโบทิ้งชายสั้นๆ อยู่บริเวณสะโพกขวาด้านหลัง แต่การผูกโบทำให้ปมใหญ่ไม่สวย ต่อมาจึงเปลี่ยนเอาชายสไบมาทบสะโพกขวาด้านหลังแล้วใช้เข็มกลัดติดทิ้งชายยาว การแต่งกายแบบนี้เป็นพระราชนิยมตลอดรัชกาล
当穿上了西式服装之后,展示了镂空花纹的衣服,所以纱摆也随之变窄,按照纱摆的长边对折,只剩下一半的宽度,然后斜挎在左肩上,下垂到右侧腰部,之后把纱 摆的两侧边缘打结,短的一边放在右后侧臀部的位置,但是由于打结导致了不美观,后来就把纱摆边缘贴在右后侧臀部处,用别针别好,这样的穿着方法在这一时期都非常流行。


ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 6
拉玛六世 时期的泰式服装


รูปแบบการแต่งกายของสุภาพสตรีไทยโน้มเอียงไปทางตะวันตกมากขึ้น เสื้อแขนหมูแฮม เสื้อลูกไม้ สมัยรัชกาลที่ 5 ยังใส่มาถึงตอนต้นของรัชกาลที่ 6 ต่อมาพระองค์โปรดให้เปลี่ยนจากนุ่งโจงมานุ่งซิ่น แต่ไม่โปรดให้เป็นผ้าซิ่นที่เป็นลายอย่างแบบต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่โปรดให้เป็นผ้าหลากหลาย เช่น ผ้าซิ่นลายต๋าจากภาคเหนือ มาใส่กับเสื้อฝรั่ง หรือผ้ายกจากนครศรีธรรมราชจากลำพูน เอามาใส่กับเสื้อลูกไม้ โดยผ้าซิ่นจะถูกนุ่งให้สั้นลงประมาณครึ่งแข้ง จะมีลักษณะผ้าซิ่นทรงกระบอก คล้ายๆ กระโปรงทรงเล็ก
女士穿衣打扮的风格更加西式,拉玛五世时期的宽衣袖、花纹镂空服装在拉玛六世初期时期仍然有一定影响力,后来有御诏由缠腰布裤装变为筒裙,但不推崇曼谷王朝初 期的花纹筒裙,而是推荐穿着多种布料的筒裙,比如北部特色花纹的筒裙搭配西式上衣或者罗坤和南奔的补票搭配花纹镂空的上衣。筒裙的长度剪短了大约一半,是直筒式的筒裙,好比现代的短裙一样。




ชุดไทยสมัย รัชกาลที่ 7 – รัชกาลที่ 8
拉玛七世- 拉玛八世时期的泰式服装


รูปแบบการแต่งกายยังเลียนแบบสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่แต่กระโปรงจะเป็นกระโปรงที่สั้นมาถึงใต้เข่า จากนั้นเริ่มเป็นชุดเดรสหรือชุดเสื้อกับกระโปรงติดกัน ซึ่งเกิดขึ้นปลายรัชกาลที่ 6 ต้น รัชกาลที่ 7 โดยมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นผู้นำแฟชั่นสมัยนั้น โดยมีห้องเสื้อลองจากปารีสเป็นผู้ทำฉลองพระองค์ถวาย สะท้อนให้เห็นว่าราชสำนักมีความเป็นสากลมาก
这个时期的服装仍然沿袭了拉玛六世时期,但是裙子的长度已经短到膝盖,后来就变成了套裙或者上衣和裙子一体的服装,这样的服装产生于拉玛六世初期,拉玛七世时 期的王后兰拍潘尼引领了当时的时尚,有来自巴黎的服装品牌向王后进献服饰,展示出了当时王室的国际性。




ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 9
拉玛九 世时期的 泰式服装


ช่วงต้นรัชกาล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ยังทรงแต่งชุดไทยตามพระราชนิยมต่อเนื่องจากรัชกาลที่ 7 กระทั่งเสด็จอเมริกาและยุโรป ถึงได้มีการประดิษฐ์ชุดไทยพระราชนิยมขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับวาระโอกาสที่จะต้องออกงาน ประเทศไทยก็จะมีชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบได้แก่ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยดุสิต ชุดไทยอัมรินทร์ ชุดไทยจักรี ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยศิวาลัย และชุดไทยจักรพรรดิ ซึ่งเป็นแบบอย่างของการแต่งกายชุดไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน
在这个时期初期,拉玛九世诗丽吉王后仍然沿袭了拉玛七世的泰式服装,在拜访过美国和欧洲之后,开始改良泰式传统服装,为了在各种活动场合穿着,泰国于是有了8种传统服装,分别是:Reunton、律实、因陀罗、节基、武隆碧曼、西瓦莱、乍迦博碧曼、吉拉达泰服,一直沿袭到了今天。




曼谷王朝拉玛一世-九世的泰服展示





泰语君觉得现在的泰服和古代的泰服都好好看啊~你们喜欢哪种泰服呢?

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag、Kapook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。