说到“迦楼罗”,大家可能都会觉得陌生,不知道这是何物,但如果你看到它的图片,绝对会恍然大悟,因为喜欢泰国的同学们绝对已经无数次见到它的样子了,它就是传说中的泰国护国神兽金翅鸟,经常出现在各种文书的上面。你对它了解多少呢?今天,我们就来大家认识一下这只对泰国人来说意义非凡的金翅神鸟。





แม้ ครุฑ จะเป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ สัตว์ในจินตนาการของอินเดียโบราณ แต่ในขณะเดียวกัน ครุฑ ก็ถูกนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินไทยมาช้านาน ส่วนในแวดวงศิลปะไทย ครุฑ เป็นที่นิยมของบรรดาศิลปินหลากหลายแขนงทั้งงานประติมากรรม จิตรกรรม ที่ศิลปินแต่ละคนต่างก็ถ่ายทอดรูปร่าง ท่าทาง และจินตนาการเกี่ยวกับครุฑไว้แตกต่างกันมากมาย แม้แต่ในวรรณกรรมคลาสสิก กากี ก็มีเรื่องครุฑลงไปผสมผสาน
虽然说迦楼罗是一种身处喜马磐森林中的动物,是一种古代印度人想象出来的生物,但同时,迦楼罗作为泰国的象征已经很长时间了。迦楼罗尤其受到艺术创作者的欢迎, 包括雕刻和绘画艺术,艺术家们也将迦楼罗的外形、动作进行了不尽相同的解读,古典文学中也有着关于迦楼罗的形象。

เรื่องราวของครุฑมีเล่าขานอยู่หลายตำนานและพบเจอในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ไทย ชวา และกัมพูชา ส่งผ่านอิทธิพลของศาสนา โดยในศาสนาพรหมณ์ฮินดูเชื่อว่า ครุฑคือพาหนะของพระนารายณ์ ด้านพุทธศาสนาเชื่อว่าครุฑ คือ ครึ่งนกครึ่งคน มีถิ่นที่อยู่อาศัยในป่าหิมพานต์ บริเวณวิมานฉิมพลี เชิงเขาพระสุเมรุ คอยจับนาคกินเป็นอาหาร ถ้าสังเกตให้ดีในภาพจิตรกรรมป่าหิมพานต์ส่วนใหญ่ จะพบว่าพญานาคมักถูกวาดอยู่ชายขอบล่างของป่าหิมพานต์เพื่อหลบลี้จากพญาครุฑอยู่เสมอ
迦楼罗的传说在很多国家和地区都存在,包括印度、泰国、爪哇和柬埔寨,通过宗教的影响传播,印度婆罗门教相信,迦楼罗是毗湿奴的坐骑,佛教认为迦楼罗是半人 半鸟的形象,居住于喜马磐,这个地方在须弥山的一个名为Chim Phli世界当中,以纳伽为食。如果仔细观察的话,关于喜马磐的壁画中,经常能够看到纳伽在喜马磐森林的边缘,躲避迦楼罗的捕捉。



ตามคติไทยโบราณ ครุฑ เป็นสัตว์วิเศษมีหัว ปีก เล็บ และปากงุ้มเป็นขอเหมือนนกอินทรี ส่วนตัวและแขนเป็นคนมีสีทอง ใบหน้าขาว ปีกแดง หางแผ่ทางก้นเหมือนนก เครื่องประดับประจำตัวมีทองกรสวมแขน กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า สวมชฎาทรงมงกุฎน้ำเต้า สวมสายสร้อย นุ่งผ้าชายเฟือยมีห้อยหน้า
根据古代泰国的信仰,迦楼罗是一只头、翅膀、爪子和喙像鹰,而身体和手臂像一个金色白面的人,两翼是红色,像鸟一样张开翅膀,随身的装饰扮包括金色的手臂、手链和 脚链、头顶上葫芦形状的冠、项链,穿着垂于身前的裤子。

สำหรับตราประจำแผ่นดินรูปครุฑนั้นมีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามจดหมายเหตุของลาลูแบร์ อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ว่า แม้สมัยนั้นไม่มีตำแหน่งเจ้ากรมราชลัญจกร แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีตราประจำพระองค์แล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ตรา ครุฑพ่าห์ ตามคติสมมุติเทพในยุคนั้นที่ถือว่ากษัตริย์เทียบเท่าพระนารายณ์ลงมาปกครองบ้านเมือง โดยมีครุฑเป็นพาหนะ ซึ่งครุฑพ่าห์นี้ก็มีการใช้มาจนถึงแผ่นดินกรุงธนบุรี
伽楼咯作为泰国的象征是从阿瑜陀耶时期开始的,根据纳莱王时期法国使者拉鲁贝的记载,虽然当时还没有主管国家象征标志的部门,但是国王已经有自己的标志象征了,据推测可 能是一面黄底上有红色迦楼罗标志的旗帜,在当时认为纳莱王是保护国家的下凡天神,迦楼罗是他的坐骑,这样的旗帜一直从阿瑜陀耶时期使用到吞武里王朝时期。



ต้นรัตนโกสินทร์ก็ยังมีการใช้ครุฑเป็นตราพระราชลัญกรอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานชัดเจนว่ารัชกาลที่ 2 ก็ทรงใช้ตราครุฑเพราะพระนามเดิมว่า “ฉิม” มาจาก “ฉิมพลี” แปลว่า ต้นงิ้ว ที่ตั้งของวิมานครุฑ หรือก็คือ “วิมานฉิมพลี”
在曼谷王朝初期仍然将 迦楼罗作为国家的象征,证据是在拉玛王朝二世王时期仍然在使用迦楼罗印章,他名字中的Chim也是来自Chim Phlee,意思是“木棉树”,这个地方就是迦楼罗所在的名为Chi Phlee的世界。

ส่วนสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงเขียนครุฑถวายใหม่ โดยตัดนาคออกไปเพราะทำให้ครุฑดูตะกละตะกลามเต็มที ไปไหนก็ต้องหิ้วอาหารไปด้วย ส่วนมือที่กางก็เปลี่ยนมาเป็นรำตามครุฑเขมร เปลี่ยนลายกนกเป็นเปลวไฟ เพราะกนกเป็นพืชไม่เหมาะกับสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์เดินอากาศ ถัดมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงใช้ครุฑแบบเดิมแล้วเพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบพระราชลัญจกรและเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบัน
在拉玛五世时期,命令那里沙拉·努瓦迪翁重新设计了迦楼罗的形象,删掉了纳伽,因为这可能会让迦楼罗看起来过于贪婪,到哪里都要抓着食物,展开的翅膀也变成了高棉迦楼罗式的舞蹈动作,将植物的图案变为了火苗,因为植物不符合迦楼罗作为天空中神兽的形象。后来在拉玛六世时期还增添了国王象征标志,一直沿用至今。




关于迦楼罗的知识,大家学到了吗?

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。