要说到美食,中国和泰国都是吃货的天堂,虽然风味大不相同,但是还是深受食客们的喜爱,更令人开心的时,中国和泰国的美食还有很多联系,随着华人移民到泰国,带去了中国人的美食,在和泰国的口味进行融合,产生了更多的好吃的。今天,我们就要带大家去看看两种美食,不知道大家有没有吃过呢?


เกาเหลา เป็นคำที่พบได้บ่อยในร้านขายอาหารทั้งหลายในไทยเมื่อมีผู้สั่ง “ก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ใส่เส้น” อย่างไรก็ตาม คำว่า “เกาเหลา” นี้ไม่มีในรายชื่ออาหารจีน ขณะที่ ปาท่องโก๋ ในจีนนั้นก็มีหน้าตาคนละแบบกับปาท่องโก๋ที่คนไทยรับประทาน
“高楼”,是一个在餐馆经常能够听到的名字,尤其是当人点了“没有粉的粉”之后。无论如何,“高楼”这个词在中餐馆是没有的,而中国菜中的“油条”也和泰国人熟悉 的“油条”长得也是完全不一样的。

นักชิมชาวไทยรู้จัก เกาเหลา กันเป็นอย่างดีว่าคือชื่อเรียกอาหาร (ไทย) ที่สื่อความหมายถึงอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนประเภทหนึ่ง ตามความเข้าใจของคนทั่วไปแล้ว “เกาเหลา” ก็คือก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ใส่เส้น แต่จากตำราด้านภาษาไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนนั้นอธิบายไว้ชัดเจนว่า เกาเหลาไม่มีในรายชื่ออาหารจีน
泰国的各位美 食家们都知道“高楼”这种美食指的是一种受到中餐影响的(泰国)美食。根据一般人的理解,大家认为的“高楼”是一种没有粉的粉,但是有证据表明,“高楼”这种食物并不存在在中餐中。



การหยิบยืมคำที่ชาวไทยหยิบมาจากจีนนั้นมีมานานตั้งแต่เริ่มต้นติดต่อค้าขายมีความสัมพันธ์กับจีนในสมัยโบราณแล้ว นวรัตน์ ภักดีคำ อธิบายในหนังสือ “จีนใช้ไทยยืม” ว่า คำว่า “เกาเหลา” เป็นคำที่ได้อิทธิพลจากจีนก็จริง แต่ไม่มีอาหารจีนที่เรียกว่า “เกาเหลา” อยู่เลย
泰国人从中文中借用词汇的现象从古代中国和泰国之间的贸易往来之时就已经存在了。 Nawarat Phakdeekham 在《中用泰借》一书中解释到,“高楼”这个词确实 受到了中文的影响,但是中国菜中却没有一道叫做“高楼”的菜。

หากสืบค้นที่มาของคำ “เกาเหลา” กลับไปสู่อิทธิพลของภาษาจีนแล้ว นวรัตน์ อธิบายว่า น่าจะหมายถึงคำว่า 高楼 (Gāo Lóu”เกาโหลว”) ที่แปลว่าตึกสูง คาดว่าอาจหมายถึงภัตตาคารจีนที่มักมีชื่อลงท้ายว่า “楼” (Lóu) ซึ่งคนไทยอาจได้ยินชาวจีนเรียกภัตตาคารว่า 高楼 (เกาโหลว) จึงนำมาใช้เรียกอาหารประเภทนี้ โดยออกเสียงตามภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วว่า “เกาเหลา”
如果从中文 的影响中去剖析“高楼”这个词的话,会发现它应该是“高的楼”的意思,可能是中国酒楼都会用到“楼”一词,泰国人听到了中国人称之为“高楼”,因此就用这个词来指代这种食物,而且使用的是潮州口音的中文发音。



เพจคลินิกภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภัตตาคารจีนว่า ในจีนมีภัตตาคารหรูที่เป็นตึกสูงแห่งหนึ่ง ภัตตาคารนี้มีอาหารพิเศษคือเนื้อตุ๋นปรุงแต่งรสด้วยเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสโดยไม่มีเส้นก๋วยเตี๋ยว คนจีนนิยมพูดว่า “ไปกินเกาเหลา” ก็หมายถึงไปกินอาหารในภัตตาคารลือชื่อแห่งนี้ เมื่อชาวจีนเข้ามาในไทยมากขึ้น คนไทยก็ได้รับอิทธิพลทางด้านอาหารตามมาด้วย และคนไทยก็เรียกกันติดปากว่า “เกาเหลา”
清迈大学泰语专业泰语诊疗所主页解释补充了关于中国酒楼的问题,中国有一幢很高的豪华大楼,里面有一种用调味料调味的炖肉,里面不放粉丝,中国人一 般会说:“去吃高楼”,意思是去这所很出名的大酒楼吃饭,当泰国的中国人增多之后,泰国人就受到了中国人在饮食方面的影响,泰国人就习惯了“高楼”这个词。

นอกเหนือจาก “เกาเหลา” ที่ไม่มีในอาหารจีนแล้ว ยังมีชื่ออาหารจีนอีกชนิดที่คนไทยเรียกว่า “ปาท่องโก๋” ซึ่งในอาหารจีนมีปาท่องโก๋ ที่แตกต่างจากความเข้าใจของคนไทย
除了“高楼”不 存在在中餐之外,还有另一种中国菜,泰国人叫做“白糖糕”(油条),但是中国菜中的油条又是一种和泰国人理解不一样的食物。



“ปาท่องโก๋” สำหรับคนไทยที่เป็นลักษณะก้อนแป้งทอดสีน้ำตาลประกบคู่กัน รับประทานกับน้ำเต้าหู้ แต่คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมลักษณะนี้ว่า “อิ้วจาก๊วย” (油炸粿 โหยวจ๋ากั่ว) หมายถึงขนมทอดน้ำมัน ภาษาถิ่นของภาคใต้เรียกขนมทอดน้ำมันนี้ว่า จ้าโขย จาโขย หรือจากวย ภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงว่า เจียะโก้ย
泰国人的“油条”是一种两块连在一起棕色的炸面块,和豆浆一起搭配着吃,但是中国潮州人把这类食物叫做“油炸粿”,是指油炸的小吃,南方人将这类食物叫做“Cha Khoi”或“Cha Kuai”(炸糕?),福建话中的发音是“Chia Koi”。

ส่วน “ปาท่องโก๋” ความจริงแล้วมาจากภาษาจีนจากคำว่า 白糖糕 – ไป๋ถังเกา (ภาษาจีนถิ่นกวางตุ้งเรียกว่า “ปักถ่องโกว”) หมายถึง ขนมน้ำตาลขาว เป็นขนมทำจากแป้งข้าวเจ้าหมักกับยีสต์และน้ำตาลทรายหลายชั่วโมงก่อนจะนำไปนึ่ง ทำออกมาเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปทรงและหน้าตาคล้ายขนมถ้วยฟูต่างหาก
泰语中的油条是来自中文中的“白糖糕”,粤语为“Pak Thong Kou”,意思是白糖制成的点心,是一种用酵母和白糖发酵的面粉去蒸制,做成四边形的形状,形状和样子很像发糕。




所以油条的名称怎么变异成“白糖糕”的呢?下次大家可以试着点一碗高楼,再配上几根泰国油条哦!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。