说到泰国文化,很多人都认为它深受中华文化和印度文化的影响,事实也的确如此,古代泰国王国就接受了印度文化的洗礼,尤其是来自佛教和印度教的影响;近代由于华人移民的影响,很多中华文化也被带入了泰国。当代的泰国文化可以说是融合了多种元素的一个混合体,走在泰国的大街小巷,我们也经常能注意到印度和中华文化的踪影。今天,我们就来带大家去看看泰国在文化方面的多样性。



ความนำ
 


คนเราโดยทั่วไปมักมองว่าวัฒนธรรมใหญ่ๆ (เช่นจีนและอินเดีย) เป็นคนละเรื่องต่างหากไม่สัมพันธ์กัน ว่าโดยอุปมาวัฒนธรรมจีนเป็นต้นสน (หรือต้นหลิว) ขณะที่วัฒนธรรมอินเดียเป็นต้นทราย (หรือต้นชมพู่) จะประสานกันได้อย่างไร? ทรรศนะดังกล่าวมองข้ามประวัติศาสตร์ที่พระธรรมาจารย์จีนได้แปลพระคัมภีร์ในพุทธศาสนาเป็นจีนอย่างซื่อสัตย์สุจริตถี่ถ้วนจนคัมภีร์บางฉบับที่สาบสูญไปจากอินเดียสามารถแปลกลับเป็นภาษาสันสกฤตจากฉบับภาษาจีน
一般人可能都会认为向中国和印度这样的文化大国是没有关联的,将中国文化比喻成松树或柳树,将印度文化比作沙松树或者莲雾树,怎么可能产生关联呢?上述的观点忽 略了中国曾经有一位伟大的僧人将佛教经典完整忠实地翻译成了中文,甚至许多在印度已经消失的经文都可以通过中文版本翻译成梵语。

ในบทความนี้ ผมขอมองข้ามพุทธศาสนา (เพราะมีคนเขียนมากต่อมากอยู่แล้ว) แล้วหันมาพิจารณาศาสนา “ผีเทวดา” ที่ใครๆ มักมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมแบบ “ฮินดู” ที่ชาวจีนตามชายฝั่งทะเลใต้ (หนันยาง) มักนำมาใช้โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
在这篇文章中,我希望能够忽略佛教方面(因为已经有很多人研究了),将会把注意力放在很多人都忽略的“鬼神信仰”,尤其是通过南洋传入中国人有意或无意沿袭的一 些印度教习俗。

ที่ผมสนใจคือพฤติกรรมทางศาสนาของชาวจีน (หรือชาวไทยเชื้อสายจีน) ที่แหวกแนวพฤติกรรมจีนโดยทั่วไป เช่น เทศกาลกินเจที่เกาะภูเก็ต (และที่อื่นๆ) ที่มีการทรมานตนแทงแก้มลุยเพลิง พฤติกรรมแบบนี้อังกฤษเรียกว่า Ecstatic Behaviour ซึ่งผมยังหาคำไทยที่เหมาะสมไม่พบ (ขอเรียกว่า “โลดโผน” หรือ “นอกแนว” ไว้ก่อน)
我感兴趣的是泰国  人一些不同于传统中国文化的一些习俗,例如普吉岛和其他地方的斋节,人们会穿刺浴火来折磨自己的肉身,这样的行为被称为“癫狂行为”,泰语中目前还没有对应的词汇,或许可以被称为是“反常”或“非典型”。



ประเด็นของผมคือ ว่าโดยทั่วไปชาวจีนมีพฤติกรรมแบบ Ordered Behaviour ที่ “สำรวม” หรือ “อยู่ในกรอบ” เช่น มีการโค้งคำนับ ไม่มีการ “ลืมตัว” (Ecstasy) ในทางตรงกันข้าม Ecstatic Behaviour เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปในศาสนาฮินดูระดับชาวบ้านอินเดียใต้ หลักฐานเห็นได้ง่ายในงานเทศกาล Thai Pusam (บูชาเจ้ามุรุกันหรือพระขันธกุมาร) ในประเทศมลายู
我的观点是,世界上的中国人都非常懂得约束自己的言行,比如鞠躬、不忘本等等。相反,“癫狂行为”则是南印度印度教信徒们非常平常的举动,可以从马来西亚的 大宝森节(庆祝湿婆和雪山女神的幼子战神穆鲁干的生日)看到。

ทั้งนี้ชวนให้สงสัยว่า เทศกาลกินเจที่เกาะภูเก็ตเป็นวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมแท้? หรือได้รับอิทธิพลจากฮินดูสายทมิฬ? อนึ่ง การกินเจ ดูผิดวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมที่ย่อมไหว้เจ้าด้วยหมูและเป็ดไก่ต้มหรือย่างส่งกลิ่นหอม ดังนี้ถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งได้ไหมว่า เทศกาลกินเจที่ภูเก็ตอาจจะได้รับอิทธิพลฮินดู?
总而言之,这 让我们产生疑惑,普吉岛的斋节文化是传统的中华文化吗?还是受到了泰米尔印度文化的影响呢?另外,吃斋饭也和传统中国人用大鱼大肉祭拜祖先神灵的习惯不符。这是不是也是一项证明普吉岛的斋节可能是受到了印度教文化的影响?


วัดแขกถนนสีลม
 度庙 


“วัดแขก” เป็นชื่อชาวบ้านเรียกทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นวัด แต่เป็นศาลเจ้าหรือเทวสถาน และไม่ได้เป็นแขก (มุสลิม) แต่เป็นฮินดูที่ไทยแต่โบราณเรียกว่าเทศหรือพราหมณ์ พ่อค้าชาวทมิฬก่อตั้งศาลแห่งนี้ในรัชกาลที่ 5 เป็นที่สถิตของพระนางอุมา (ชายาพระอิศวร) ปางดุ ที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระนางกาลี” ใครไม่เชื่อให้สังเกตองค์พระประธาน ท่านมีรูปหญิงโฉมงาม พระพักตร์ยิ้มแย้ม แต่ถือเทพาวุธร้ายแรงและที่มุมปากยังมีเขี้ยวเห็นประจักษ์
“印度庙”是普通民众的叫法,尽管这个地方根本不是寺庙,而是神庙;而且也和穆斯林无关,而是古代在泰国生活的印度教教徒,称为เทศ/thet3/或พราหมณ์/phram1/,泰米尔商人在拉玛五世时期在这里建造了一所神庙,为的是纪念湿婆的妻子乌玛女神的,不信的人可以去好好观察一下供奉主神仙的神位,是一位面容秀 丽、面带微笑的女神,手中拿着凶猛的武器,并且还有獠牙。



ทมิฬเรียกพระนางว่า “มาริอัมมัน” แปลตามศัพท์ว่า “เจ้าแม่ห่า” ห่า ในที่นี้หมายถึงภยันตรายทั้งหลาย โดยเฉพาะโรคระบาดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฝีดาษ ดังนี้พระนางศรีมาริอัมมันก็คือเจ้าแม่ฝีดาษ หรือ Smallpox Mother และเป็นที่พึ่งของคนเดือดร้อน เป็นที่คุ้มครองภยันตรายและอำนวยความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จ
泰米尔人将 这位女神叫做“Mariamman”,字面意思是“灾难女神”,“ห่า”的意思是一切灾难,尤其是像天花一样的传染疾病。因此,乌玛女神也是天花女神,是深处困苦之中人的精神支柱,庇佑人们远离危险,获得财富和成功。

ประเด็นที่สำคัญคือ ที่ศาลเจ้าแห่งนี้มีคนศรัทธาเข้าไปบูชาเนืองแน่นทั้งวัน ใช่ว่าผู้มีศรัทธาเหล่านี้เป็นฮินดูทมิฬ แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านไทยเชื้อสายจีนในละแวกนั้นและจากที่ห่างไกลออกไปอีกด้วย ผมไม่มีตัวเลขแต่กะด้วยตาผมว่าราว 98% ของคนที่เดินออกมามีแต้มสีแดงประดับหน้าผาก นั้นไม่ใช่ “แขก” ที่ไหน หากเป็นคนไทย (จะเป็นเชื้อสายจีนหรือไม่ก็ตาม)
重要的一点是,这 座神庙一天到晚都有人进去祭拜,但是大部分的人都不是泰米尔印度人,而是在居住在附近和远处的泰国华人,我没有具体的数字,从那里走出去的98%的人都会在额头上点一个红点,他们不是印度人,而是泰国人(可能是泰国华人)。


ศาลเจ้าแม่ทับทิม
Silom路 水尾圣娘神庙


ศาลแห่งนี้เป็นที่ชาวจีนไหหลำก่อตั้ง มีลักษณะทางวัฒนธรรมเป็น “จีน” ล้วนๆ ที่ผมสนใจคือชื่อ “เจ้าแม่ทับทิม” ทั้งนี้เพราะคำทับทิม (เมล็ดผลไม้หรือเม็ดอัญมณี) มักใช้เป็นศัพท์หลีก (Euphemism) หมายถึงฝีดาษ ซึ่งในหลายภาษาเป็นศัพท์ต้องห้าม (Taboo Word) เป็นไปได้ไหมว่า เจ้าแม่ทับทิม เชิงสะพานซังฮี้ เป็นเจ้าแม่ฝีดาษ (Smallpox Mother) อีกพระองค์หนึ่ง?
这座神庙由海南 华人建造,是典型的中式建筑,我曾经对于“水尾圣娘”这个名字感到好奇。因为ทับทิม/thap4thim1/这个词(石榴或红宝石)一般用来代指天花,因为天花在很多语言中都属于禁忌词汇,可不可能在这里的“ทับทิม”指的也是天花呢?那“水尾圣娘”指代的也就是“天花女神”?



ผมไม่เคยเข้าไปศึกษาศาลเจ้าแห่งนี้ แต่ได้ยินแว่วๆ ว่าท่านได้รับการเซ่นบูชาด้วยตัวแพะ (จะเป็นแพะย่างหรือเชือดแพะเป็นๆ ไม่เป็นที่แจ้ง) อย่างไรก็ตามตัวแพะไม่ได้เป็นเครื่องเซ่น “ปกติ” ในวัฒนธรรมจีนโดยทั่วไป แต่ทำให้นึกถึงการบูชาเจ้าแม่กาลีด้วยเลือดแพะในเนปาลและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
我没有去研 究过这座神庙,但是隐约有听说这座神庙要用羊来祭拜(是烤羊还是现杀的羊还没有考证),无论如何,羊并不是中国人传统意义的祭祀品,这让我们想到了在尼泊尔和印度东北部用羊血来祭祀乌玛女神的习俗。


บทสรุป
 


ถ้าศึกษาวัฒนธรรมใหญ่ๆ ของโลกอย่างผิวเผินก็จะได้ภาพว่า แต่ละวัฒนธรรมโดดเดี่ยวคล้ายอยู่คนละโลก :- นี่คือ “จีน” นั่นคือ “อินเดีย” นี่คือ “ไทย” นั่นคือ “ฝรั่ง” แต่ถ้าศึกษารายละเอียด (ดังที่ผมพยายามทำในบทความนี้) ก็ย่อมเห็นว่ามี “ความเป็นมนุษย์” รองรับทุกวัฒนธรรมเสมอกัน (ทุกชาติทุกภาษาอยากอยู่ดี อยากหลีกภยันตราย และกลัวความตาย)
如果浅显地研究世界上一些比较大的文化会发现,各个文化之间是孤立的,中国是中国,印度是印度,泰国是泰国,西方是西方,但如果仔细研究一些细节的话就一定能 发现每个文化中都蕴含着同样的“人性”(每个国家每种语言都希望获得美好的事物,都希望躲避危险,都恐惧死亡)。

ดังนี้แต่ละวัฒนธรรมไม่ได้เป็น “องค์” เฉพาะของมัน หากเป็นเพียงภาคหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์และสามารถ “รั่วไหล” ประสมประสานกับภาคอื่นๆ ได้โดยไม่ขัดแย้งกัน ในบทความนี้ กรณีวัดแขกสีลมเป็นพยานว่า ไม่มีรั้วกั้นระหว่างวัฒนธรรม “ทมิฬ”, “ไทย” หรือ “จีน” กรณีงานกินเจที่ภูเก็ตและกรณีศาลเจ้าแม่ทับทิมยังเป็นปริศนาเพราะไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ และผมได้เพียงสันนิษฐานตามตาเห็นและหูฟัง
因此,各个文化并不是独立的个体,而是人类文化的组成部分,并且可以能相互融合,减少分歧。在这篇研究中,Silom路印度庙证明泰米尔、泰国和中国文化没有被阻隔。而普吉岛的斋节和水尾圣娘神庙还没有进行足够的研究,仍然是一个未解之谜,我也只是根据自己的所见所闻进行了推测。


你有留意过什么泰国文化里中国和印度的特色吗?

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。