学一门外语的时候,除了学习“我爱你”之外,很多小伙伴都对外语里骂人的用语都特别感兴趣,但往往这些知识在书本上都是找不到了。泰语里也同样存在着五花八门的骂人词汇,有些已经是古已有之,今天我们就来看看泰语中的骂人文化。


ในบรรดาวัฒนธรรมทั้งปวง ภาษาคืออีกหนึ่งเครื่องมือในหมวดการสื่อสารในสังคมมนุษย์ที่มีพัฒนาการยาวนานต่อเนื่องมากเป็นอันดับต้นๆ การให้ความหมายกับคำในแง่การสื่อสารรูปแบบต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกาลเวลา คำหนึ่งอาจถูกใช้งานรูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป คำเดียวกันนั้นอาจเปลี่ยนสถานะและความหมายไปก็ได้ ปฏิเสธได้ยากว่า วัฒนธรรมภาษาแบบไทยร่วมสมัยยุคนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน หากมองย้อนไปในอดีต วัฒนธรรมคำด่าในไทยล้วนแปรผันไปตามกาลเวลา มีทั้งคำใหม่ซึ่งจางหายไปตามกาลเวลา หรือคำใหม่ที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยสามัญชนตามยุคสมัย ไปจนถึงคำเก่าดั้งเดิมที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
在所有的文化当中,语言是人类社会之中一种不断发展的首选交流手段,各种词汇被赋予的涵义也随着时间的推移不断变化,一个词可能是一种含义,但当时间推移 ,同一个词可能会拥有不同的使用语境和涵义。我们不得不说,当代泰国的文化也是在不断变化发展的,如果回顾过去的话,泰语当中的辱骂词汇基本都在随着时间的变化而变化,既有新词产生,也有旧词消亡,还有一些新词被人们接受并收录,时至今日还有很多仍在使用的旧词。



เรื่องวัฒนธรรมคำด่านี้ องค์ บรรจุน นักเขียนผู้ศึกษาด้านวัฒนธรรมมอญเคยรวบรวมไว้ในบทความ “วัฒนธรรมคำด่า” เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน 2558 องค์ บรรจุน อธิบายเรื่องการใช้ภาษาของมนุษย์ไว้ว่า
关于辱骂词 汇这个问题,孟族文化的学者Ong Banchun  在《辱骂词文化》(在2015年《文化艺术》杂志4月版发表)一文中解释了人类语言的使用:

“มนุษย์ใช้การส่งสารผ่านวัจนภาษาและอวัจนภาษา เพื่อสื่อความปรารถนา ถ่ายทอดความรู้สึก แน่นอนว่าภาษาทั้ง 2 แบบมีลักษณะที่แสดงถึงความสบอารมณ์อยู่ด้วย ส่งผ่านข้อเขียนน้ำเสียงตลอดจนอากัปกิริยาสายตาท่าทางที่ต้องการสื่ออารมณ์เฉียบพลัน ท่ามกลางที่ประชุมชนของแต่ละชาติภาษาคงไม่ต้องการให้มีถ้อยคำหยาบคาย แต่คงไม่อาจเลี่ยงการมีอยู่ของคำเหล่านี้” บทความขององค์ บรรจุน ยกกรณีศึกษาเกี่ยวกับคำบริภาษหรือคำด่าของชนชาติมอญ อันเป็นการด่าให้แสบไส้อย่างมอญ ที่นับเป็นวัฒนธรรม (Way of Life) อย่างหนึ่ง
“为了达到所需的目的和表达感觉,人类通过口头语言和非口头语言的方式进行交流,这两种语言都有能够传递情绪的特点,通过语言文字和身体姿态来传达瞬息万变的情绪, 各个民族的人们可能不会使用一些粗俗的语言,但是却不能避免这些语言的存在。”在这篇论文当中, Ong Banchun 例举出了孟族的粗俗词汇或辱骂词汇的情况,这些词汇也体现了孟族人民生活的一部分。



ตามความคิดเห็นขององค์ บรรจุน เขามองว่า ทุกชนชาติย่อมมีคำบริภาษที่ทำให้ผู้ฟังไม่พอใจกันทุกชนชาติ ประเด็นสำคัญที่อยู่เบื้องหลังคือ ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงเชื่อว่ามันจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถเปลี่ยนถ่ายไฟอารมณ์โหมกระพือจากผู้ด่าไปคุโชนสุมรุมผู้ถูกด่าแทนได้ แม้ทุกชนชาติจะมีคำด่า อย่างไรก็ตาม องค์ บรรจุน ไม่เชื่อว่า หากนำคำด่าซึ่งคนชาติหนึ่งด่ากัน แล้วไปใช้ด่าคนอีกชาติหนึ่งจะให้ความรู้สึกเจ็บแสบอย่างเดียวกันได้ องค์ บรรจุน มองว่า
根据 Ong Banchun 的 观点,他认为每个民族一定存在着听了让人不舒服的词汇和语言,背后的重点是,这些用来骂人的词汇有着何种的重要意义?为什么选用这些词拿来当作伤害人、传递说话者愤怒情绪的语言?尽管每个民族都有辱骂 人的词汇,但是Ong Banchun不认为拿一种语言中辱骂人的词汇去辱骂另一个民族的人会获得一样的伤害,Ong Banchun 认为:

“แม้กระทั่งการเรียนรู้ภาษาอื่นในภายหลังที่ไม่ใช่ภาษาแม่ (MOTHER TONGUE) คนจำนวนมากก็มักจดจำคำด่าได้ก่อนคำศัพท์ประเภทอื่นโดยไม่ต้องผ่านการสอนอย่างเข้มงวด มิหนำซ้ำยังเรียนรู้ไว มีพัฒนาการ จนสามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตาม คำสุภาพหรือคำอย่างสามัญในยุคสมัยหนึ่ง ผู้คนอีกยุคสมัยหนึ่งก็อาจมองว่าไม่สุภาพได้ เช่น กู มึง”
“就算是在学习另一门非母语的 外语,相比较其他词汇,很多人也更容易记住那些用来骂人的词汇,甚至不需要严格的教授,而且学习还非常迅速,有发展,甚至是世代相传。无论如何,在一个时代中的礼貌用词或普通词汇在另一个时代中可能会被当作不礼貌的词汇,例如กู มึง。”




สำหรับคำด่าแบบไทยร่วมสมัยนิยมยกเอา “สัตว์” ไม่ประเสริฐหลายชนิดมาใช้เทียบเคียงในการด่ากัน ระดับการเจ็บแสบต่างกัน และบางคำยังผูกโยงกับเพศด้วย องค์ บรรจุน อธิบายไว้ว่า
Ong Banchun 解释到:现代泰国的骂人词 汇很喜欢将一些普通的动物拿来使用,造成的伤害值不同,有一些词汇还和性别有着紧密的联系。

“สำหรับเพศชาย ว่ากันตั้งแต่ “ควาย” สัตว์สี่เท้าช่วยงานมนุษย์ที่ไม่เคยขี้รดหัวใคร นอกจากเติมปุ๋ยข้าวกล้าในนาไร่ รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานที่นักธรรมชาติวิทยาระบุว่าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ “เหี้ย” อาศัยอยู่ แค่ชื่นชอบที่จะลากอาหารของคนอื่นไปกินในน้ำเท่านั้น หากเพศชายด้วยกันด่ากันเองก็มักมอบของส่วนตัวที่มีเหมือนๆ กันให้ไปดูต่างหน้า นั่นคือ “กล้วย” แต่ถ้าจะแฝงความหมายถึงความขลาดแล้วก็ต้อง “ไอ้หน้าตัวเมีย” ซึ่งคำนี้เองผู้ชายที่ถูกผู้ชายด้วยกันด่าก็จะเจ็บแสบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าคนด่าเป็นผู้หญิงแล้วจะถึงกับปวดแสบปวดร้อนเลยทีเดียว ทำนองเดียวกับ “แรด” หากผู้ชายด่าผู้หญิงระดับความแสบร้อนจะสูงกว่าผู้หญิงด่าผู้หญิงหรือผู้หญิงด่าผู้ชายทบเท่าทวีคูณ
“在男性方面,会被骂成是‘牛’这种四足动物,辛勤帮助人类工作,除了在田里施一点农家肥之外,并没有在谁头上拉屎;还会被说成是‘巨蜥’这种自然学家用来当作生态 环境富饶的标志动物,这种动物仅仅只是喜欢把别人的食物拖到水里吃掉罢了。如果是男性和男性之间的话就会用上和私处很像的“香蕉”这个词,但是如果想要暗含一点讽刺胆小的意味,就要用“娘娘腔”来骂人了,这个词如果是男性被男性骂就已经有些刺痛了,但如果是男性被女性骂,那么刺痛的程度就要增加百倍了,同样的“浪”这个词如果是男性骂女性,女性的受伤害程度绝对要比女性骂女性或女性骂男性来得更深。

ในเพศหญิง นิยมด่าคนที่สร้างความขุ่นเคืองเทียบกับดอกไม้ชั้นสูงที่ทำจากเหล่าสุวรรณกาญจนา นั่นคือ “ดอกทอง” หากเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอยู่คำหนึ่งนั่นคือ “สำเพ็ง” ถึงแม้จะเป็นย่านการค้าขายของคนจีน แต่ก็มีการทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงด้วย คนที่โดนด่าจึงเท่ากับถูกเปรียบเปรยว่าเป็นโสเภณี ติดตามมาด้วยคำด่ายุคเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความหมายคล้ายกันคือ “ช็อกการี” ส่วนคำที่ผู้หญิงนิยมด่าผู้หญิงด้วยกันรวมทั้งด่าผู้ชาย นั่นคือ “หน้า ห. สระอี”ความเจ็บแสบคงอยู่ที่การให้ความหมายแบบสะท้อนกลับ ในเมื่อ ห. สระอี เป็นของที่ผู้ชายโดยมากปรารถนา แต่กลับมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งนั้น เหมารวมถึง ประจำเดือน ตลอดจนผ้าถุงผู้หญิงเป็นของต่ำ ใครมีของดีของขลังเจอผ้าถุงหรือระดูของผู้หญิงเข้าก็ถึงกับเสื่อมถอย เมื่อผู้ชายเป็นคนตั้งมาตรฐาน ห. สระอี ให้ผู้หญิงเป็นของต่ำ ผู้หญิงก็เอาคำนี้ไว้ด่าผู้ชาย
在女性方面,很流行用一种非常名贵的花朵来骂令人恼怒的人,那就是‘金花’,如果是在曼谷王朝初期的话,还有一个词是‘สำเพ็ง’/sam5pheng1/,虽然是华人的商业区,但是也有一些 卖身的女性,被这么骂的女性就好比是被骂作妓女,后来受到西方文化的影响,还出现了用ช็อกการี/chɔ́k-gaa-rii/‘妓女’来辱骂女性。女性用来骂女性和男性的词汇大多都会用辅音ห. 和元音อี组成的那个词(意思是女性生殖器),这个词骂人的伤害来自它所反映的涵义,虽然女性的生殖器是男性所喜爱的,但是他们对女性却怀着相反的看法,例如月经和女性使用的月经布都是低贱的东西,一切好的神圣的东西接触到了这种低贱的东西就会马上都变得低贱,男性将辅音ห. 和元音อี组成的那个词拿来辱骂女性,女性也就以其人之道还治其人之身了。”



หากสำรวจในภาษาร่วมสมัย ไม่เพียงแค่การใช้คำเรียกชนิดของ “สัตว์” มาเป็นคำด่า แม้แต่คำว่า “สัตว์” ยังถูกใช้เป็นคำด่า “มนุษย์” ด้วยกันเอง สื่อสารความหมายในทำนอง “ด้อยค่า” บุคคลนั้นโดยนำ “มนุษย์” ที่ถือว่าเป็นสัตว์ซึ่งมีพัฒนาการทางกายภาพสามารถยืนและเคลื่อนไหวในลักษณะสันหลังตั้งฉากกับพื้นแล้ว อีกทั้งมีพัฒนาการทางสติปัญญาในระดับสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะด้วยเหตุผลได้ ไปเทียบเคียงกับ “ความเป็นสัตว์” ในแง่หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพด้วย “สัญชาติญาณ” เพื่อ “เอาตัวรอด”
如果关注现代泰语的话,不仅仅有各种动物的种类被用作骂人的词汇,就连“动物”这个词本身也是骂人的词汇之一,表达了一种“低贱”的涵义,人类被当作是进化 程度最高的动物,可以直立行走,在智慧上的进化程度也是最高的,可以进行思考和分析,相反,“动物”则被当作是只根据直觉和为了活着而生存的生物。

อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาและบริบทเปลี่ยนแปลงไป คำด่าบางคำกลับไม่ได้สื่อสารในแง่การด่าว่าผู้ฟังอีกแล้ว หากแต่กลายเป็นคำอุทาน หรือคำซึ่งทำหน้าที่ส่วนต่อขยายและถูกใช้เพื่อแสดงระดับความเข้มข้นด้านอารมณ์ของผู้ใช้คำมากกว่าใช้เพื่อบริภาษผู้อื่น ซึ่งในแง่นี้ ผู้ได้ยินคำคำนั้นกลับจะไม่ได้รู้สึกถูกกระทบกระทั่งด้วยซ้ำ ผู้ฟังย่อมรับรู้ความเข้มข้นของอารมณ์ผู้ใช้คำโดยขึ้นอยู่กับบริบทสถานการณ์ต่างๆ บางครั้งใช้เป็นคำด่า บางครั้งใช้อุทานแสดงอารมณ์ บางครั้งการใช้คำยังทำให้เกิด “ความรู้สึกแง่บวก” ร่วมกันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังก็ได้ด้วยซ้ำไป
无论如何,当时间和语境改变之后,很多骂人的词汇就丧失了原本骂人的涵义,而演变成了一种感叹词或者是一些用来传递说话者情绪程度的连接词。在这个方面 ,听到这些词汇的人就不会觉得自己在被辱骂,但是也能通过语境体会到语言想要传达的情绪,有时被用作辱骂词汇,有时被用作叹词表达情绪,有时的语言还可能会让说话者和听话者产生正面的情绪。



วัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ลักษณะสภาพสังคมในยุคนั้นได้ คำบริภาษภายใต้เจตนาแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะด่ากันแบบเจตนาด่าจริงๆ หรือใช้ “คำด่า” เพื่อเป็นตัวช่วย ส่วนขยายหรือยกระดับอารมณ์ขึ้น โดยไม่ได้มีเจตนาด่าตัวผู้ฟังจริงๆ แต่อย่างใด เหล่านี้ล้วนเป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมและลักษณะการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารของคนยุคนั้นได้
每个时代的文化都彰显了当时社会的特征,不管语言使用的目的是什么,真的在骂人也好,只是通过骂人的词汇来增强传达情绪,而不是真的在骂人,无论如何,这些都展示了文化的演变和当代人们语言交流的特点。


你学会的第一个泰语骂人的词是什么呢?来互相分享呀~อิอิ

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。