网络时代,每个人获取信息的方式都有所不同。大家平时都是从哪些渠道去阅览泰国相关的新闻的呢?或许你知道吗?泰国的第一份报纸是什么?它的创始人是谁?想要了解这段历史,就一起接着往下看吧!


ประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยจารึกไว้ว่า ผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรก ก็คือคนอเมริกันที่ชื่อ นายแพทย์แดเนียล บีช บรัดเลย์ ซึ่งได้ออกหนังสือพิมพ์ข่าวภาษาไทยในชื่อ“บางกอกรีคอเดอร์” ออกวางตลาดฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๓๘๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ปุ่นถึง ๑๗ ปี
泰国报纸历史中记载着,泰国第一份报纸的创始人是一位名为Dan Beach Bradley的美国人。拉玛三世时,Bradley于1844年7月4日出版了第一份泰文报纸,名为“The Bangkok Recorder”,这使得泰国比日本要早17年拥有报纸。

หมอบรัดเลย์ซึ่งเป็นมิชชันนารีอเมริกัน ได้สั่งแท่นจากสิงคโปร์มาตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่บ้านหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ ปากคลองบางหลวง งานพิมพ์แรกๆเป็นงานเผยแพร่ศาสนาและการแพทย์ ต่อมารับพิมพ์งานราชการโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจ้างพิมพ์ประกาศห้ามซื้อขายฝิ่นจำนวน ๙,๐๐๐ ฉบับ ซึ่งนับเป็นเอกสารทางราชการฉบับแรกที่ใช้วิธีพิมพ์แจกจ่ายประชาชน
Bradley是一位美国传教士,他从新加坡购入印刷机器,在泰国Bang Luang河口, Wichaiprasit Fort后建起了印刷厂。起初的印刷物主要是传播宗教和医学,之后也会印刷皇家刊物。拉玛三世雇用了印刷厂印刷9000份禁止买卖鸦片的告示,这算是第一份使用印刷的方式去印刷的皇家文件,派发给了百姓。



โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือออกมาวางขายด้วยหลายเล่ม เช่น วรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก จินดามณี ประวัติศาสตร์ กฎหมาย รวมทั้งซื้อลิขสิทธิ์ “นิราศลอนดอน” ของหม่อมราโชทัย มาจัดพิมพ์ งานเล่มสุดท้ายคือดิกชันนารีภาษาไทย ในชื่อ “อักขราภิธานศรับท์”
Bradley的印刷厂出版了刊物,例如:文学作品《三国》,《金达玛尼》(第一本泰国教科书),历史,法律。除此之外,还购买了Mom Rachotai所作的《伦敦记行事》版权,并将其印刷,最后一本印刷物是一本名为“อักขราภิธานศรับท์”的泰文字典。

ในปี ๒๓๙๘ หมอบรัดเลย์ซึ่งอยู่เมืองไทยมา ๒๐ ปี เขียนภาษาไทยได้คล่องแล้ว หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ “หนังสือพิมพ์” บ้าง ต่อมาคำว่า “หนังสือพิมพ์” ก็ได้รับการยอมรับจนมาถึงทุกวันนี้
1855年,在泰国居住了20年的Bradley已经可以熟练地写出泰文了。Bradley将他出版的报纸时而称作“档案”,时而称作“newspaper”,也偶尔使用泰文中“报纸”一词,后来,泰文“报纸”一词被大众认可,直到现在也都在广泛使用。

บางกอกรีคอเดอร์ภาษาไทยออกอยู่ไม่ถึงปีก็หยุด เอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษเป็นครั้งเป็นคราว แต่ในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๐๘ บางกอกรีคอเดอร์ได้ออกภาษาไทยอีกครั้งเป็นรายปักษ์ เสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื่องโดนฟ้องฐานหมิ่นประมาท
泰文版《The Bangkok Recorder》出版不到一年就停刊了,偶尔会与英文版合并发行。但在1865年3月1日,泰文版《The Bangkok Recorder》以半月刊的形式再一次发行,刊登一些国内外新闻、文章以及读者来信。这一次只发行了2年,就以诽谤罪被告上了法庭。



สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ ร.๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยืนดักรออยู่หน้าวังยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป
事情起源于泰国与法国殖民地在中南半岛的边界界定。在这个问题上,法国充当着狼的角色,在每件事上都努力地从羔羊那里获益。但是泰国国防大臣Chaophraya Sri Suriwongse不愿让步,法国领事Gabriel Aubaret感到十分恼怒,便启奏拉玛四世,希望拉玛四世卸去Chaophraya Sri Suriwongse在边界委员会的职位。然而拉玛四世并没有这样做,于是Aubaret就写了一份明文,站着守在宫前递送,同时威胁道,如果不按照他的意思去做,泰国和法国之间的友好关系一定会破裂,两国必然会发生战争。拉玛四世没有做出回答,径直走回宫中。

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ในบางกอกรีคอเดอร์ ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้
Bradley拿这件事刊登在《The Bangkok Recorder 》上,还发表看法,认为法国的做法违反了外交原则,还预先说不愿意国防大臣卸职,法国领事可能会努力地将这些话翻译成了国王折辱拿破仑皇帝的意思,可能被当做发动与泰国战争的借口。

การตีแผ่ของของบางกอกรีคอเดอร์ ทำให้กงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท
《The Bangkok Recorder 》对这件事的曝光使得法国领事不敢再对边界委员会霸道地使用自己的权力,但却以诽谤罪把Bradley告上了法庭。


(拉玛四世肖像)

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างสนับสนุนหมอบรัดเลย์ กงสุลอังกฤษเสนอตัวเป็นทนายให้ กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานให้หมอบรัดเลย์ ผลจึงปรากฏว่าหมอบรัดเลย์แพ้คดี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกัน และให้ประกาศขอขมาทูตฝรั่งเศสในบางกอกรีคอเดอร์ ซึ่งคนไทยและชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจ โดยหยุดออกบางกอกรีคอเดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา เพราะตอนนั้นเมืองไทยก็มีหนังสือพิมพ์อยู่ฉบับเดียว
对于这个案件,无论是泰国人还是在曼谷的法国人都支持Bradley,英国领事自荐为律师,美国领事为法官。但拉玛四世的旨意是不再给法国领事制造不快,所以就阻止了解事情经过的泰国官员去给Bradley充当证人。结果就是Bradley输了这场官司,罚款400美金,并在《The Bangkok Recorder》上请求法国领事的原谅。一些泰国人和外国人筹款,帮忙出罚款,至于登报道歉的事,Bradley停止了《The Bangkok Recorder》的发行,痛快地反驳了Aubaret,这样便不知要刊登在什么报纸上请求原谅了,因为当时的泰国也就只有一份报纸而已。

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญ เป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง
当这件事情平息下来后,拉玛四世给了 Bradley 2000美金,当做给内部朝臣的一笔治疗费,相信这也只是对于这件事的一个抚恤金而已。


这就是关于泰国第一份报纸的一段历史。

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自mgronline,图片来自网络,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。