当代社会的飞速发展,给成长中的青少年也带来了许多影响。现如今,“内卷”已经成为了一个热门话题,青少年在不同学习阶段中也经历着在学习生活上的“卷”。今天,我们一起去看看,泰国人是如何看待泰国青少年以及外国青少年之间的不同吧!

 


《禁忌女孩》剧照


การเติบโตของวัยรุ่นในยุคสมัยนี้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจในการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก ในเมื่อยุคสมัยของเราดำเนินมาถึงวันที่โลกทั้งใบสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้แล้ว แต่วิธีการคิดหรือการดำเนินชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่ของโลกก็ยังคงมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
现如今,青少年的成长是一件值得去关注的事情,同时也引发了许多讨论。我们已经来到了全球化的今天,但在每一片不同的土地上,人们想事情的方法与生活方式还是有非常大的不同。


ตั้งนั้นการเรียนรู้ถึงแก่นของวิธีคิดในตัวของบุคคลและในแต่ละท้องที่ จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาเอาไว้ในการประยุกต์ใช้กับชีวิตของคนทุกคน ทุกคนทุกคนนั้นก็ล้วนเป็นเสมือนฟันเฟืองหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สังคมเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าได้
所以,去了解每个人及每个地方的思考方式的核心,才值得学习并运用到每个人的人生中,因为所有人都像是一个齿轮,推动着社会往前发展。


หากเปรียบเทียบด้วยวิธีการเติบโตขึ้นมา อย่างง่าย ๆ เป็นเด็กไทยกับเด็กต่างชาติฝั่งตะวันตก ก็อาจจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
只是简单地对泰国孩子与西方国家孩子的成长方式进行比较,也许就会使我们看得更清楚。

 


Kob-Brook-Nada-Nadol 一家


ในประเด็นข้อแรกที่น่าสนใจคือประเด็นในการเติบโตในครอบครัว
第一点值得关注的就是,家庭成长


บรรทัดฐานการเลี้ยงดูลูกในทางฝั่งตะวันตกนั้น จะค่อนข้างมีความเป็นอิสระสูงในเรื่องการแสดงออกทั้งทางกายภาพและทางความคิด ทำให้เด็กทางฝั่งตะวันตกมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก
西方国家对孩子的培养,在肢体表达与思想表达上都十分自由,所以西方国家的孩子都有着高度自我。


ส่วนทางประเทศไทย ครอบครัวจะค่อนข้างมีบทบาทสำรัญต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก ในการกำหนดบทบาทของเด็กคนหนึ่ง รวมไปถึงกรอบทางด้านวัฒนธรรม จริยธรรมต่าง ๆ ที่จะหล่อหลอมเด็กให้เติบโตขึ้นมา
而在泰国,家庭在孩子人生中充当的角色就十分重要,包括去设立孩子角色的行为、各种文化礼教的框架,这些都在感染着孩子,使其成长。

 


Chompoo Araya 的孩子:Saifah(闪电)和Bhayu(风暴)


ประเด็นที่สองคือเรื่องของมาตรฐานการศึกษา
第二点,教育标准


การศึกษาทางฝั่งตะวันตกมีความเปิดกว้างทางการเรียนการสอน รวมไปถึงการกำหนดชั่วโมงเรียนที่น้อยกว่าประเทศไทย แทบจะเรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่งเลย ดังนั้นเด็กในประเทศฝั่งตะวันตกจะมีเวลาที่ว่างจากการนั่งอยู่ในห้องเรียนออกไปเรียนรู้การใช้ชีวิต การเข้าสังคม รวมไปถึงการค้นหาตัวของตัวเองอีกด้วย
西方教育在教学上具有开放性,较泰国来说,上课时间也比较少,可以说(上课与其他时间)为一半对一半。所以西方的孩子就会拥有走出课堂的时间,利用这个时间去体验生活、走进社会,包括寻找自我。


ในประเทศไทย มีระบบการศึกษาที่ค่อนข้างเคร่งครัดต่อตัวเด็ก รวมไปถึงบรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นในรูปแบบของการแข่งขันจัดลำดับ ตั้งแต่การแบ่งห้องคิงไปจนถึงห้องบ๊วย และจัดอันดับเด็กที่เรียนเก่งที่สุดไปจนถึงอ่อนที่สุด ทำให้เด็กบางคนอาจจะสูญเสียศักยภาพในด้านอื่น ๆ ไป เพราะมัวแต่จะต้องก้มหน้าก้มตาทำในสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่ตนเองต้องการ
而泰国的教育制度对孩子来说却比较严格,包括竞争、排名形式营造的教学氛围,这种竞争形式包括从尖子班到差生班的分班,以及学习成绩的排名,导致有些孩子失去了发掘在其他方面潜力的机会,因为只顾着埋头做一些对自身而言不必要的事情。


รวมไปถึงชั่วโมงการเรียนที่ตกวันละ 8 ชั่วโมง ที่เด็กจะต้องก้มหน้าก้มตาอยู่แต่กับตำราทำให้เด็กมีชั่วโมงน้อยมากที่จะใช้เวลากับตัวเอง
还有一天8小时的学习时间。在这段时间里,孩子们必须埋进课本中,使得他们没有什么个人时间。

 


《禁忌女孩》剧照


และในประเด็นสุดท้ายประเด็นที่สามคือเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคม
第三点,社会文化


ในประเทศฝั่งตะวันตก ค่อนข้างจะมีแนวคิดในรูปแบบของความเป็น Detachment ที่ทำให้ทุกคนจะต้องขวนขวายนำพาตัวเองเพื่อพัฒนาศักยภาพของตน จึงเกิดการพัฒนาของสังคมขึ้นอย่างรวดเร็ว
西方国家有着“超脱”的观念,这种观念让每个人都努力地发展自己的潜力,使得社会也迅速地发展起来。


ในขณะที่ประเทศไทยมีความเป็นกึ่ง Detachment และ Commitment ที่โดยความเป็นจริงแล้วก็ค่อนข้างไม่มีความชัดเจนในเรื่องการใช้ชีวิตส่วนบุคคล จึงส่งผลต่อภาพรวมของระบบสังคมที่เป็นอยู่ให้มีระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีการพูดถึง เกิดเป็นสังคมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาในระดับตัวบุคคลให้เกิดศักยภาพสูงสุดขึ้นมา
而泰国的一半“超脱”与一半“奉献”,其实,这在个人的生活上区分得并不是很清楚,导致本来的社会体系悄无声息地产生了资助体系,并成为了不为个人充分发展自身潜力提供帮助的社会。

 


《禁忌女孩》剧照


ในสามประเด็นที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างในระดับพื้นฐานที่เกิดขึ้นโดยสังเกตได้ในชีวิตประจำวัน แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วก็ยังมีมุมมองในเชิงลึกลงไปกว่านั้นอีก ในเรื่องอุปนิสัยของวัยรุ่นประเทศไทยกับต่างชาติที่ทำให้ทัศนคติ มุมมองการใช้ชีวิต และการมีบทบาทต่อสังคมของวัยรุ่นในแต่ละมุมของโลกแตกต่างกัน
以上提到的三点只是在观察日常生活中产生的简单例子,在泰国青少年与国外青少年的秉性问题上,世界各地的青少年对生活的态度观点、对社会的作用都不一样,实际上还有比上述那三点更深的视角。


แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามวัยรุ่นไม่ว่าจะในต่างชาติหรือในไทยก็ล้วนแล้วแต่มีข้อดีหรือข้อเสียที่แตกต่างกันไป และเป็นเหมือนกับภาพสะท้อนของสังคมนั้น ๆ นั่นเอง
但无论如何,无论是哪国的青少年,都有不同的优点和缺点,都像是反应社会现象而已。

 


Lydia Sarunrat 的孩子:Demi Deane


最后,希望每位宝宝和青少年都可以快乐成长,好好学习天天向上哦!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自line today,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。