很多人都说泰国人没有存钱的习惯,这样的说法未免太过片面了,但是在中国街头基本绝迹的当铺,在今日的泰国依然能够见到。许多人在孩子需要交学费和家中急需大额开支的时候,依然会走入当铺以物易钱,可以说是江湖救急之必备!今天就和泰语君一起了解下泰国当铺的前世今生吧~


การรับจำนำนั้นเชื่อว่ามีมาแต่สมัยโบราณ จะเริ่มมีขึ้นในสมัยไหนนั้นยากที่จะสืบค้นหรือระบุได้แน่ชัด แต่การรับจำนำมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วอย่างแน่นอน ดังที่ปรากฏการรับจำนำในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชกำหนดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2284 ว่ามิให้จำนำสิ่งของในเวลากลางคืน ดังความว่า
典当一俗自古便有,它究竟起源于何时,这一问题却很难清楚地追溯,但早在阿育陀耶王朝时期就已明确出现了典当之俗,根据波隆摩阁王在位时的相关资料,佛历2284年,国王陛下亲自下诏设立了典当机构,并诏令不允许在夜间典当物品。



“ถ้าผู้ใดต้องการเงิน จะเอาสิ่งรูปพรรณ ทอง นาก เงินและเครื่องทองเหลือง ทองขาว ดีบุก ผ้าแพรพรรณนุ่งห่มและเครื่องศาลตราวุธ ช้าง ม้า ทั้งโคแลกระบือมาขายและจำนำนั้น ให้เอาไปขายแลจำนำแก่กันในเวลากลางวัน ถ้าจะซื้อขายกันในเวลากลางคืนนั้น ก็ให้ซื้อกันแต่เครื่องกับข้าวของกิน และสิ่งของเอามาขายมาว่าทำเวลากลางวันนั้น ถ้าแลเป็นรูปพรรณเก่าใหม่ ผู้ซื้อผู้รับจำนำ เป็นคนรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่ก่อน เห็นสมควรจะเป็นของผู้นั้น ๆ ก็ให้ซื้อให้จำนำกันเถิด”
“如果有谁需要钱,便可拿上金银饰品、黄金、铜合金、银、黄铜制品、白金、锡、彩丝服装,武器,大象、马、牛等物品来出售或典当,需在白天完成交易,如果在夜晚交易,只允许交易吃食。白天拿来交易的物品,如果看清了金银首饰的新旧程度,买方或接受典当的一方也是此前认识的熟人,觉得合适便可进行交易。”


(当铺~)

การรับจำนำในสมัยนั้นยังมิได้ตั้งเป็นโรงหรือสถานที่สำหรับการรับจำนำโดยเฉพาะ คงจะกระทำกันตามบ้านเรือนหรือสถานที่นัดพบกันเท่านั้น ในยุคต่อมาจึงคิดตั้งโรงรับจำนำขึ้นเป็นการเฉพาะ โรงรับจํานําที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2409 ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยคนจีนชื่อว่า “เจ๊กฮง” หรือ “จีนฮง” ตั้งโรงรับจำนำขึ้นเป็นแห่งแรกบริเวณประตูผี หรือสี่แยกสำราญราษฎร์ในปัจจุบัน มีชื่อว่าโรงรับจำนำ “ย่องเซี้ยง”
那个时代的典当交易还没有设立专门的场所,也许只是在买卖双方家中或约好的地点进行交易。在此之后才有了专门进行典当交易的场所,泰国首次设立专门的当铺是在佛历2409年,拉玛四世时期,一位名叫“郑洪”或“金洪”的中国人开了全泰第一家当铺,地点在鬼门,也就是今日的Samran Rat路口附近,名为“永兴当”。


(一个繁体的“当”字好生显眼)

ในช่วงแรกที่เปิดโรงรับจำนำ มีผู้ไปจำนำของอยู่เพียงไม่กี่คน แต่ด้วยความเฉลียวฉลาดและมีหัวในทางค้าขายของจีนฮง เขาจึงคิดใช้วิธีกำหนดดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าทั่วไปครึ่งหนึ่ง และล่อใจด้วยการรับจำนำของในราคาสูง แม้บางครั้งของที่รับจำนำจะเป็นของที่ไม่ค่อยจะดีหรือไม่ค่อยมีราคา แต่หากเห็นว่าพอจะมีกำไรบ้างเล็กน้อย จีนฮงก็จะรับจำนำไว้ ไม่ให้ผู้ที่มาจำนำต้องผิดหวังกลับไป ด้วยการบริการที่ดี ดอกเบี้ยถูกกว่าเจ้าอื่น สถานที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องไปจำนำกันเองตามบ้านเรือนอีกต่อไป นี่จึงทำให้กิจการโรงรับจำนำของจีนฮงรุ่งเรืองและเป็นที่นิยมมาก
当铺刚开业的时候,来典当东西的客人根本没几个,但在掌柜金洪的生意头脑和精心经营下,他最终想出了一招,便是将利息设得比通常情况下少一半,而且用高价收典商品以笼络人心,尽管有些时候收来的物品不一定是精品或极具价值,但哪怕有些许微薄的利润,金洪大掌柜都会将其收典而来,不让来典当的顾客失望而归。由于服务上乘、利益低于他人,且有着固定的经营地点,不用逐个跟随至客人家中进行交易,金洪的当铺生意日益红火起来。

จีนฮงยังได้คิดทำบัญชีเล่มหนึ่งขึ้น สำหรับจดวันที่รับจำนำและรายละเอียดสิ่งของที่จำนำ พร้อมทั้งมีตั๋วประทับตรายี่ห้อให้ไว้แก่ผู้จำนำด้วย เพื่อจะได้เป็นหลักฐานแก่ทั้งสองฝ่าย ป้องกันการหลงลืมและการคดโกง ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็กำหนดลงไว้ในตั๋วที่ให้แก่ผู้จำนำไป โดยมีข้อสัญญาชัดเจน ดังปรากฏในตั๋วว่า “ถ้าผู้ใดไม่ส่งดอกเบี้ยในเดือนไหน ของผู้นั้นก็เป็นหลุด จะขายเสียเมื่อไหร่ก็ได้”
金洪还想出设置一种账本,记录下收典物品的日期及其细节,同时还给前来典当的客人盖了品牌印章的票据,来作为双方交易的凭证,以防日后记混淆或偷奸耍滑的现象,至于利息等级也一并写于交给顾客的凭据上,双方交易约规清楚明了,就如票据上写的“如果有谁哪个月没有按时送交利息,该人的物品将收归当铺,当铺有权在任何时间出售该物。”

หลังจากกิจการจีนฮงประสบความสำเร็จ จนอาจสร้างผลประโยชน์มหาศาล ทำให้มีการตั้งโรงรับจำนำผุดขึ้นมากมายเอาอย่างจีนฮงบ้าง เพราะการตั้งโรงรับจำนำในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายควบคุม ใครอยากตั้งก็ตั้งได้ ไม่ต้องมีการขออนุญาต และยังไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตาม เจ้าของโรงรับจำนำโดยส่วนมากแล้วเป็นคนจีน มีทั้งคนจีนที่มีฐานะดี หรือหากมีฐานะปานกลางก็จะรวบรวมกันเป็นกลุ่มเอาเงินมารวมกันตั้งโรงรับจำนำ แล้วเพราะเหตุใด คนไทยถึงไม่นิยมตั้งโรงรับจำนำ? 
在金洪的生意大获成功后,可以说是赚得盆满钵满,使得像金洪那样的当铺数量剧增,因为那时开当铺还没有受到相关法律的管控,谁人想开便能开,不需要经过政府允许,同时也不需要上税。无论如何,大部分的当铺店主是中国人,既有显贵之人,也有身份地位一般者,这类人往往多人搭伙集资来开设当铺。 


(今日泰国的当铺)

กิจการโรงรับจำนำรุ่งเรืองขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ในราว พ.ศ. 2433 ปรากฏว่ามีโรงรับจำนำในกรุงเทพฯ กว่า 200 โรง รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่ากิจการโรงรับจำนำมีทั้งคุณและโทษ ส่วนที่มีคุณ คือ ชาวบ้านที่ขัดสนเงินทุนที่จะนำมาหากินเลี้ยงชีพ ย่อมเอาทรัพย์สินไปจำนำเพื่อนำเงินไปทำทุนโดยง่าย แต่ส่วนที่มีโทษ คือ ชาวบ้านผู้มีสันดานทุจริตไม่ได้ทำมาหากินเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ทำการปล้นชิงวิ่งราวเอาทรัพย์สินผู้อื่นมาแล้วนำไปจำนำได้เงินมาโดยสะดวก จึงเป็นช่องทางให้โจรผู้ร้ายก่อการกำเริบ แต่จะเลิกหรือห้ามตั้งโรงรับจำนำนั้นก็จะเป็นการเดือดร้อนแก่ชาวบ้านที่หากินเลี้ยงชีพโดยสุจริต ด้วยเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ. 114 ตรงกับ พ.ศ. 2438
当铺行业不断发展壮大,直至佛历2433年拉玛五世时期,曼谷已有超200余家当铺,拉玛五世国王发现当铺行业有功也有过,其中“有功”的一面在于,缺少本钱的百姓可以通过当铺安身立命,将财物拿去当了便很容易获得做生意的本钱。但“有过”的一面则是,一些狡猾之人没有依照正当用途拿这些钱来安家谋生,而是抢来他人财物拿来抵押从而轻易地赚到钱,当铺也因此成为盗贼强人滋生的渠道。但关闭或禁止开设店铺又会让老实的、只想养家糊口的百姓发愁,出于这个原因,佛历2438年,即皇历114年,国王御赐法令管理当铺行业。

กระทั่งในปีต่อมา นายเล็ก โทณะวณิก ได้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำที่มีชื่อว่า “ฮั่วเส็ง” ขึ้น โดยตั้งที่ตำบลบ้านหม้อ ถนนพาหุรัด ดังนั้น โรงรับจำนำฮั่วเส็งจึงถือว่าเป็นโรงรับจำนำที่ถูกกฎหมายแห่งแรกของประเทศ โดยเปิดกิจการเรื่อยมานับแต่นั้น กระทั่งเลิกกิจการไปเมื่อถูกลูกระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 
第二年,Lek Donavanik 先生获准政府允许开设了“华兴当”,当铺位于Ban Mo,Phahurat街上,因而华兴当被视为全国第一家经过法律允准开设的当铺,之后这家当铺就一直在稳定经营中,直到第二次世界大战期间被手榴弹炸毁。

หลังจากตั้งโรงรับจำนำฮั่วเส็งขึ้นมานั้น จึงเริ่มมีคนจีนขออนุญาตจัดตั้งโรงรับจำนำเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติโรงรับจำนำเพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัย โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2480 มีสาระสำคัญ คือ การอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำจะต้องทำโดยการประมูล กำหนดระยะดำเนินงานคราวละ 5 ปี และกำหนดอัตราดอกเบี้ยเสียใหม่
在华兴当设立之后,渐渐地也有更多中国人获得政府允许开设当铺,直到佛历2475年政府变动, 国会法令对当铺进行了政策调整,使其更符合时代需要,佛历2480年,在国会法令的助推下当铺开始革新,重点在于,开设当铺必须有许可,并设置执业许可的期限为五年,同时修订了利率。

ใน พ.ศ. 2498 มีโรงรับจำนำเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น 69 โรง แต่วงเงินที่นำออกบริการรับจำนำมีอยู่อย่างจำกัด ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี มิหนำซ้ำโรงรับจำนำบางแห่งยังเลี่ยงกฎหมาย คิดค่าบริการเพิ่มเติมซึ่งสร้างภาระให้กับชาวบ้านมากขึ้น ดังนั้น ในปีดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ตั้ง “โรงรับจำนำของรัฐ” ขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกัน 2 โรง คือ ที่บริเวณเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ โรงหนึ่ง และต้นถนนเทอดไทยอีกโรงหนึ่ง
佛历2498年,曼谷有当铺69家,但能够拿出来用于服务顾客的资金规模还十分有限,与百姓每年都在增长的需求不相符,而且部分当铺依然在逃避法律规制,服务费用的增加给百姓带来了更加沉重的负担。因此,在这一年内,政府首次设置了两家“政府官方当铺”,一家在纪念桥附近,另一家在Thoet Thai街上。


不得不说泰国华裔真有商业头脑,能够想出各种超前的点子让生意越来越好,佩服佩服!当铺虽是三百六十行中小小的一行,却也能够折射数百年来的社会发展哦~

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。