说起罗勒,对泰国美食熟悉的朋友一定不陌生,它可是经常出现在泰国人餐桌上的食物,每每泰国人不知道吃什么的时候,就会用罗勒叶配上猪肉、牛肉、鸡肉炒个米饭。但很多人不知道的是,在印度,罗勒叶其实是一种非常神圣的东西,可不是用来调味的菜品。同一种东西怎么差别会这么大呢?快来看看吧!


กะเพรา (Holy basil) เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกง่าย มีกลิ่นฉุนเป็นเอกลักษณ์ ลำต้นมีกิ่งก้านสาขามากมาย และเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยขับลม เช่นเดียวกันกับโหระพา (Sweet Basil) ในทางชีววิทยานับว่าพืชทั้งสองชนิดนี้อยู่ในสกุลเดียวกัน คือพืชสกุลโหระพา หรือ Ocimum สกุลนี้ในไทยมี 4 ชนิดคือ โหระพา, แมงลัก, กะเพรา และ โหระพาช้าง
罗勒(Holy basil)是一种非常容易种植的草本植物,有着独特的香味,植株上有非常多分枝,和九层塔一样,是一种可祛风的草药,在生物学中会将罗勒和九层塔划分为罗勒属,在泰国的罗勒属植物共有四种,分别是九层塔、柠檬罗勒、罗勒和丁香罗勒。


ชื่อวิทยาศาสตร์ของกะเพราคือ Ocimum tenuiflorum ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพาคือ Ocimum basilicum (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535)
罗勒的学名 叫做Ocimum tenuiflorum,九层塔的学名叫做Ocimum basilicum(玛希隆大学药物学院,1992)。




กะเพรา และ โหระพา มีลักษณะแตกต่างกันอยู่บ้าง กลิ่นของกะเพราจะ “ฉุน” กว่า ลักษณะของกะเพรามีขนซึ่งต่างจากโหระพาที่ไม่มีขน ทั้งนี้ยังมีลักษณะแยกย่อยลงไปอีกซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ของทั้งกะเพราและโหระพาด้วย
罗勒和九层塔 存在一些差别,罗勒的香气更加浓郁,罗勒上有毛,但是九层塔上没有。另外,还有一些更小的差别,取决于罗勒和九层塔的种类。

ความเหมือนกันของพืชทั้งสองชนิดในไทยอีกประการคือ นิยมนำมาประกอบอาหาร และไม่ได้เป็นที่นิยมเฉพาะในประเทศไทยหรือในทวีปเอเชียเพียงอย่างเดียว เพราะด้วยรสชาติที่เข้ากันได้กับหลายเมนูและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ทั้งกะเพราและโหระพาถูกนำไปเป็นส่วนประกอบในหลากหลายเมนูทั่วโลก โดยเฉพาะโหระพาที่มักพบเห็นทั่วไปในอาหารอิตาเลียน และยังเป็นพืชพรรณในระดับโลกซึ่งบางกลุ่มยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งสมุนไพร”
这两种植物的另一个共同点就是,不仅在泰国或亚洲国家,都被广泛运用于烹饪之中,它们容易和其他食品味道契合,且自身具有独特的香气使它们成为了世界上很多 菜品的配料,尤其是在意大利菜中能经常看到,还成为了世界级的植物食材,有些人甚至将它推崇为“草药之王”。




ความเหมือนกันของพืชสกุลเดียวกันทั้งสองชนิดนี้อีกแง่มุมคือ ความเชื่อทางคติชนเกี่ยวกับพืชทั้งสองชนิดนี้ในพื้นถิ่นต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป
这两种同属的植物有另一方面的相同点,就是都存在于在欧洲和亚洲的民间传说中。


เริ่มต้นที่กะเพรา จัดเป็นพืชเก่าแก่ บางรายสันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหลายพันปีที่แล้ว โดยในวัฒนธรรมแบบฮินดูจะถือว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาในศาสนาฮินดูแถบประเทศอินเดียและเนปาล
先从罗勒开始,这是一种古老的植物,有人推测它在几千年前的印度就已经存在了,在印度教文化中,将罗勒视为神圣的植物,在印度和尼泊尔的印度教文化中都会祭 拜罗勒。

ตัวอย่างหนึ่งคือในเอกสารคัมภีร์ปุราณะ (Purana) ส่วน “เทวีภาควัต” (Devi-Bhagavata Purana)ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวฮินดู กะเพราเป็นร่างอวตารร่างหนึ่งของพระนางลักษมี ผู้เป็นพระชายาของพระวิษณุ ซึ่งพระวิษณุถือว่าเป็นหนึ่งในองค์เทพสูงสุดของศาสนาฮินดู ดังนั้นชาวฮินดูจึงถือว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์และมักนำไปใช้ในเชิงพิธีกรรมหรือในเชิงสมุนไพรมากกว่า ไม่ได้นิยมนำมาใช้รับประทานกันมากนักเหมือนที่อื่น
例如在印度往世书-天女世尊往世书中记载:根据印度教教徒的原始信仰,罗勒是毗湿奴妻子吉祥天女的一个化身,毗湿奴是印度教中最高等级的神仙之一,因此,印度教信徒就将 罗勒视为神圣的东西,会在各种仪式中使用,或是更多的用做草药,而不像其他地方一样会食用罗勒。

นอกจากนี้ชาวฮินดูยังเชื่อว่า หากปลูกต้นกะเพราไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปได้ อีกทั้งกะเพรายังเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมอื่นๆ เช่น พิธีในงานศพตามวัฒนธรรมของชาวฮินดู อีกด้วย
除此之外,印度教信 徒还认为如果在住宅周围种植罗勒,可以驱赶走不好的东西。罗勒也是非常神圣的植物,常被用于各种仪式,例如印度教徒的葬礼等等。




แต่ไม่ใช่แค่กะเพราเท่านั้นที่มีความเชื่อในลักษณะเช่นนี้ หากเดินทางไปยังแถบตะวันตกในดินแดนทางตอนใต้ของทวีปยุโรป จะพบว่ามีความเชื่อทางคติชนในทำนองเดียวกันนี้กับโหระพา ซึ่งเป็นพืชสกุลเดียวกันกับกะเพรา
但不仅仅是罗勒拥 有这样的信仰,如果去到欧洲大陆的南部,就会发现那里有很多关于和罗勒同属一类的九层塔的信仰。


มีข้อสันนิษฐานว่า โหระพาค่อยๆ แพร่กระจายจากอินเดีย กระทั่งถูกนำเข้ามายังโลกตะวันตกโดยพ่อค้าเครื่องเทศ ตามรายทางอย่างอิหร่าน และอียิปต์ ก็มีปรากฏความเชื่อเกี่ยวกับคุณค่าของพืชชนิดนี้ในทางสมุนไพรด้วย แต่บ้างก็ว่าเป็นชาวยุโรปพบจากการสำรวจดินแดนในยุคของอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์คนสำคัญในสมัยกรีกโบราณ และเป็นผู้ติดตามของอเล็กซานเดอร์มหาราชนำกลับมาที่กรีก แต่ไม่มีข้อมูลที่พอจะยืนยันข้อสันนิษฐานได้อย่างแน่ชัด
据推测,九层塔是通过香料商人慢慢从印度被带到西方世界的,途径伊朗和埃及,在这两个地方也发现了人们相信这种植物有草药的价值,但也有人说九层塔是欧洲人在古希腊著名国王 亚历山大大帝期间探索大陆时发现的,由亚历山大大帝的追随者带回古希腊,但是并没有发现明确的证据支撑这一种猜测。

หรือบางแห่งอ้างอิงเอกสารโบราณในยุค 807 A.D. ว่ามีใช้โหระพาในพื้นที่ Hunan ของจีน
有些人通过考察公元807年的古代典籍发现,中国湖南有使用到九层塔。




เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในเชิงภาษา มีข้อมูลบางแห่งเชื่อว่า Basil มีรากมาจากภาษากรีก โดย Theophrastus นักปรัชญากรีกยุคโบราณเอ่ยว่า Basilikos หมายถึง สมุนไพรที่คู่ควรกับกษัตริย์ โดยชาวกรีก-โรมันเชื่อว่า โหระพาเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ที่มีไว้เพื่อสักการะบูชาเทพ
当研究汉语资料时,发 现有很多地方都有Basil这个词,它来自古希腊语,由当时古希腊著名的哲学家泰奥弗拉斯托斯取名为Basilikos ,意思是与国王相匹配的草药,希腊-罗马人相信,九层塔是专门用来祭拜神仙的植物。

นอกจากนี้ การเก็บเกี่ยวโหระพาก็ไม่สามารถทำได้อย่างทันทีทันใด เช่นเดียวกันกับชาว Gauls (หนึ่งในกลุ่มชนร่วมสมัยกับอารยธรรมกรีกโบราณ) ที่จะต้องยึดธรรมเนียมข้อปฏิบัติคือ ผู้เก็บโหระพาจะต้องอยู่ห่างจากผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ตามความเชื่อของคนยุคก่อน (เช่น สตรีที่มีประจำเดือน) ต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด ต้องล้างมือจากน้ำพุสามแห่งก่อนทำการเก็บเกี่ยว และไม่ใช้เครื่องมือโลหะ เพราะเชื่อว่าการใช้เครื่องมือโลหะตัดโหระพาจะลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ลง
除此之外,九层塔的收割也不是能随随便便就能完成的,比如和古希腊文明处于同一时代的高卢人,他们坚守着这样的原则,根据原始信仰收割九层塔的人要远离不洁净的人(例如经期内的妇女),他们必须身穿干净的衣服,在收割前需要用三处泉水洗净双手,不可以使用金属工具,因为他们相信如果使用金属工具收割九层塔 会影响九层塔的神圣性。

ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีความเชื่อของชาวคริสเตียนในสมัยนั้นที่เชื่อว่าโหระพาเป็นพืชขึ้นอยู่บริเวณหลุมฝังศพของพระเยซูคริสต์ ดังนั้นโหระพาจึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการไว้ทุกข์ที่ชาวคริสต์ในสมัยก่อนจะนำมาวางไว้บนหลุมฝังศพ อีกทั้งนักบวชในยุคนั้นยังนำโหระพาจุ่มลงในน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อขับไล่ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
不止如此,当时 的基督教徒也认为九层塔生长在耶稣墓葬的附近,所以当时九层塔就被人们用来放置在耶稣的陵墓上以表达对耶稣的悼念,另外,当时的神父还将九层塔浸泡在圣水中用来驱赶邪恶的东西。



ความเกี่ยวข้องกันทางคติชนของกะเพราในเอเชีย และโหระพาในยุโรป ไม่ได้มีแค่เรื่องพิธีกรรมในงานศพ หรือ การขับไล่สิ่งชั่วร้ายเท่านั้น โดยเรื่องนี้ Frederick Simmons ได้นำเสนอไว้ในหนังสือ Plants of life, Plants of death (1998) ถึงความเกี่ยวข้องกันในเรื่องการแต่งงานด้วยเช่นเดียวกัน โดยระบุว่า หญิงสาวในอินเดียบางพื้นที่จะสักการะบูชาต้นกะเพรา เพื่อขอให้เธอได้พบเจอกับสามีที่ดีในอนาคต
亚洲关于罗勒的 传说、欧洲关于九层塔的传说,不仅仅是用在葬礼的圣物和用来驱赶邪恶东西,关于这件事Frederick Simmons 在《Plants of life, Plants of death》(1998)一书中讲到了罗勒叶与结婚相关的事情,印度某些地方的女性会跪拜罗勒植株,为了让她们在未来能够找到如意郎君。

และสำหรับหญิงสาวในอิตาลี หากเธอปรารถนาจะแต่งงาน มีความเชื่อดั้งเดิมว่า ให้เธอปลูกโหระพาไว้ในหม้อภายในวันที่ 15 ของเดือนพฤษภาคม หากมันออกดอกภายในวันที่ 24 เดือนมิถุนายน เชื่อกันว่าเธอจะมีโอกาสได้แต่งงานภายในระยะเวลาไม่เกินปีต่อไป
对于意大利的女性,如果她们想结婚的话,根据原始信仰,她们会在5月15日之前在锅里种上九层塔,如果在6月24日能够开花,女性就会在接下来的一年之内如 愿结婚。



Frederick Simmons ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความคล้ายคลึงกันของความเชื่อทางคติชนวิทยาระหว่างกะเพราในเอเชีย และโหระพาในยุโรปว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้คนจะแลกเปลี่ยนแนวคิดและความเชื่อของตัวเองเกี่ยวกับพืชสกุลโหระพา หรือ Ocimum แม้พืชชนิดนี้ไปปรากฏตามภูมิภาคต่างๆ แต่นัยความหมายในแง่มุมความเชื่อบางอย่างก็ยังคงคล้ายกัน อันเห็นได้จากความเชื่อที่คล้ายคลึงกันของผู้คนจากต่างวัฒนธรรมในเอเชียกับยุโรป
Frederick Simmons提到了罗勒在亚洲和九层塔在欧洲民间信仰种的相似性,有没有可能是人们在交流分享关于罗勒属植物的一些信仰呢?虽然这类植物在各个地区 都有发现,但是它们内涵的意义却很相似,可以从亚洲和欧着不同人对它们类似的信仰中看出端倪。

สำหรับกะเพราในไทยแล้ว จากการค้นคว้าของ กฤช เหลือลมัย หลักฐานเก่าแก่ที่สุดซึ่งเอ่ยถึงกะเพราคือจดหมายเหตุเหตุ ลา ลูแบร์ (พ.ศ. 2230) ซึ่งระบุถึง “…ผักลางชนิดที่มีกลิ่นดี เช่น กะเพรา…” บริบทที่ลาลูแบร์กล่าวถึงกะเพราะ คือเมื่อพูดถึงอาหารของชาวสยามที่เขาได้ยินหรือได้พบเห็นเมื่อเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
在泰国的罗勒,根据Krit Leualamai的研究,提到罗勒最古老的证据就是拉鲁贝尔(1687年)提到的“…味道香醇的蔬菜,例如罗勒…”拉鲁贝尔提到罗勒的语境是描 述当他在阿瑜陀耶王朝纳莱王时期在暹罗听到或看到的暹罗人的食物。



ส่วนวัฒนธรรมอาหารสุดฮิตในไทยที่มักนิยมใช้ใบกะเพราผัดพริก กฤช เหลือลมัย เล่าว่า ยังค้นไม่พบหลักฐานที่เอ่ยถึงวิธีทำผัดพริกใบกะเพราในตำราอาหารเก่า ๆ แต่พบในหนังสือ “อาหารรสวิเศษของคนโบราณ” พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2531 เนื้อหาส่วนมีอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ เอ่ยถึงเมนูกะเพราผัดพริกว่า
泰国人最喜欢的菜就辣炒罗勒叶了,Krit Leualamai提到还没有发现任何提到辣炒罗勒的古代食谱,但是在1988年出版的书《古人神奇的食物》有Prayun Uluchada提到了辣炒 罗勒的内容:

“…กะเพราผัดพริกเป็นของที่เพิ่งนิยมกันเมื่อ 30 กว่าปีมานี้เอง ก่อนนี้นิยมใส่ผัดเผ็ดหรือแกงป่า แกงต้มยำโฮกอือกัน พริกขี้หนูโขลกให้แหลก เอาน้ำมันใส่กระทะ ร้อนแล้วใส่กระเทียมสับลงไปเจียวพอหอม ก็ใส่เนื้อสับ หมูสับ หรือไก่สับก็ได้ ใส่พริกที่โขลกแล้วผัดจนสุก ใส่ใบกะเพรา เหยาะน้ำปลากับซีอิ๊วเล็กน้อย แล้วตักใส่จาน
“…辣炒罗勒在30年前才开始流行,在这之前习惯放辣椒、清香辣汤、冬阴功,把朝天椒捣碎,在锅里倒入油,油热了之后放入蒜末翻炒,炒香以后加入牛肉末、猪肉末或者鸡肉末,再放入捣碎的辣椒炒熟,加入罗勒叶,倒入少许的鱼露和酱油,就可以装盘了。



เนื่องจากการผัดเผ็ดกะเพรานี้ คนจีนได้ดัดแปลงมาจากอาหารไทย ตำรับเดิมเขามีเต้าเจี้ยวด้วย คือเอาเต้าเจี้ยวดำผัดกับกระเทียมเจียวให้หอม แล้วจึงเอาเนื้อสับหรือไก่หั่นเป็นชิ้นๆ ลงไปผัดกับน้ำปลาและซีอิ๊วดำ เมื่อตักใส่จานต้องเหยาะพริกไทยเล็กน้อย…”
这种类型的辣炒烹 饪,华人是改编自泰国菜的,原来的菜谱中还有豆瓣酱,用豆瓣酱和大蒜炒香,然后再把牛肉末或切成片的鸡肉放进去,加入鱼露和酱油,盛出来装盘的时候还要在撒一点黑胡椒…”

ส่วนผัดกะเพราในตำราอาหารตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา อย่างเช่น ตำราอาหารชุดจัดสำรับ (ชุด 2) ของ จิตต์สมาน โกมลฐิติ (พ.ศ. 2519) เขียนถึงผัดกะเพราเนื้อไว้ว่า ปรุงด้วยน้ำปลาและผงชูรสเท่านั้น แล้วเอาข้าวลงผัดคลุกเป็นข้าวผัด กินกับถั่วฝักยาวสด
从20世纪80年代开始的炒罗勒菜单,例如Jitsaman Komonthiti(1976年)的《全套食物菜谱(第二套)》提到了罗勒炒牛肉,说只需要鱼露和味精调味,然后放入米饭翻炒,和新鲜的长豆角一起吃。

กรรมวิธีข้างต้นสอดคล้องกับเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือกับแกล้มเหล้า ประมวลกับแกล้มเหล้า–เบียร์ทันยุค ของ “แม่ครัวเอก” (พ.ศ. 2541) ซึ่งบอกว่าเนื้อสับนั้นจะหมักเหล้าก่อน แล้วปรุงเพียงน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บ
上述的方法 和Mae Khrua Eak(1998年)《下酒菜:下酒菜汇编-现代啤酒》一书中提到的方法一致,提到了牛肉末先要用酒腌制,然后只需要用鱼露和棕榈糖调味。



ดังนั้นแล้ว กฤช เหลือลมัย จึงตั้งข้อสังเกตว่า ผัดพริกใบกะเพราในแบบที่พบเห็นกันว่าใส่ซอสปรุงรสต่าง ๆ น้ำตาลทราย น้ำมันหอย รสดี น้ำพริกเผา ฯลฯ ในลักษณะเดียวกับกับข้าวร่วมสมัยชนิดอื่น เพิ่งมีมาช่วงระยะหลัง ๆ นี้เอง
Krit Leualamai总结到,像大家现在看到的加入各种调味料的辣炒罗勒叶,如砂糖、蚝油、调味粉、红辣酱等等,和现在其他类别的烹饪方式类似,是在近些年才出现的。


下次再吃到罗勒叶的时候不要忘记今天的科普哦!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。