要说哪里的文化对泰国影响最深,那便莫过于印度了,时至今日,你都能从语言、宗教、风俗习惯等各个方面看到印度文化的影子。就连泰国人口中经常说的一句熟语:“大难不死”也和印度文化有着千丝万缕的联系。


(图源:视觉中国)

ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ภาษา, วรรณกรรม, ศาสนา เป็นต้น วัฒนธรรมอินเดียเรื่อง “การปลงศพ” เป็นจุดหมายปองหนึ่งของคนทั่วโลกว่า “ต้องมาชมให้ได้สักคราครั้งหนึ่ง” โดยเฉพาะการปลงศพที่เมืองพาราณาสี (Varanasi) เมืองที่ได้ชื่อว่าแสงไฟไม่เคยดับเพราะการเกิด-ดับเป็นของคู่โลก ไฟที่ลุกโพลงและควันไฟที่คุกรุ่นอยู่เสมอไม่เคยดับกว่า 5,000 ปี บริเวณริมฝั่งแม่น้ำคงคา รัฐอุตรประเทศ (Uttar Pradesh)
泰国在语言、文学和宗教等方面都受到印度文化的影响。对于印度的“焚尸”文化,全世界人都抱着“一定要亲眼观看一次”的目标,尤其是瓦拉纳西的焚尸,这里也被誉为火光 永远不熄灭的城市,因为这里永远都有人世间的出生和死亡,在恒河流域的北方邦有着5000多年不曾熄灭的火和不曾消散的烟雾。

ท่าเผาศพอันมีนามว่า มณิกรรณิการ์ ฆาต (Manikarnika Ghat) และหริศจันทร์ ฆาต (Harishchandra Ghat) ชื่อของฆาตทั้งสองคือที่มาของสำนวนไทย ซึ่งเป็นคำติดปากและหลายคนอยากได้ยินสำนวนนี้บ่อยๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุว่า โชคดีมาก “ดวงยังไม่ถึงฆาต” นั่นเอง
火葬地点的 名称是马尼卡尼卡河坛和哈瑞希昌德拉河坛,这两个河坛的名字就是泰国一句很有名的熟语“ดวงยังไม่ถึงฆาต"(大难不死) 的来源,是很多人经常说的,并且都想在发生了大灾难之后听到这句话。

วันนี้จึงขอเสนอเรื่องราวของ “ฆาต” (Ghat) ว่าอยู่ดีๆ ไปปรากฏในสำนวนไทยที่ติดปากคนไทยได้อย่างไร?
今天我们就来给大家介绍ฆา ต /khaat3/ ‘死亡’好端端的怎么就成了泰国人说顺口的一句熟语?

คำว่า “ฆาต” เป็นคำเรียกที่ชาวอินเดียใช้เรียกสถานที่ที่ทำลักษณะเป็นบันไดเพื่อไว้ใช้ลงแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะที่เมืองพาราณาสีมีฆาตมากถึง 88 ฆาต ฆาตเหล่านั้นล้วนมีชื่อเรียกแตกต่างกันเช่น มาลาวิยะ ฆาต (Malaviya Ghat) อัสสี ฆาต (Assi Ghat) ตุลสี ฆาต (Tulsi Ghat) เชน ฆาต (Jain Ghat) ลักษมี ฆาต (Laxmi Ghat) เป็นต้น
ฆาต这个词是印度人用来称有着阶梯下到恒河的地方的,尤其是在瓦拉纳西城中共有88个河坛,这些河坛都有着不同的名字,比如马拉维亚河坛、阿西河坛、杜勒西河坛、耆那 河坛、拉克希米河坛等等。

แต่ฆาตอันเป็นที่มาของสำนวนไทยคือ ฆาตที่ไว้ใช้เผาศพ หรือฌาปนสถาน (Cermation or Burning Ghat) ริมฝั่งแม่น้ำคงคา คือ มณิกรรณิการ์ ฆาต (Manikarnika Ghat) และหริศจันทร์ ฆาต (Harishchandra Ghat) อันเป็นจุดจบสิ้นของร่างกายที่จะถูกล้างบาปก่อนการกลับคืนสู่อ้อมกอดแห่งพระเป็นเจ้า แต่สำหรับชาวฮินดูแล้วความปรารถนาที่แรงกล้าเมื่อเริ่มรู้ว่าร่างกายนี้ไม่อาจต้านทานพญามัจจุราชได้แล้ว คำสั่งเสียที่มีต่อลูกหลานคือการได้มานอนทิ้งร่างวางขันธ์เพื่อให้ได้เห็นสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อว่า “คงคา” จนลมหายใจสุดท้ายผละออกจากร่างกายนี้ไป
但是泰国熟语中的ฆาต是用来焚尸的河坛,就是恒河边上的马尼卡尼卡河坛和哈瑞希昌德拉河坛,生命在回归到神灵的怀抱前身体在这里接受洗礼。但对于印度人来说,在他们知道自己无法抵抗 死神之后,就产生一个强烈的愿望,并子孙能够把自己停放在神圣的恒河畔,直到生命的最后一次呼吸。
(图源:视觉中国)

ทำไมจึงจำเพาะ 2 ฆาตนี้เท่านั้น? เพื่อให้เรื่องราวบริบูรณ์มากยิ่งขึ้นจึงขอเล่าขานความเชื่ออันเป็นที่มาของฆาตทั้งสองคือ มณิกรรณิการ์ ฆาต (Manikarnika Ghat) และหริศจันทร์ ฆาต (Harishchandra Ghat) ดังนี้ ท่ามณิกรรณิการ์ (Manikarnika) นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ มณิกรรณิการ์ คูนด์ (Manikarnika Kund)และมณิกรรณิการ์ ฆาต (Manikarnika Ghat)
为什么只有这两个河坛呢?为了讲述得更加完整,我们追溯到了马尼卡尼卡河坛和哈瑞希昌德拉河坛名字的起源。马尼卡尼卡将会分成两部分,分别是马尼卡尼卡水井和马 尼卡尼卡河坛。

สำหรับ มณิกรรณิการ์ คูนด์ (Manikarnika Kund) นั้นเป็นบ่อน้ำ หรือสระน้ำสี่เหลี่ยม โดยกว้างและยาวประมาณ ข้างละสิบเมตร บางคัมภีร์เรียกว่า จักรปุชการิณี ซึ่งเป็นรอยเท้าของ พระวิษณุ (Vishnu) ที่สามารถเห็นได้ในปัจจุบัน สำหรับบางคัมภีร์แสดงทรรศนะไว้ว่า
马尼 卡尼卡水井是一处水井或一个四边形的湖,长宽大约10米,在有的经书中将其称作Chakputkarinee,即毗湿奴神的足迹,人们现在还能够看到,有的经书讲述到:

“วันหนึ่งทั้งพระศิวะและพระปารวตีได้อาบน้ำในบ่อน้ำในขณะนั้น หงอนเพชร (ชื่อ มณิ)ของพระศิวะ และต่างหู (ชื่อกรรณิการ์) ของพระนางปารวตีได้ตกลงในบ่อน้ำแห่งนั้น ขณะที่ทั้งสองพระองค์กำลังอาบน้ำอยู่ ดังนั้น บ่อน้ำนั้นจึงได้ชื่อว่า มณิกรรณิการ์ คูนด์ (Manikarnika Kund) (คูนด์ แปลว่า บ่อน้ำ)”
“一天,湿婆和帕尔瓦蒂在水井中洗澡的时候,湿婆的王冠“马尼”和帕尔瓦蒂的耳环“卡尼卡”掉在了水井中,因此这座水井就被称为马尼卡尼卡水井 (Kund是水井的意思)。”

ส่วนหริศจันทร์ ฆาต (Harishchandra Ghat) มีกล่าวไว้ “หริศจันทร์” เป็นชื่อของพระราชาแห่งสูรยวงศ์แห่งนครอโยธยา พระองค์ถูกกฤาษีแปลงกายเป็นพระศิวามิตรพรหมฤาษีมาทดสอบคุณธรรมความดีของพระองค์ กล่าวหาโทษเล็กๆ น้อยๆ จนพระองค์กลายเป็นทาสในที่สุด พร้อมทั้งขายพระมเหสีและพระโอรสโรหิตาศวะสุดที่รักของพระองค์ให้คนอื่น พร้อมประกาศขายพระองค์เองอีกด้วย
哈瑞希昌德拉河坛中的“哈瑞希昌德拉”是阿瑜陀耶城的一位国王,这位国王被隐士变成为一位隐士成来检验他的德行,挑他的一些小错误,让他最终变成了一个奴隶, 还把他最心爱的王后和王子卖给了别人,还说要将自己也售卖出去。

ในที่สุดพระองค์กลายเป็นทาสของคนวรรณะล่างคนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นคนเผาศพ สุดท้ายทั้งพระราชาหริจันทร์และพระมเหสีไศพยา มาเจอกันแล้วตัดสินพระทัยจะเผาตนเองตายตามพระโอรสซึ่งถูกงูกัดตายไปก่อนหน้านั้น เพราะที่ผ่านมาทั้งสองพระองค์ได้อดทนมาหนักแล้ว เพราะรักษาความสัตย์ยิ่งชีวิต ก่อนจะเผาจึงตรัสว่า “ณ ที่ตรงนี้ขอให้ได้เป็นที่ชำระจิตวิญญาณของเราให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดังที่ได้ชำระทองคำให้สุกปลั่งในเบ้าแล”
最后,国王成为了低等 种姓人的奴隶,承担焚尸的工作,后来国王和王后相见,决定把自己也焚烧掉去追寻之前被蛇咬伤而去世的儿子,一直以来国王和王后为了维持正直都都非常痛苦,在自焚之前说到:“希望这里成为让我们灵魂纯净的地点,就好像黄金在模具中闪耀的光芒一样。”

จากนั้นเมื่อร่างกายที่ปราศจากลมหายใจแล้วจะถูกห่อด้วยผ้าสีขาวและประดับด้วยดอกดาวเรืองสดก่อนวางลงบนไม้ไผ่ 7 ซี่แล้วถูกหามไปยัง มณิกรรณิการ์ ฆาต(Manikarnika Ghat) และหริจันทร์ ฆาต (Harishchandra Ghat) ตลอดทางที่ผ่านผู้คนหรือบางศพถูกขนย้ายมาบนรถบัสบ้าง รถเข็นบ้างจะได้ยินเสียงสวดมนต์ภาวนามาตลอดทางว่า “รามะ นามะ สัจจะ แฮ” แปลว่า “ชื่อพระรามเท่านั้นเป็นจริง ชื่ออื่นนอกจากชื่อนี้ ตายหมด!”
当身体没有呼吸之后,用白布包裹起来,用鲜艳的万寿菊装点,放在7节竹上,然后抬到马尼卡尼卡河坛和哈瑞希昌德拉河坛,一路都会有很多行人,有些尸体 会被放在巴士或推车上运送,能够听到不断的祈祷声:“Rama Nama Satcha Hae”,意思是:“只有罗摩的名字为真,其余所有的名字,全部毁灭。”

สำนวนไทยที่ว่า “ดวงยังไม่ถึงฆาต” จึงมีความหมายว่า บุคคลผู้นั้นยังไม่ถึงท่าเผาศพนั่นเอง สร้างดวงให้ดีด้วยการคิดดี ทำดี พูดดี แม้ว่าจะถึงฆาตก็ไม่สร้างความกังวลใจ
泰语熟语“大难不死”的意思是:这个人还没有到要焚尸的时候,用自己好的思想、行为、言语创造了好运,就算到了焚尸的河坛也不需要担心。

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。