我们中国人常说:“时势造英雄。”意思是真正的英雄,懂得观察时势,顺应时势,孔子也说:“虽有智慧,不如乘势,虽有镃基,不如待时。”可见时势对于一个人的成功非常重要。今天我们就来考考大家,泰语里的“时势”你会说吗?

ห้วงเวลาวิกฤติคับขัน แล้วเกิดมีผู้สามารถแก้เหตุดังกล่าวให้ผ่านพ้นไปได้ ที่เรามักพูดกันว่า “สถานการณ์ สร้างวีรบุรุษ” หลี่ไคหยวน นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์อธิบายสำนวนดังกล่าวไว้ในผลงานของเขาที่ชื่อ “ความลับของจิ๋นซีฮ่องเต้” ว่า “สถานการณ์ สร้างวีรบุรุษ” เป็นสำนวนจีนโบราณ
危机四伏 ,出现一个能够解决危机的能人,这也就是我们说的“时势造英雄”,历史学家李开元在他的作品《秦始皇的秘密》一书中说到这句话是中国古代的谚语并进行了解释。

คำว่า “สถานการณ์” ในภาษาจีน ประกอบด้วย คําสองคําได้แก่ “สือซื่อ (时势)” คําว่า “สือ (时)” มาจากคําเต็มว่า “สือจวี่ (时局 )” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นสถานการณ์แห่งรัฐ (national situation) คําว่า “ซื่อ (势)” มาจากคําเต็มว่า “ชวีซื่อ (趋势)” ซึ่งมีความหมายว่าแนวโน้ม (trend, tendency)
“时势”这个 词在中文里包含了两个字,一个是“时”,来自“时局”,意思是国家的形势;另一个词是“势”,来自“趋势”一词,意思是一种趋向走向。

ดังนั้น “สถานการณ์” ก็คือ “แนวโน้มหลักแห่งประวัติศาสตร์” หรือความแน่นอน (ที่จักต้องเป็นไป) ของประวัติศาสตร์ หรือบ้างครั้งเรียกว่า “ฟ้าลิขิต”
所以,“时 势”就是历史的主要趋势或者说是历史的确定性(确定的发展趋势),有时也叫“命运”。

เช่นช่วงหลังการเสื่อมสลายของราชวงศ์โจวตะวันตกไปแล้ว เจ้าผู้ครองเมืองต่างๆ เริ่มแผ่อิทธิพลเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กันแย่งชิงกันเป็นใหญ่ ครั้นถึงยุคสมัยจ้านกว่อผู้นําแต่ละรัฐต่างสถาปนาตนเองเป็นท่านอ๋อง แนวโน้มกระแสหลักที่ดินแดนใต้ฟ้ามุ่งสู่ความเป็นรัฐจักรวรรดิที่เป็นเอกภาพค่อยปรากฏชัดเจนขึ้นมาทีละขั้น
例如,在东周解 体之后,各个诸侯开始拥有了自由,就开始争夺霸权,到了战国时期,各个属地纷纷称王称霸,历史时局清晰地显现出大一统趋势。

ท่ามกลางแนวโน้มสถานการณ์กระแสหลักนี้ รัฐฉินได้อาศัยเงื่อนไขเฉพาะที่รัฐตนมีตอบรับสอดคล้องกับฟ้าลิขิต ทำลายรัฐต่างๆ สถาปนารัฐเอกภาพทำให้เกิด “จักรวรรดิฉิน” และ “จิ๋นซีฮ่องเต้” ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน
在这样的历史背景下,秦 国凭借自身优势,顺应了历史的潮流,逐个攻破其他六国,完成大一统,建立了秦朝,秦始皇成为了中国历史上首位皇帝。

ทว่า การผนวกดินแดนใต้ฟ้าเป็นเอกภาพของจิ๋นซี แม้สอดคล้องกับลิขิตฟ้า หรือสถานการณ์ แต่ก็ฝืนเจตนาประชาชน
虽然说秦始皇 统一六国顺应了历史潮流,但是却违背了人心。

ปลายยุคราชวงศ์ฉินสถานการณ์จึงปั่นป่วนวุ่นวายครั้งใหญ่ หลิวปังดําเนินการสอดคล้องคล้อยตามทั้งลิขิตฟ้าและมติประชา สถาปนาจักรวรรดิฮั่นขึ้นมาได้ หลังผ่านการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์วิวัฒนา การสืบเนื่องมาจนถึงยุคใกล้หยวนซื่อไข่ฟื้นฟูระบอบราชวงศ์สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ ถือเป็นละครตลกช่วงชีวิตสั้นนิดเดียวที่ฝ่าฝืนทั้งลิขิตฟ้า และมติประชาชน
秦朝末期局势经历了巨大的动荡,刘邦顺应了历史潮流和人民意志,建立了汉朝。后来政权更迭,直到近代袁世凯复辟为王,可以说是一段既违背历史潮流又违背民心 的短暂戏剧。

ประวัติศาสตร์ประเทศจีนสองพันปี การหมุนเวียนสลับเปลี่ยนขึ้นลงของราชวงศ์ต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการเข้าแทนที่กันระหว่างรัฐจักรวรรดิที่เป็นเอกภาพกับมหาชนก่อความรุนแรงนั้น ย่อมถือได้ว่าเกิดจากการรวมศูนย์กับการแยกตัว กับผสานรวมระหว่างลิขิตฟ้าและเจตนาประชานั้นเอง
中国在两千 多年的历史中,朝代不断更迭,都是源自于王朝的统治和民众的反抗,发生了凝聚和分散,是时势和民意相互碰撞的结果。

ลิขิตฟ้าและมติประชาชน เป็นจุดสองจุดในการประเมินค่าประวัติศาสตร์ หากตรวจสอบจากมุมมองเช่นนี้ ไม่เพียงแต่จะเห็นว่า จักรวรรดิฉิน จิ๋นซีฮ่องเต้ หากยังรวมถึงราชวงศ์อื่นๆ ที่ผ่านในประวัติศาสตร์ก็สามารถมองได้ชัดเจน ซึ่งในสังคมโบราณลิขิตฟ้าหนักหน่วง มติประชาชนบางเบา แต่สังคมปัจจุบันมติประชาชนหนักกว่า
时局和民意是做历史评价是的两个基准,如果从这样的视角来审视的话,不仅是秦始皇,就连其他历史上的其他朝代也都是这样的,古代社会上以时局为重,民心 为轻,但是现在的社会上民心为重。

ลิขิตฟ้านำหน้ามติประชาชนตามหลัง แต่ลิขิตฟ้ายากที่จะคาดคะเน มติประชาชนแม้ตรวจสอบได้ ก็ผันแปรมากมาย การทำสองส่วนให้สอดคล้องกันจึงเป็นงานยากของผู้นำ
时局凌驾于民心之上,但时局又是极难预料的事情,民心虽可以预料,但也是瞬息万变的,将二者融为一体,对于统治者来说是一项具有难度的工作。

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。