俗话说“男大当婚,女大当嫁”,步入婚姻的殿堂可谓是爱情修成正果最好的体现,而“彩礼嫁妆“可以是这层关系的润滑剂,也有可能是定时炸弹。这不,前段时间一位00后男生对于“彩礼”发表了自己的看法:

10多万的激烈讨论和4万的点赞,创下了知乎吵架新纪录。(文末附地址)

对于彩礼,大家观点不一,今天泰语君也要来和大家聊一聊泰国的彩礼文化:

 

สินสอด แท้จริงแล้วคืออะไร?
“彩礼”究竟是什么?

อย่างที่เข้าใจทั่วกันว่าสินสอดคือทรัพย์สินที่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมอบให้กับครอบครัวของเจ้าสาวในพิธี เพื่อเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ใจและตอบแทนต่อครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาวที่เรากำลังไปสู่ขอ มักมาคู่กับคำว่า ทองหมั้น ที่หมายถึง ทรัพย์สินที่สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้เพื่อมอบให้กับเจ้าสาวไว้เป็นทรัพย์สินและหลักประกันหลังจากแต่งงาน ที่มาของสินสอดทองหมั้นเกิดจากสมัยก่อนที่ยังไม่มีการสื่อสารที่ทำให้รู้จักคนได้มากนัก การแต่งงานระหว่างชายหญิงจึงไม่ได้เกิดจากความรัก แต่เกิดจากการคลุมถุงชนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้ผู้หญิงเป็นหม้ายขันหมาก สินสอดจึงเป็นเหมือนเครื่องมัดจำสำหรับฝ่ายชายว่าจะไม่เบี้ยวในพิธีแต่งงานนั่นเอง
在普遍认知下,“彩礼”一般是指在仪式中,男方为了表示真心并对准备求婚的女方一家表示感激,从而向女方家庭赠与的财物,它常常与“嫁妆”并提。“嫁妆”即能被估值的财产,作为财产和婚后的保障赠与新娘。“彩礼嫁妆”起源于男女间还不能自由交流的年代,那时大多数男女结婚并不是因为爱情,而是包办婚姻,这也是为了保障女性不被抛弃、悔婚;为了防止在婚礼上反悔,“彩礼”对男性来说也像是一种束缚品。


(《天生一对》剧照)

 

ประโยชน์ของสินสอด
“彩礼”的益处

เป็นหลักประกันของผู้หญิง
是女性的保障

อย่างที่ได้บอกไปว่าการแต่งงานในสมัยก่อนส่วนใหญ่มักเกิดจากการคลุมถุงชน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจกับครอบครัวฝั่งเจ้าสาวจึงมีการมอบทรัพย์สินไว้เพื่อเป็นหลักประกัน รวมถึงในภายภาคหน้าหากเกิดการหย่าร้างหรือฝ่ายชายเสียชีวิตหลังอยู่กินด้วยกันไป ฝ่ายหญิงก็จะได้มีเงินทุนไว้เลี้ยงดูตัวเองต่อได้ทันที
就像说的那样,过去大多数的婚姻都是包办婚姻,因此为了让新娘家人安心,就将钱财赠与女方家庭作为保障,甚至是将来离婚或同居后男方不幸离世,女方也有继续养活自己的资金保障。


(《天生一对》剧照)

เป็นแรงจูงใจในการแต่งงาน
是结婚的吸引力

เนื่องจากความไม่สมดุลของอัตราส่วนชายและหญิงในสังคมไทย การที่มีอัตราส่วนผู้ชายมากกว่าทำให้เกิดการแย่งคู่สมรสกันเกิดขึ้นได้ การแข่งขันกันเพื่อได้ครอบครองพิธีแต่งงานจึงได้เกิดขึ้นผ่านการจูงใจฝ่ายหญิงให้ยอมสมรสกับตนด้วยหลักทรัพย์เงินทองที่มี รวมถึงการที่มีหลักทรัพย์มากก็เป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับผู้ใหญ่ในยุคที่มีการคลุมถุงชน และเป็นการสร้างสถานภาพทางสังคมได้อย่างชัดเจน หากคนมีฐานะมาสู่ขอก็จะได้เป็นเศรษฐี กลับกันหากได้ผู้ชายฐานะยากจนสถานภาพทางสังคมก็จะตกรองลงมา
由于泰国男女比例失衡,男性占比大导致选择伴侣的竞争更激烈,结婚竞争的日益激烈,也可能让女性通过男性拥有的财产选择是否结婚,而且“多金”在包办婚姻的年代是长辈们最看重的选项,也是建立社会地位的重要指标。如果身份地位高的人来求亲,就可能成为富翁,相反,如果和穷困潦倒的人结婚,社会地位就有所降低。

ชดเชยครอบครัวเจ้าสาว
补偿女方家庭

ก่อนที่สังคมไทยจะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม การหาเลี้ยงชีพจึงเป็นการอยู่รวมตัวเป็นครอบครัวใหญ่เพื่อทำไร่ทำนาแบบสังคมเกษตรกรรม สมาชิกทุกคนในบ้านจึงเป็นเหมือนแรงงานสำคัญในการผลิตพืชผลเพื่อเข้าสู่ระบบ(ครอบครัว) หากผู้หญิงต้องย้ายออกไปทำกินกับครอบครัวใหม่หลังจากแต่งงานก็เท่ากับว่าครอบครัวเดิมนั้นมีอัตราการผลิตที่ลดลง ฝ่ายชายจึงต้องชดเชยกำลังผลิตของครอบครัวฝ่ายหญิงด้วยสินสอดนั่นเอง
在泰国进入工业社会之前,农业社会里的“谋生”就是在大家庭中耕田种地。每一位成员几乎都是干农活的重要劳动力,如果女性在婚后要搬去新家庭生活,那原生家庭的生产力就会下降,因此,男方不得不以“彩礼”的形式对女方家庭做出补偿。


(《天生一对》剧照)
 

ทำไมปัจจุบันสินสอดถึงไม่สำคัญ ?
为什么现在“彩礼”不再重要了?

การเข้ามาของแนวคิดแบบตะวันตกและความรู้ที่มีมากขึ้นทำให้เกิดการถกเถียงว่าสินสอดยังมีความจำเป็นอยู่หรือเปล่า? หากมองในแง่ของคนรุ่นใหม่ก็จะได้รับคำตอบว่า การให้สินสอดที่เกิดจากการคลุมถุงชน เป็นธรรมเนียมที่โบราณล้าสมัยและขัดต่อหลักสิทธิของคนเราที่สามารถเลือกในสิ่งที่ต้องการได้ รวมถึงแนวคิดแบบสตรีนิยมก็ให้ความหมายของสินสอดว่าเป็นการลดคุณค่าของผู้หญิงลงจากการตีผู้หญิงเป็นราคา อีกทั้งการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงในปัจจุบันได้เรียนหนังสือและมีความฝันการทำงานเป็นของตัวเอง ทำให้หญิงสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาและแขวนความฝันไว้ที่ใครอีกต่อไป จากความสำคัญของสินสอดที่เคยสำคัญมากสำหรับครอบครัวฝ่ายหญิงนั้นค่อยๆถูกลดคุณค่าลงในความคิดของทุกคน คือหลักฐานสำคัญที่บอกให้เรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา สำหรับคนยุคใหม่คงชินแล้วกลับการเปลี่ยนแปลง
随着西方思想的传入和知识的普及,引发了“彩礼”是否还有存在的必要性的争论。如果从新生代的角度看,答案就是“给彩礼是包办婚姻的结果呈现,是一种落后的习俗,同时也违背了根据个人需要、自主选择的原则。”此外,女权主义认为彩礼是给女性标价的形式,贬低了女性的价值,加之现在女性有机会上学,可以外出工作追求梦想,使得现代女性不再需要将梦想寄托在任何人身上。曾经对女方家庭来说非常重要的彩礼,慢慢地在人们的心中降低了地位,这也印证了变化无时无刻都存在,现代人已经习惯了这种变化。


(DJ Man和Bitoey Rsiam的婚礼)

 

不管是彩礼还是嫁妆,它们在现代社会的地位都已经不复从前。婚嫁也不再成为捆绑女性的锁链,也希望更多的人理性看待彩礼和嫁妆!你怎么看呢?

 

(知乎“男生真的很不能接受彩礼吗?”话题地址:https://www.zhihu.com/question/398741940/answer/2142391477)


声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正