男性和女性的关系自古以来就是各类社会的核心问题之一,母系社会中女性拥有至高无上的地位,后来男性在社会中扮演的角色越来越重要,直到现代女性重新开始在社会中发挥自己的重要作用,两性在社会中的关系也被很多人热议。今天我们就来看看古代泰国的男性和女性,他们怎么会有这样的认识。

ผู้หญิง ในสมัยโบราณมีความสำคัญกว่าผู้ชาย หรือจะพูดว่าผู้หญิงเป็นใหญ่กว่าผู้ชายก็ได้ แต่จะใหญ่โตมากน้อยขนาดไหน-ไม่รู้
古代的女性地位要比 男性要高,也可以说女性比男性大,但是要大多少呢?这仍然不清楚。

รู้แต่ว่าในภาษาไทยเมื่อต้องการให้หมายถึงผู้เป็นหลักหรือประธานของกลุ่มหรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว มักใช้เพศหญิงคือคำว่า “แม่” นำหน้านามนั้น เช่น แม่น้ำ แม่เหล็ก แม่แรง แม่เตาไฟ ฯลฯ กระทั่งผู้เป็นใหญ่ในกองทหารซึ่งเป็นผู้ชายทั้งแท่งก็เรียกว่า “แม่ทัพ” (การใช้คำว่า “พ่อ” นำหน้ากลุ่มหรือเป็นประธานส่วนใหญ่แล้วเป็นคำที่พบในสมัยหลัง ๆ เช่น พ่อบ้าน พ่อเมือง พ่อขุน พ่อครัว ฯลฯ)
只知道在泰语当中很多涉及到原则、人群中的领头人或者其他东西的时候,一般都会把แม่“母亲”这个词置于某个名字的前面,比如แม่น้ำ“河流”、 แม่เหล็ก“磁铁”、 แม่แรง“千斤顶” 、 แม่เตาไฟ “壁炉”等等,甚至连全部都是男性的军队军官,也用了“แม่ทัพ”(用พ่อ“父亲”置于某些词前面是后来才出现的,例如พ่อบ้าน “一家之主”、พ่อเมือง“城主”、 พ่อขุน“首领”、 พ่อครัว“厨师”等等)。

ร่องรอยความเป็นใหญ่ของผู้หญิงในภูมิภาคอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นถึง “หัวหน้าเผ่าพันธุ์” มีอยู่ในนิทานกำเนิดรัฐฟูนัน
关于东南 亚以女性为尊的踪迹可以在扶南国诞生的故事中窥探到:

“พระราชาองค์แรกของฟูนันมีพระนามว่าโกณฑินยะ ท่านผู้นี้มาจากอินเดีย หรือแหลมมลายู หรือหมู่เกาะอินโดนีเซีย เมื่อเดินเรือมาถึงดินแดนฟูนัน นางพญาของฟูนันชื่อลิวเยหรือนางใบมะพร้าวต้องการปล้นสะดมและยึดเรือ โกณฑินยะจึงแผลงศรไปทะลุเรือของนางลิวเย นางก็ตกใจกลัว จึงยอมอ่อนน้อมเป็นภรรยาของโกณฑินยะ ขณะนั้นนางไม่ได้สวมเสื้อผ้า โกณฑินยะจึงพับผ้าเข้าแล้วสวมให้นาง ต่อจากนั้นก็ขึ้นปกครองประเทศฟูนันแล้วสืบเชื้อสายต่อมา”
“扶南国的第一位国王名为Kaundinya,他来自印度,或马来海峡或印尼群岛,乘船来到扶南,当时扶南的女王是Liu-ye,她要抢夺Kaundinya的财物和船只,Kaundinya射箭射到了Liu-ye的船,Liu-ye非常害怕,于是愿意成为Kaundinya的妻子。但是Liu-ye没有穿衣服,Kaundinya就给她穿上了衣服,之后 二人开始统治扶南,并传宗接代。”

นอกจากนิทานเรื่องแม่ย่านางลิวเยแล้ว ยังมีร่องรอยอยู่ในตำนานและนิทานพื้นเมืองสมัยหลัง ๆ อีกว่ามีพราหมณ์อินเดียเข้ามาแต่งงานกับธิดากษัตริย์พื้นเมือง ต่อมาได้เป็นกษัตริย์หรือเป็นเชื้อสายจนกลายเป็นกษัตริย์ก็มี
除了Liu-ye的故事外,还可以在后来的故事和传说中寻到踪迹,说到:印度婆罗门的人和当地国王的公主结婚,后来继承王位成为国王。

จึงสรุปว่าการให้ความสำคัญทางฝ่ายหญิงหรือฝ่ายแม่นี้ไม่พบในสังคมชั้นสูงของอินเดีย แต่เป็นลักษณะพิเศษของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ
因此结论是:女性的重要性并不存在于印度的高层社会中,而是东南亚社会特有的社会特征。

ประเพณีการแต่งงาน
 婚习俗

เกี่ยวกับประเพณีการแต่งงานที่ผู้ชายจะต้องไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายผู้หญิงนั้น พวกผู้ไท (ไทดำ-ไทขาว) ในเวียดนามเหนือมีข้อกำหนดให้ผู้ชายคือ “บ่าว” ไปทำงานรับใช้ในบ้านฝ่ายผู้หญิงคือ “สาว” ชั่วระยะเวลาหนึ่ง (นับเป็นปีๆ) เพื่อพิสูจน์ตนเองว่าขยันทำมาหากินจึงจะเป็นที่ยอมรับแล้วสามารถ “แยกครัว” ไปอยู่กินกันตามประสาผัว-เมียได้ ถ้าไม่ได้รับการยอมรับก็ถูกขับไล่ แล้วฝ่ายหญิงก็เลือกผู้ชายคนใหม่เข้ามาเป็น “บ่าว” ทดลองอีก
至于男性 需要入赘至女方家中的习俗,越南北部的普泰人(黑泰-白泰)规定,男方บ่าว必须要到女方สาว家承担长达数年的体力劳动,为证明自己有谋生的能力,这样才能获得女方家的信任,才能分家过上夫妻二人的生活。如果不被接受就会被赶走,女方可以选择新的男人来测试。

“บ่าว” แปลว่าขี้ข้า มักใช้คู่กับไพร่คือบ่าวไพร่ ในงานแต่งจึงเรียกผู้ชายว่า “เจ้าบ่าว” และภาษาในชีวิตประจำวันของประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงเรียกผู้ชายว่า “ผู้บ่าว” ทั้งนี้ เพราะผู้หญิงคือ “เจ้าสาว” หรือ “ผู้สาว” เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน ผู้ชายต้องไปเป็นขี้ข้าของผู้หญิงคือ “บ่าว”​ ของ “สาว”
บ่าว的意思是“奴隶”,一般会和ไพร่“下等人”连用,在婚礼中,新郎被叫做เจ้าบ่าว,湄南河流域的居民们会将男性称为ผู้บ่าว,因为女性被称为เจ้าสาว或ผู้สาว,是家和土地 的主人,男性要做女性的奴隶。

สถานะของผู้หญิงในภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปเมื่ออารยธรรมอินเดียเข้ามามีอิทธิพลเหนือระบบความเชื่อท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนทาง “ศาสนา” ส่งผลให้เกิดคติในสมัยหลังๆ ว่า “ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน”
在这里女性 社会地位在印度文化到来之后出现了变化,尤其是宗教的作用,在后来出现了“女人是牛,男人是人”的说法。

ม.ร.ว.อคินและอาจารย์นิธิ อธิบายประเด็นนี้ว่า ผู้หญิงมีสถานภาพที่ต่ำกว่าผู้ชายในหลายเรื่อง โดยเฉพาะสถานภาพในพุทธศาสนาและเกียรติยศที่ได้รับจากโลกภายนอกหมู่บ้าน โดยเฉพาะจากการเมืองและการปกครอง เพราะผู้ชายเป็นฝ่ายสะสมเกียรติยศให้แก่ครอบครัว ลูกผู้ชายจึงเป็นฝ่ายใช้ทุนของครอบครัวในการศึกษามากกว่าลูกผู้หญิงเช่น อาจต้องยอมเสียแรงงานของลูกผู้ชายไปเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้ได้บวชเรียนและทำชื่อเสียงในวงการคณะสงฆ์
Akin Rabibhadana和 Nidhi老师解释到,女性在很多事情的地位上低于男性,尤其是在佛教中及从外来吸收来的等级制度,尤其是统治和政治的制度,因为男性可以光耀门楣,家中的男孩在教育中要比女性有更多的资源,男孩子们想出家读书和在僧侣中出人头地要花很久的时间。

แต่ในขณะเดียวกันผู้ชายแต่งงานแล้วมักไปอยู่บ้านภรรยาอย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะตั้งตัวได้ ผู้ชายจึงเป็นคนแปลกหน้าในบ้านของภรรยาซึ่งแวดล้อมด้วยพี่น้องของผู้หญิง ผู้ชายต้องอาศัยพึ่งใบบุญจากญาติของฝ่ายภรรยา เช่น อาศัยนาของพ่อตาทำไประยะหนึ่งหรือแม้แต่จะบุกเบิกที่นาของตนเองก็ยังต้องอาศัยกำลังของครอบครัวฝ่ายหญิงช่วยอุดหนุนจุนเจือในระยะแรก เพราะฉะนั้นผู้ชายจึงไม่สามารถใช้สถานภาพที่สูงกว่าของตนเอง “กดขี่” ผู้หญิงที่เป็นภรรยาได้ตามใจชอบ
但同时,男性在结婚 后要至少在女方家中居住一段时间,男方对于女方家中的人来说是一个陌生人,需要依靠女方的亲戚家人,比如依靠岳父的田地,即使是要自己开垦土地,在初期也需要依靠女方家庭的帮助。因此,男性不能任意利用自己的社会地位去欺压女性。

แต่ไพร่สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อง “กดขี่” ผู้หญิงที่เป็นภรรยาโดยมิได้ตั้งใจ เพราะมูลนายเกณฑ์ไปทำงานรับใช้จนตัวเองไร้สมรรถภาพ ลาลูแบร์บันทึกว่าพวกไพร่ผู้ชายถูกเกณฑ์ไปทำงานให้มูลนายปีละ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งฝ่ายหญิงจะต้องส่งข้าวปลาอาหารตลอด เพราะมูลนายไม่ได้เลี้ยงข้าวและไม่ให้ค่าจ้าง เมื่อพ้นเกณฑ์มาอยู่บ้านก็นั่ง ๆ นอน ๆ ให้เมียทำมาหาเลี้ยงเนื่องจากไม่ได้ฝึกฝนอาชีพใด ๆ ให้ดีพอที่จะทำมาหากินได้ ชีวิตประจำวันเมื่ออยู่บ้านคือ
但是阿瑜陀耶时期的平民却会无意地欺压女性,因为男人们被征用去做工,直到丧失劳动力,拉鲁贝儿记载到,男人们每年最少要去被征去做工6个月,女性要一 直送饭菜给他们,男人们没人管饭也没有工钱,征用期满了之后就在家里吃吃睡睡,让妻子养着,因为他们没有任何谋生技能,在家中的日常生活是:

“ภรรยาจะปลุกให้เขาตื่นขึ้นราว 7 โมงเช้า เอาข้าวปลาอาหารมาให้บริโภค เสร็จแล้วก็ลงนอนต่อไปใหม่ พอเที่ยงวันก็ลุกขึ้นมากินอีก แล้วมื้อเย็นอีกคำรบหนึ่ง ระหว่างเวลาอาหารมื้อกลางวันกับมื้อเย็นนี้ เขาก็เอนหลังลงพักผ่อนเสียพักหนึ่ง เวลาที่เหลืออยู่นอกนั้นก็หมดไปด้วยการพูดคุยและเล่นการพนัน”
“每日7点左右妻子将叫醒丈夫,并盛好饭菜让丈夫享用,丈夫吃完饭之后就去继续睡觉,中午的时候再起来吃饭,傍晚也是一样,在午饭和晚饭之间,他们就靠着背休息,剩 下的时间就是去聊天和赌博了。”

สรุปแล้วเมียทำงานหมดทุกอย่าง รวมทั้งทำไร่ไถนา ยามว่างก็ต้องไปค้าขายด้วย มิฉะนั้นจะไม่มีอะไรจะกิน เมื่อผัวถูกเกณฑ์ก็ต้องดูแลตัวเองและลูก ถ้ามีพ่อแก่แม่เฒ่าอยู่ด้วยก็ต้องดูแลด้วย แถมยังต้องส่งข้าวส่งน้ำให้ผัวอีกต่างหาก ครั้นผัวพ้นเกณฑ์ก็ไม่ได้ช่วยแบ่งเบาอะไรเลย กลับจะหนักกว่าตอนถูกเกณฑ์เพราะอยู่ในเหย้าเรียกร้องจะเอาไอ้โน่นจะกินไอ้นี่ทั้งวัน แถมติดเหล้ากับติดการพนันเสียอีก ซวยจริงๆ ผู้หญิงสยาม
总的来说妻子做一切事情,包括耕田种地,闲暇时间还要去做买卖,不然的话饭都没得吃,丈夫去服徭役的时候还要照顾自己和孩子,如果父母健在也要照顾父母,还要再给丈夫送菜送饭。丈夫结束徭役之后也不会帮分担什么,反而是增加另外的负担,端茶倒水的,此外丈夫还要酗酒和赌博!真的好惨!暹罗的女性!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。