说到法身寺,相信很多对泰国有关注的小伙伴都不会陌生,当年闹的沸沸扬扬的法身寺事件把这座寺庙推到了风口浪尖,相信很多人都从各种新闻图片上看到过寺内的情况。今天,我们抛开之前的事情不说,单纯来欣赏下法身寺内的佛教艺术,看看它是如何成为泰国寺庙中特立独行的存在。

วัดในพุทธศาสนาเป็นศาสนสถานที่มักนำเสนอศิลปะไทยประเพณีออกมาชัดเจนมากที่สุดสถานที่หนึ่ง แต่ที่ “วัดพระธรรมกาย” กลับมีรูปแบบพุทธศิลป์ที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะในส่วนของ “มหาธรรมกายเจดีย์” มหาธรรมกายเจดีย์ เริ่มตอกเสาเข็มในปี พ.ศ. 2538 เป้าหมายคือการเป็นศูนย์กลางการรวมใจและการประพฤติปฏิบัติธรรมของชาวพุทธทั่วโลก
佛教寺庙往往是最能体 现出泰国传统艺术的地方之一,但是法身寺却有着不同寻常的佛教艺术风格,尤其是在大法身舍利塔的部分。大法身舍利塔始建于1995年,目的是建成一个汇聚全球佛教信奉者的心和修行的中心。

อาจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ผู้เขียนบทความ “การสร้างพื้นที่อภิมหาวิหารและพุทธศิลป์แบบแฟนตาซี ของวัดพระธรรมกาย” อธิบายว่า มหาธรรมกายเจดีย์นี้ทำให้ “นึกถึงมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงวาติกัน อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และนครเมกกะอันเป็นที่จารึกของชาวมุสลิมนับล้าน สัมพันธ์กับแนวโน้มที่พื้นที่ทางศาสนาและจิตวิญญาณโลกในยุคนี้เปิดกว้างมากขึ้น มหาธรรมกายเจดีย์ถูกวางไว้ให้เป็นพื้นที่อุดมคติ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับอุโบสถอันเป็นสถานที่สำหรับสังฆกรรมของสงฆ์แล้ว อุโบสถกลับมีบทบาทน้อยลงอย่างมาก…”
《法身寺奇幻的佛寺和佛教艺术》一文的作者Phinyaphan Photchanalawan解释到,法身寺佛塔让人联想到“全世界天主教的中心梵蒂冈圣彼得大教堂和数以百万穆斯林朝圣的城市麦加,反映了这个时代宗教和精神世界的广阔,法身寺的佛塔被建成了一个理想之地,作为很多活动的举办地。和本应是僧侣举办活动 的佛殿相比,佛殿的作用反而大大减少…“

มหาธรรมกายเจดีย์แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ พุทธรัตนะ ได้แก่ ส่วนโดมและพื้นลาดสีทอง, ธรรมรัตนะ เป็นวงแหวนเชิงลาดสีขาว และสังฆรัตนะ เป็นพื้นขั้นบันไดวงแหวนลดหลั่นลงมา 22 ชั้น สำหรับพระสงฆ์ปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีจำนวน 10,000 รูป
大法身舍利塔分为三部分,分别是由穹顶和金色坡地构成的Buddha Rattana,由白色的环形底座构成的Thamma Rattana,一共有22层环形阶梯的Sangkha Rattana,可以容纳一万名僧侣在此修行和举办仪式。

บริเวณพื้นที่โดยรอบของมหาธรรมกายเจดีย์ยังประกอบไปด้วย ลานธรรม และมหารัตนวิหารคด ลานธรรมมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผสมพิเศษหล่อเป็นแผ่นพื้น ส่วนมหารัตนวิหารคดเป็นอาคารที่โอบล้อมมหาธรรมกายเจดีย์ ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสข้างละ 1 กิโลเมตร ผนังคอนกรีตเปลือย หลังคาทำด้วยสแตนเลสเป็นทรงพีระมิด มีความสูง 2 ชั้น
大法身舍利塔四周有修道场和禅堂,修道场结构为平面状的钢筋混凝土,禅堂是环绕在佛塔四周的建筑,形状为边长1米的正方形,混凝土墙壁,屋檐用不锈钢材质制 成锥形,高2层。

อาจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อธิบายว่า “พุทธศิลป์และการก่อสร้างศิลปวัตถุแบบวัดพระธรรมกายที่มีลักษณะแตกต่างไปจากงานอนุรักษนิยมจารีตประเพณีอย่างพระพุทธรูปแบบสุโขทัยและอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าสุนทรียภาพของวัดนี้ได้ถูกให้ความหมายใหม่ โดยก้าวข้ามจากพุทธศิลป์ไทยประเพณีที่ประกอบด้วยระเบียบวิธีการผูกลายไทย การประกอบด้วยสัตว์หิมพานต์ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สืบทอดและคลี่คลายมาจากอารยธรรมอินเดียและเขมรโบราณเป็นการออกแบบไปสู่รูปทรงที่สะท้อนความเป็นอุดมคติ เช่น การใช้ลักษณะครึ่งทรงกลม สี่เหลี่ยม จัตุรัส ทั้งในแผนผังและรูปด้านของมหาธรรมกายเจดีย์…”
Phinyaphan Photchanalawan解释说:“法身寺在建筑材料和艺术形式上不同于素可泰时期和阿瑜陀耶时期传统泰国的形式,可以说这座寺庙为美学赋予了新的含义。它抛弃了传统意义上的泰式花纹、神兽和各种从古印度高棉传承下来的展示理想主义的传统元素,比如在图纸和雕像使用半圆、长方形和正方形的形状。”

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามหาธรรมกายเจดีย์และพื้นที่โดยรอบแทบไม่ได้นำเสนอความเป็นไทยประเพณีออกมาให้เห็น มหาธรรมกายเจดีย์ไม่มีรูปแบบลักษณะเหมือนเจดีย์ตามแบบจารีตประเพณีนิยม มหารัตนวิหารคดก็ไม่มีหลังคาแบบวัดในพุทธศาสนาทั่วไป
因此,可以看出 ,法身寺的大法身舍利塔和四周几乎没有沿用泰国的传统,大法身舍利塔完全不同于传统泰国佛塔的特征,禅堂也不像传统寺庙中的那样。

อาจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เรียกพุทธศิลป์ในรูปแบบของวัดพระธรรมกายนี้ว่า “พุทธศิลป์แบบแฟนตาซี” ซึ่งนอกเหนือจากมหาธรรมกายเจดีย์ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เสนอศิลปะไทยประเพณีแล้ว พุทธศิลป์ในด้านอื่นของวัดพระธรรมกายก็มีความ “แฟนตาซี” ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่าง ๆ
Phinyaphan Photchanalawan把法身寺的这种佛教艺术风格成为“奇幻佛教艺术”,除了在建筑风格上不符合传统泰国艺术形式之外,法身寺在其他佛教仪式上也非 常“奇幻”。

คือมีการเน้นรายละเอียดที่วิจิตรพิสดารเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งและยิ่งใหญ่ อาทิ การจัดขบวนในพิธีกรรมหรืองานต่าง ๆ เช่น งานศพแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง-มีเทวรถรูปนกยูง, ธุดงค์ธรรมชัย-ชุดมหาลดาประสาธน์ ชุดของผู้เชิญกฐินคล้ายนางคลีโอพัตราแห่งอียิป์, กฐินบรมจักรพรรดิ ฯลฯ ในบางงานก็มักจะมีการใช้เทคนิคแสง สี เสียง ประกอบพิธี อันเป็นการแสดงออกทางพุทธศิลป์แบบแฟนตาซีให้ยิ่งใหญ่ตระการตา
即突出反映富足和伟大的精妙细节,例如在各种仪式和活动上的游行队伍,像有孔雀车的詹·孔诺雍葬礼、像埃及艳后装扮的佛衣敬献仪式、皇家僧衣敬献仪式等活动,在有些活动 还是用声色光影等技术,这些都展示了让人眼花缭乱的奇幻佛教艺术。

อาจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อธิบายว่า “การเลือกใช้องค์ประกอบร่วมสมัยที่สลัดทิ้งลายไทยแบบเดิม ๆ ทำให้เห็นว่าพุทธศิลป์แบบแฟนตาซีนี้มีความแนบแน่นกับวัฒนธรรมประชานิยม อันช่วยตอบโจทย์ให้กับการสร้างสรรค์พื้นที่ใหม่ ๆ ทั้งยังเปลี่ยนรูปแบบองค์ประกอบศิลปะแบบจารีตประเพณีไปสู่งานศิลปะร่วมสมัยที่เข้าใจได้ง่ายกว่า รวมถึงการออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากพาณิชย์ศิลป์อันปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างภาพยนตร์ สารคดี นิยาย ฯลฯ พุทธศิลป์แบบแฟนตาซีจึงเป็นองค์ประกอบในการสร้างโลกอีกใบขึ้นมาซ้อนอยู่กับโลกในชีวิตประจำวันของสาวกวัดพระธรรมกายทั้งหลาย…”
Phinyaphan Photchanalawan解释说:“抛弃传统泰式的艺术,转而采用现代奇幻的艺术形式与平民主义有着紧密的联系,它回答了为什么要采用各种新形式的问题 ,也体现了从传统艺术向更简明易懂的现代艺术的过渡,还体现了受到现代商业艺术因素的影响,例如电影、纪录片、故事等等,法身寺奇幻的佛教艺术风格是所有信徒日常生活之外的另一个新世界…”

รูปแบบพุทธศิลป์ของวัดพระธรรมกายมีความแตกต่างจากพุทธศิลป์แบบจารีตประเพณี โดยงานสถาปัตยกรรมถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้คนจำนวนมหาศาลที่มีการทำกิจกรรมตลอดทั้งปี ทำให้อาคารแต่ละแห่งในวัดต้องมีลักษณะอำนวยความสะดวกแก่การใช้งานและมีความคงทน ขณะเดียวกันต้องสะท้อนแนวคิดและอุดมการณ์ของวัดซึ่งมีมหาธรรมกายเจดีย์เป็นศูนย์กลาง
法身寺的佛教艺术与传统不同,建筑设计突出了容纳全年大批量民众前来举办活动的特点,使得寺内的建筑为这些人提供方便,并且非常结实耐用,同时还反映了以大法身舍利塔为核心 的一个理想的世界。

อาจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ กล่าวสรุปว่า “งานด้านทัศนศิลป์ที่เน้นการสร้างความประทับใจด้วยการแสดงออกถึงความมั่งคั่ง วิจิตรพิสดารของผลบุญ และโลกแห่งสวรรค์อันน่าอภิรมย์ กลับหันไปพึ่งพิงกับแนวคิดวัฒนธรรมประชานิยมที่สัมพันธ์กับโลกของการจินตนาการ อันเป็นโลกแห่งความฝันที่ต้องหยิบยืมองค์ประกอบจากจินตนาการที่มักได้อิทธิพลจากงานพาณิชย์ศิลป์ไปด้วย จึงนับเป็นองค์กรศาสนาที่มีการวางแผนและควบคุมการออกแบบได้อย่างมีเอกภาพ สมกับเป็นวัดสมัยใหม่ที่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้อย่างน่าสนใจ”
Phinyaphan Photchanalawan总结到:“强调富足,突出善报和令人心驰神往的天堂世界的传统艺术观点,却变成了与想象中世界结合在一起的民族主义文化思想,充斥着商业艺术的影响力,可以说是完美计划并掌控了艺术设计,是一座名副其实引人关注的现代寺庙。”

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。