“儿童”是社会上最脆弱、最没有发言权的群体。他们的权利总是受到严重的侵犯。从层出不穷的新闻中可以发现,每天都有儿童被殴打致伤或死亡的案件,而虐童者大多是“父母”,或者说是孩子所爱、信任的家人。此外,社会上也经常有对孩子表示同情、要求对加害者进行惩罚的人,他们希望能够找到解决方案来创建一个真正对儿童友好的社会。 

สังคมไทยที่ขาดความเข้าใจเรื่อง “สิทธิเด็ก”

对“儿童权利”缺乏了解的泰国社会

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทัศนคติ “ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่” ยังมีอยู่อย่างเข้มข้นในวิธีการเลี้ยงดูเด็กของสังคมไทย ซึ่งทัศนคติดังกล่าวทำให้ครอบครัวไทยจำนวนมากเลือกใช้ความรุนแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อควบคุมเด็กในบ้าน อีกทั้งความมีอำนาจเหนือกว่าของผู้ปกครองก็ทำให้พวกเขาไม่เข้าใจแนวคิดเรื่อง “สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของเด็ก” จึงกลายเป็นปัญหาความรุนแรงเรื้อรังที่ซ่อนตัวอยู่หลังประตูบ้านของคนไทย 

不可否认的是“孩子是父母的财产”这一观点仍然强烈地存在于泰国社会的育儿方式之中,这种观点导致了许多泰国家庭选择施bao的方式控制家中孩子的身心。此外监护人权利的优越性使得他们并不了解“儿童人身权利”,于是演变为泰国家庭中长期存在的问题。

“เราต้องยอมรับว่า สังคมไทยยังอ่อนหรือขาดความเข้าใจในประเด็นเรื่องการเคารพสิทธิเด็ก หรือสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของเด็ก” ณัฐวุฒิ บัวประทุม รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เริ่มต้นสะท้อนปัญหา 

“我们必须承认泰国社会在对尊重儿童权利或是儿童人身权利方面的问题仍然意识薄弱且缺乏认知”,进步党副主席 纳塔乌特·布阿帕图姆 开始反映这个问题

“ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของที่มองว่าเด็กเป็นสมบัตินี่แหละ ที่ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้มาตรการว่า ถ้าจะให้เด็กหลาบจำก็ต้องตี หรือถ้าเด็กทำผิดจะดุด่าอย่างเดียวไม่ได้ เด็กต้องหลาบจำและกลัว ทำให้การทำร้ายร่างกายเด็กรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นในสังคมไทย” อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล อธิบาย 

“正是这种将孩子视为财产的认知导致了大多数父母采取'如果想让孩子长记性,就要打,如果孩子犯了错误,不能只是责骂,要让他记住这种恐惧感'的措施,从而导致了泰国社会发生各种形式的虐待儿童事件”,泰国男女进步运动基金会性别平等部负责人 Angkana Inthasa 解释说道。

นอกเหนือจากความเชื่อที่ว่าลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่แล้ว ณัฐวุฒิชี้ว่า การที่พ่อแม่ผู้ปกครองขาดทักษะในการจัดการปัญหากับเด็กก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรง โดยเด็กแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีปัญหาของตัวเอง เมื่อพ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่รู้วิธีรับมือกับปัญหาเหล่านั้น ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการกับเด็กมากขึ้น สอดคล้องกับอังคณาที่ระบุว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีเรื่องของภาวะเศรษฐกิจปากท้องเข้ามาบีบคั้นพ่อแม่ผู้ปกครองมากขึ้น ก็ส่งผลให้ความรุนแรงกลายเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ผู้ปกครองใช้จัดการกับเด็กในบ้าน

除了相信孩子是父母的财产,Nattawut指出父母缺乏处理孩子问题的技巧是造成施bao的另一个因素。每个孩子都有自己的问题,当父母或监护人不知道如何处理这些问题时这使他们更有可能对儿童施bao。根据 Angkhana 的说法,在 COVID-19 爆发期间,经济收入给父母或监护人带来更大的压力,bao力已成为父母在家中处理孩子问题的一种选择。

เรื่อง “พ่อเลี้ยง-แม่เลี้ยง” ที่อาจจะเป็นปัญหา

“继父继母”可能成为问题

ไม่ใช่ทุกกรณีของการใช้ความรุนแรงต่อเด็กจะเป็นฝีมือของ “พ่อเลี้ยง-แม่เลี้ยง” แต่จากสถิติของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลที่เก็บข้อมูลจากข่าวหนังสือพิมพ์เป็นประจำทุกปี พบว่าหนังสือพิมพ์ 9 หัวในช่วงปี 2561 มีกรณีที่พ่อเลี้ยงกระทำความรุนแรงต่อลูกเลี้ยงมากถึง 12 ข่าวต่อปี และสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่พ่อกระทำต่อลูก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแท้ ๆ หรือพ่อเลี้ยง ล้วนแล้วแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 

并非所有针对儿童的bao力案件都出自“继父继母”,但根据泰国男女进步运动基金会每年从报纸上收集信息的调查发现,在2018年的9家报纸中,每年有12起继父虐待儿童的案件报道,而父亲对孩子家bao的家庭案件,无论他们是否是亲生父亲或继父都有增加的趋势。

“ลักษณะของครอบครัวไทยมีความหลากหลายมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ในอดีตเรามีลักษณะของครอบครัวขยาย ฉะนั้นเงื่อนไขหรือปัจจัยที่จะนำไปสู่การลงโทษด้วยความรุนแรงหรือการทำร้ายเด็กอาจจะไม่ได้มากเท่ากับปัจจุบัน แต่เมื่อรูปแบบของครอบครัวเปลี่ยนไป ทั้งการเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือการเป็นครอบครัวในลักษณะแบบใหม่ ทำให้มีเงื่อนไขปัจจัยที่ใช้ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อย่างที่พบประจำคือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากพ่อเลี้ยงหรือคนที่ไม่ได้เลี้ยงดูเด็กมาตั้งแต่ต้น แต่เขาต้องกลายมาเป็นผู้ดูแลเด็ก” ณัฐวุฒิชี้ 

Nattawut 指出,“泰国家庭特点与过去相比更为多样化,在过去,我们是一个大家族的特征,因此惩罚和虐待儿童的条件或因素远没有现在那么多,但是随着家庭模式的转变,单亲家庭或是新式家庭使得施bao的条件和因素增加,常见的情况是继父或最初没有抚养孩子但成为监护人的人施bao。”

ทางด้านอังคณาก็แสดงความคิดเห็นว่า ครอบครัวไทยยังไม่ได้มีการเตรียมการหรือปูพื้นฐานให้กับเด็กในกรณีที่มีครอบครัวใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็ก ที่อาจรู้สึกว่าตัวเองถูกแย่งความรัก หรือไม่เข้าใจว่าทำไมจึงมีคนอื่นเข้ามาอยู่ในบ้านร่วมกับตัวเอง การขาดการสื่อสารและการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้ ส่งผลให้เด็กที่ไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว เกิดพฤติกรรมต่อต้าน งอเเง หรือพูดไม่ฟัง 

另一方面,Angkhana 评论说泰国家庭还没有为新家庭做好安排或为孩子打下基础,这会影响孩子们的精神状态,他们可能会觉得自己不被爱了,或者不明白为什么别人要和自己成为家人。在这方面缺乏沟通和准备会导致对这种事不理解的孩子表现出挑衅、任性或不听教的行为。

“เด็กมีพฤติกรรมต่อต้าน และผู้ปกครองเองก็มีภาวะเครียด มันเลยนำไปสู่การลงไม้ลงมือกับเด็ก ขณะที่กับพ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงที่เข้ามาในครอบครัว เราก็เจอว่าเขาไม่ได้มีความผูกพัน หรือไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ดังนั้นการที่พ่อหรือแม่เลี้ยงเข้ามา และมีความรู้สึกว่าเด็กสร้างปัญหา ประกอบกับพ่อแม่แท้ ๆ ก็มีภาวะเครียด รู้สึกว่าเด็กงอแง เด็กดื้อ และเงื่อนไขครอบครัวก็ไม่รู้สึกว่าต้องเข้าใจภาวะที่เด็กเป็น ก็เลยทำให้ทั้งสองคิดตรงกันว่าเด็กมีปัญหาและใช้ความรุนแรงทางร่างกายกับเด็ก” อังคณาอธิบาย 

Angkhana解释道:“孩子叛逆的行为徒增父母的压力,父母便会着手处理孩子。当继父继母进入家庭时,我们会发现他们和孩子没有联系或关系不好。因此,当继父继母进入家庭时觉得孩子总是在制造麻烦,加之亲生父母的压力,认为孩子调皮顽固,这时家庭并未觉得应该理解孩子的处境,都觉得是孩子的问题并对其使用bao力。”

“เรื่องในครอบครัวเขา เราไม่ยุ่ง”

“别人家的事,别插手”

อีกหนึ่งปัจจัยที่หล่อเลี้ยงให้ความรุนแรงต่อเด็กยังมีอยู่ในสังคมไทย คือทัศนคติของคนในสังคมที่มองว่าการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก “เป็นเรื่องในครอบครัว” หรือเรื่องส่วนตัวที่คนนอกไม่ควรเข้าไปยุ่ง จึงทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเมินเฉยต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น จนกระทั่งเกิดเป็นความสูญเสีย ดังที่เห็นได้จากหลายข่าวที่เกิดขึ้น 

另一个导致泰国社会中仍然存在对儿童施bao的行为持续存在的因素是社会上看待bao力侵害儿童行为的态度:这是 “家事”或私事,外人不应干涉。 于是大多数人选择忽略发生的bao力情况,直到发生惨剧,从发生的许多新闻中可以看出。

“สังคมไทยยังมองเรื่องครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว อย่าเข้าไปยุ่ง เดี๋ยวเขาดีกันเราจะเป็นหมา และจากที่เราเก็บข้อมูลมา เปอร์เซ็นต์ของคนรอบข้างที่จะเข้าไปช่วย หรือเห็นแล้วแจ้งมีค่อนข้างน้อย ดังนั้น ด้วยทัศนคติที่ตอกย้ำเรื่องครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ห้ามคนอื่นเข้าไปยุ่งนี่แหละ มันเลยทำให้ผู้หญิงหรือเด็กหลายคนที่ถูกทำร้าย ได้รับการช่วยเหลือหรือมีการดำเนินการแจ้งภาครัฐในตอนที่ทำอะไรไม่ได้แล้ว” อังคณากล่าว

Angkhana说:“泰国社会仍将家庭事务视为私事,不进行干涉,不然和好了自己就成为“罪人”了,从收集的信息来看,会提供帮助的周围人或目击者看到后报警的所占百分比很少。因此,以家庭事务为私事的这样的观点,禁止他人插手,使得许多女性或是儿童遭受虐待,当无能为力时才寻求帮助或通知政府。”

ขณะที่ณัฐวุฒิก็มองว่า หากคนรอบข้างยังเพิกเฉยต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในวันนี้ ก็มีแนวโน้มจะส่งผลต่อทุกคนในสังคมในระยะยาวได้ 

Nattawut认为,如果周围的人仍然无视今天发生在孩子身上的bao力事件。 从长远来看,它往往会影响社会中的每个人。

“เราต้องยอมรับว่าเมล็ดพันธุ์ความรุนแรงต่อเด็ก มันมาจากทุกคนในสังคมที่เป็นส่วนเพาะให้เมล็ดพันธุ์นี้เติบโต ว่าเรื่องครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น มันจำเป็นต้องทำให้เห็นว่า เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนเข้าไปจัดการเรื่องนี้ร่วมกันได้” อังคณาเสริม 

“我们必须承认,给予bao力侵害儿童的种子且让这颗种子成长的人就是社会上每个声称家事是私事的人。因此,有必要证明家庭事务是每个人都可以共同处理的集体问题,”Angkhana 补充道。

กลไกลภาครัฐที่ไม่แข็งแรง 

不健康的政府机制

แม้ทัศนคติว่า “เรื่องในครอบครัวไม่ควรเข้าไปยุ่ง” จะยังมีอยู่ แต่ณัฐวุฒิก็เชื่อว่า สังคมในตอนนี้มีความตื่นรู้และช่วยกันจัดการดูแลปัญหาเรื่องความรุนแรงต่อเด็กมากขึ้น ทั้งการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใช้ช่องทางออนไลน์ในการช่วยเหลือ แต่ปัญหาสำคัญคือการตอบสนองต่อปัญหาความรุนแรงของกลไกภาครัฐ ที่ยังมีความเชื่องช้าและไม่ทันต่อความต้องการได้รับความช่วยเหลือของผู้ถูกกระทำ 

即使是那种“家庭事务不应干涉”的态度仍将存在,但Nattawut认为社会上现在有了更多的认识,并有助于管理针对儿童的暴力问题,包括通知相关机构并使用网络渠道提供帮助,但问题的关键是政府机制对bao力问题的应对缓慢,无法及时为受害者提供帮助。

“เกือบทั้งหมดเคยได้ร้องขอความช่วยเหลือแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการไปแจ้งความ ไปโรงพยาบาล ถ้าเป็นเด็กก็อาจจะบอกครู บอกผู้ปกครองที่ไม่ใช่คนทำร้าย แต่มันไม่เกิดระบบการช่วยเหลือตั้งแต่ต้น แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องในครอบครัว แต่คนที่รับเรื่องต่อไม่ได้ตระหนักถึงบทบาทที่ตัวเองควรทำต่างหาก” ณัฐวุฒิกล่าว 

“几乎所有人都已经求救过了,不管是去医院还是报案,如果是孩子,就可能告诉老师,告诉不是施bao者的监护人。 但它从一开始就没有救助系统,这表明不是所有的事情都是家庭问题,那些接手此案的人并没有意识到他们应该扮演的角色,”Nattawut 说。

ด้านอังคณาก็กล่าวว่า จากข้อมูลของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สิ่งที่พบเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ หนึ่ง ผู้ถูกใช้ความรุนแรงไม่รู้จักเบอร์ 1300 ซึ่งเป็นสายด่วนของศูนย์ช่วยเหลือสังคม ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่จะสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ และสอง เมื่อผู้ถูกใช้ความรุนแรงโทรไปที่เบอร์ 1300 เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่ต้องให้การช่วยเหลือลงพื้นที่ช้า ทำให้หลายครั้งปรากฏกรณีเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายเสียชีวิตไปแล้ว 

Angkhana说根据泰国男女进步运动基金会的资料,出现家庭bao力问题时发现的事情:一是被施bao者不知道拨打1300,这个号码是社会发展和人类安全部下属的社会援助中心热线,可以帮助他们;第二个是被施bao者拨打1300,提供援助的机构官员很多时候到达事发地较慢,多次发现被袭击的儿童或妇女死亡的现象。

แน่นอนว่าการทำงานของกลไกของรัฐที่รวดเร็วจะช่วยลดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กได้ แต่กลไกลภาครัฐก็มีปัญหาในตัวเองเช่นกัน โดยภาครัฐก็ไม่ได้ลงทุนในการแก้ไขปัญหาเรื่องการคุ้มครองเด็ก ทั้งจำนวนของเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพที่จะเข้ามาทำงานช่วยเหลือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะเดียวกัน ระบบการทำงานของรัฐก็ไม่สามารถพัฒนาคนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีโอกาสการเติบโตในสายงาน ดังนั้น ปัญหาเรื่องกลไกของภาครัฐที่ไม่แข็งแรงก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงอาจจะถึงเวลาที่ภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ของแต่ละจังหวัดต้องทบทวนและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาและวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

当然,政府机制的快速行动有助于缓解针对儿童的暴力问题,但政府机制也有其自身的问题。政府没有为解决儿童保护问题提供资金,包括提供帮助的专业工作人员数量不足以满足需求。同样,政府工作体系也无法让工作人员有效地工作,因为在该领域没有成长的机会。因此,不健全的政府机制问题是导致bao力侵害儿童问题不断发生的另一个因素。或许是时候让政府和各府各部门对问题进行审视和分析,以便找到解决问题的办法和更有效的工作方式。

ทางออกเพื่อช่วยเหลือเด็กไม่ให้ถูกทำร้าย 

让孩子免受伤害的解决方案

“สิ่งที่ทำได้แน่ ๆ คือการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองและสังคม ให้เข้าใจเรื่องการคุ้มครองเด็ก เรื่องสิทธิเด็ก และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงโทษหรือจากการใช้ความรุนแรงต่อตัวเด็ก เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่” ณัฐวุฒิกล่าว 

“我们能做的肯定是对父母和社会进行儿童保护、儿童权利以及对儿童施加惩罚或bao力的后果方面的教育,这是一件大事,”Nattawut 说。

ยิ่งไปกว่านั้น ทุกองคาพยพที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนต้องทำงานร่วมกันและรู้หน้าที่ของตัวเอง ภาครัฐอาจจะต้องประชาสัมพันธ์ช่องทางการช่วยเหลือผู้ถูกใช้ความรุนแรงมากขึ้น ทั้งสายด่วน 1300 หรือช่องทางการช่วยเหลืออื่น ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ เช่นเดียวกับระบบดำเนินการทางกฎหมายที่ต้องใช้กฎหมายแบบบูรณาการ เนื่องจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายไม่ควรถูกนำมาใช้เพื่อความสะใจหรือเอาตัวผู้กระทำความผิดไปลงโทษเพียงเท่านั้น แต่ต้องวิเคราะห์สาเหตุของความรุนแรงเพื่อไม่ให้เด็กกลับมาเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ขณะเดียวกันก็เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายเองด้วย 

而且政府机构和私营部门的所有机构都必须共同努力,知道自己的职责。政府可能需要推广更多的渠道来帮助那些遭受bao力侵害的人,例如热线1300或其他帮助民众的渠道,应告知公众以及法律行动需要使用完善的法律体系,因为执法过程不应仅仅用于惩罚犯罪者,而应用于分析实施bao力原因,以防止儿童也使用bao力,在帮助受到伤害的儿童的同时防止再次遭受bao力。

人生来无罪,不应成为谁的附庸品,每个人都有自己的人权。作为社会弱势群体,更应该重视人身安全的保护,不让自己成为施bao者泄愤的工具,积极寻求一切能够帮助自己的渠道。希望社会能够在经济快速发展的同时,思想道德也能够与时俱进!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。