大家一定都在视频软件上刷到过很多泰国海鲜路边摊的视频吧?那些特别新鲜的海虾被独特的酱汁一蘸,让人看到瞬间就流口水了。但就是这样在国际上闻名的泰虾,近年来在世界上的出口量排名却被逐渐下降,甚至败给了印度和越南,在泰虾身上究竟发生了什么?

รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเคยเป็นแชมป์ส่งออกกุ้ง โดยส่งออกกุ้งมากที่สุดในโลกช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบัน เราหล่นมาอยู่อันดับ 6 ของโลก ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออกกุ้ง ลดลงไปเกินกว่าครึ่งหนึ่ง เหลือส่วนแบ่งการตลาดเพียง 3% แถมยังโดนอินเดียและเวียดนามแซงหน้า
大家知不知道,在过去的十年间,泰国曾是全球出口虾类数量最多的国家。但现在,泰国的排名已经掉到了世界第六,虾类的出口总值和数量都减少了一半还多。市场占有率仅剩3%,而且还被印度和越南超越了。

เกิดอะไรขึ้นกับกุ้งไทย ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
在泰虾身上究竟发生了什么?Longtunman将说给你听...

“กุ้ง” เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารทะเลหลักของโลกที่มีการบริโภคกัน แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอาหารทะเลชนิดอื่น ประเทศที่นำเข้ากุ้งรายใหญ่ จึงมักจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ที่มีรายได้และกำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง
“虾”可以说是全球有售的主要海鲜食品之一,但由于与其他海鲜食品相比价格较高,所以大部分进口虾类的国家都是北美洲和欧洲的国家,因为这些国家的收入和购买力都比较高。

ส่วนแหล่งส่งออกกุ้งที่สำคัญจะอยู่ในทวีปเอเชีย เพราะภูมิภาคนี้มีความได้เปรียบในการผลิตมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุผลว่ามีกุ้งเป็นจำนวนมาก มีแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงค่าแรงที่ไม่สูงมากนัก ทวีปเอเชียจึงส่งออกกุ้งได้มากกว่า 40% ของตลาดโลก
而世界上比较重要的虾类出口产地位于亚洲,这个地区因为虾的产量巨大,所以相较于其他地区比较有生产优势,水产养殖方面也有许多专业劳动力。同时因为劳动力价值也不太高,于是亚洲就为世界市场出口了超过40%的虾类。

ซึ่งประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกที่สำคัญ เพราะมีทั้งการทำประมงน้ำจืด ประมงน้ำเค็ม และการเพาะเลี้ยงฟาร์มกุ้ง ทำให้สามารถส่งผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกุ้งทะเล เรามีจำนวนพื้นที่เลี้ยงทั้งหมด 342,068 ไร่ เรามีจำนวนฟาร์มทั้งหมด 26,700 ราย กระจายอยู่ทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตกุ้งทะเลสำคัญ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และนครศรีธรรมราช
泰国也是其中一个很重要的出口商,因为泰国在淡水渔业、海洋渔业、虾类养殖方面的成绩让其能够源源不断地将虾类产品出口到市场中。尤其是海虾,泰国共有342068莱(1莱=1600平方米)的海虾养殖面积,有26700家养殖场。这些养殖场分布在泰国湾的中部、东部和南部。比较重要的海虾生产地在以下几个府:北柳府、北榄府、洛坤府。

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่าคนไทยบริโภคกุ้งเพียง 1 ใน 10 ของผลผลิตทั้งหมดเท่านั้น
ส่วนที่เหลือจึงเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมีตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่
- สหรัฐอเมริกา 31%
- ญี่ปุ่น 27%
- ไต้หวันของประเทเศจีน 3%
可不管怎样,泰国人仅消费了所有虾类产品的十分之一。
而其他产品则被出口到了海外,其中前三名主要的出口市场是:
- 美国 31%
- 日本 27%
- 中国台湾 3%

แม้ว่ากุ้งไทยจะได้รับการยอมรับว่า มีคุณภาพสูง มีแรงงานที่เชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงด้านการแปรรูปอาหารทะเลระดับโลก
แต่หากเราไปดูสถิติการส่งออกกุ้งทุกชนิดย้อนหลัง จะพบว่า
- ปี 2562 มูลค่าส่งออก 29,689 ล้านบาท ปริมาณส่งออก 112,763 ตัน
- ปี 2563 มูลค่าส่งออก 23,119 ล้านบาท ปริมาณส่งออก 89,882 ตัน
- ปี 2564 มูลค่าส่งออก 26,920 ล้านบาท ปริมาณส่งออก 93,213 ตัน
即使泰虾得到了产品高质量的认可,有十分专业的劳动力,在海鲜食品加工方面也世界闻名,
但如果我们观察各种虾类的出口数据就会发现:
- 2019年出口额为296.89亿泰铢,出口数量为11.2763万吨
- 2020年出口额为231.19亿泰铢,出口数量为8.9882万吨
- 2021年出口额为269.2亿泰铢,出口数量为9.3213万吨

จะเห็นได้ว่า ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออกกุ้งไทย มีแนวโน้มลดลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และยิ่งเราเทียบกับในปี 2554 มูลค่าส่งออก 52,857 ล้านบาท ปริมาณส่งออก 204,139 ตัน ก็เรียกได้ว่า ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออกกุ้ง ลดลงไปกว่าครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
可以看到,在过去的三年里,泰虾的出口额和出口数量都有下降的趋势,若是将这些数值和2011年的出口额528.57亿泰铢、出口数量20.4139万吨相比,虾类的出口总值和数量都下降了一半还多。

คำถามก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับการส่งออกกุ้งไทย ?
那么问题来了:在泰虾身上究竟发生了什么?

อย่างแรกเลย คือ “กุ้งไทยโดนโรคระบาดครั้งใหญ่”ย้อนไปในช่วงปี 2553 หรือราว 12 ปีก่อน โรค Early Mortality Syndrome เรียกสั้น ๆ ว่า EMS หรือโรคตายด่วน เป็นโรคที่ทำให้กุ้งตายได้อย่างรวดเร็ว เกิดระบาดหนักในฟาร์มกุ้งบ้านเรา ส่งผลให้กุ้งไทยออกสู่ตลาดได้น้อยลง แต่นี่เป็นเพียงแค่เด้งแรกเท่านั้น เพราะกุ้งไทย ยังต้องเจอกับผลกระทบอีกหลายเด้งในช่วงเวลา 10 ปีมานี้
首先,“泰虾经历了一场大型的流行病”。时间倒回到大约12年前(2010年),那时有一种叫做早期死亡综合征(EMS)的疾病能够迅速让虾类死亡,这种疾病在虾类养殖场中广泛蔓延,使得泰虾的出口数量减少。但这只是其中一个波动,因为在接下来的十年里,泰虾还受到了许多波动所造成的影响。

เด้งต่อมา คือ “สหภาพยุโรปแบนสินค้าประมงจากไทย” หรือที่เราได้ยินกันว่า IUU Fishing โดยเกิดจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ วิธีการทำประมง หรือขั้นตอนการผลิตที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน พอเป็นแบบนี้ ทำให้การส่งออกอาหารทะเลของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะสหภาพยุโรป ถือเป็นตลาดส่งออกใหญ่ 1 ใน 5 ของไทย
下一个就是“欧盟停止对泰国渔业商品的进口”,或者就是我们平时所听过的IUU Fishing(非法捕捞)。不管是工具不合格、打渔方法不合格还是不达标准的生产方式都会使这样的打渔行为违反法律(从而受到欧盟的抵制),而这样会使泰国海鲜食品的出口受到严重打击,因为欧盟是泰国五大出口市场之一。

และอีกเด้ง ก็คือ “ไทยถูกจัดอันดับเป็น Watchlist การค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ” ซึ่งหมายถึง ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมประมงไทย ที่อาจมีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย บังคับคนให้มาเป็นแรงงานโดยไม่สมัครใจ หรือแรงงานมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ไม่ดีพอ เรื่องนี้เอง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของอาหารทะเลไทยเป็นไปในด้านลบ โดยสหรัฐฯ ก็เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ทำให้ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน แม้ว่าปัจจุบัน สหรัฐฯ จะเปลี่ยนอันดับประเทศเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ให้ไทยมาอยู่ใน Tier 2 แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพลักษณ์ของอาหารทะเลไทยยังคงมีภาพจำในด้านลบ
还有一个冲击就是“泰国被列入美国人口贩卖监视名单”。这就意味着,泰国渔业可能存在违法使用劳工的现象(强迫劳动力工作或劳动力生活质量不达标)。这件事也对泰国海鲜食品的形象产生了负面影响,而美国同样也是泰国很重要的出口市场,这也对泰虾出口造成了不小的影响。即使如今美国已经在人口贩卖监视名单中将泰国降到了第二级,但无法否认的是,泰国海鲜食品在人们的记忆中仍然存在负面形象。

แต่เท่านี้ยังไม่พอ เพราะในช่วงที่กุ้งไทยโดนผลกระทบหลายเด้ง คู่แข่งการส่งออกของไทย กลับยังคงมีผลผลิตออกสู่ตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ที่มีการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงฟาร์มกุ้งบริเวณตอนใต้ของประเทศ อินเดีย ก็ได้ปรับปรุงคุณภาพของสายพันธ์ุกุ้งเลี้ยง ให้สามารถทนทานต่อโรคระบาดได้มากขึ้น อีกทั้ง อินเดียและเวียดนาม ยังได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า หรือที่เรียกกันว่า GSP ทำให้สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปที่มีความต้องการสูง โดยได้รับการลดหย่อนหรือไม่เสียภาษี
但屋漏偏逢连夜雨,因为在泰虾受到几波冲击的同时,泰国的出口竞争对手们依然在持续地向世界市场输送自己的产品。越南就在国家南部扩大了虾类养殖场面积,印度也改善了养殖虾品种的质量,让其能够更好地免疫流行病。而且,印度和越南还获得了贸易特权,也就是我们所说的GSP(药品经营质量管理规范),这使他们能够以低价关税甚至免关税的条件将产品出口到需求量较高的欧盟。

ในขณะที่ไทย เสียสิทธิ GSP ไป เพราะรายได้ต่อหัวของประเทศสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ค่าแรงก็เป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตที่ไทยมีความเสียเปรียบในฟาร์มกุ้ง ซึ่งค่าแรงของไทย สูงกว่าอินเดียและเวียดนาม ทำให้ต้นทุนการผลิตกุ้งไทยสูงกว่าประเทศอื่น แต่ด้วยความเชี่ยวชาญด้านแรงงานของไทย ทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งมีต้นทุนต่ำกว่า แม้ไทยจะยังคงความได้เปรียบในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้ง เช่น กุ้งกระป๋อง แต่ด้วยวัตถุดิบจากฟาร์มกุ้งที่ลดลง ทำให้ไทยต้องนำเข้ากุ้งเพื่อมาแปรรูปเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
与此同时,因为产品的单笔收入高于规定的数值,泰国也失去了GSP权。此外,泰国那高于印度和越南的的人工费也是让虾类养殖场丧失优势的生产成本之一,使得泰虾的生产成本高于其他国家。但因为泰国在人工方面较为专业,所以在虾类加工业方面的成本较低。即使泰国还是能在虾类加工方面占有优势,比如加工虾罐头等等,但是由于养殖场的原料数量下降,所以泰国每年都必须增加虾类进口的数量以进行加工。

โดยหากเทียบย้อนหลัง 10 ปี จะพบว่า
- ในปี 2554 ปริมาณนำเข้า 21,000 ตัน มูลค่านำเข้า 1,460 ล้านบาท
- ในปี 2564 ปริมาณนำเข้า 43,000 ตัน มูลค่านำเข้า 6,060 ล้านบาท
如果与十年前作比较就会发现:
- 2011年进口数量为2.1万吨,进口总值为14.6亿泰铢。
- 2021年进口数量为4.3万吨,进口总值为60.6亿泰铢。

จะเห็นได้ว่า เราต้องนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นมากถึง 2 เท่า สะท้อนได้ว่าผลผลิตจากฟาร์มกุ้งไทยลดลงอย่างหนัก และกำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งทะเล ที่เป็นความหวังของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลของไทย เพราะเราต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศมากขึ้น
能够看出,泰国对于虾类的进口数量增加了两倍,这反映了泰虾养殖场的生产数量正大量减少。而因为他们必须要更多地依靠国外的原材料,所以这也在影响着海虾加工行业——可以算上是泰国海鲜食品加工行业的希望。

ทั้งหมดนี้คือ เรื่องราวของกุ้งไทย สรุปก็คือ เรามีมูลค่าและปริมาณการส่งออกกุ้งที่ลดลงครึ่งหนึ่ง เพราะโดนโรคระบาด และกฎระเบียบระหว่างประเทศที่เข้มงวด จนทำให้เวียดนามและอินเดียแซงหน้าไป ซึ่งทั้งเวียดนามและอินเดียเอง ก็ได้เร่งส่งออกกุ้งของตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ได้เปรียบมากกว่าไทย ทำให้ยังคงส่งออกได้เป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลก
所有的这些,就是泰虾的故事了。总结下来就是,由于流行病影响和严苛的国际规章制度,泰国虾类出口的总额和数量都锐减了一半,导致越南和印度赶超了泰国。而越南和印度本身也在持续加快自己虾类出口的速度,再加上比泰国有利的生产成本因素,使得他们在虾类出口上仍然是世界领先的地位。

ถึงตรงนี้ ดูเหมือนว่าไทยยากที่จะกลับไปอยู่ในจุดเดิมของตัวเองในวันวาน ที่เราเคยส่งออกกุ้งเป็นเบอร์ 1 ของโลก และการแข่งขันด้านราคา อาจไม่ใช่ทางออกสำหรับเรื่องนี้ เพราะต้นทุนการผลิตของเราสูงกว่าคู่แข่ง แต่หากเรามุ่งไปยังเส้นทางการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เพื่อให้กุ้งไทยกลายเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความมั่นใจที่จะซื้อ ก็อาจทำให้กุ้งไทย สามารถกลับมายืนหนึ่งได้อีกครั้ง หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ เราเลิกโฟกัสว่าจะเป็นที่หนึ่งเรื่องกุ้ง แต่ไปเน้นอย่างอื่น ที่เราได้เปรียบมากกว่าแทน..
看到这里,泰虾似乎已经很难重回往日全球出口第一的辉煌了,价格方面的竞争手段也许已经无法成为出路,因为泰国的生产成本要高于竞争对手。但如果泰国要走给商品增值的路线,让泰虾成为消费者放心购买的商品,可能会让泰虾再次回到冠军宝座。或者另外一个方法就是,不要再纠结于泰虾是否是第一名这件事,去重视其他能够占得优势的方面吧。

原来这些年来泰虾竟然经历了这么多的风波,不知道以后泰虾还会不会重回巅峰状态继续成为世界市场的中流砥柱呢?

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自longtunman,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。