欢迎大家来到看剧学历史知识栏目!《天生一对》都看了吧,那有没有人注意到他们使用的货币是什么呢?我:看剧的时候满脑子都是男女主感情线~~~现在补一下还来得及么?
เปิดเกร็ดความรู้เรื่องระบบเงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนยุคนั้นใช้สิ่งใดซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน และมาตราเงินไทยสมัยนั้นเป็นอย่างไร
开启阿瑜陀耶时期的货币制度知识!当时人们用什么来进行商品交易? 当时泰国的货币系统是怎样的呢?

อันว่า "เงินตรา" ก็คือ วัตถุที่ใช้เป็นตัวกลางในการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งในอดีตเริ่มจากการใช้สิ่งของต่าง ๆ เช่น เมล็ดพืช ลูกปัด เปลือกหอย เรื่อยมาจนถึงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเฉกเช่นปัจจุบัน แต่เชื่อว่าหลายคนที่ได้ชมละครเรื่องบุพเพสันนิวาส เมื่อเห็นแม่หญิงการะเกดรวบรวมเบี้ยไปซื้อมุ้งให้บ่าวไพร่ ก็คงสนใจใคร่รู้ว่า แล้วเงินตราที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นคืออะไร และมีมาตราเทียบอย่างไรบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมขอรวบรวมข้อมูลมาเล่าให้ฟัง
“货币”就是一种在商品买卖交换商品时使用的一般等价物,从一开始使用种子、珍珠、贝壳等物品,到现在用的是硬币和纸币。但相信很多看过《天生一对》,剧里Karagade拿钱给仆人买蚊帐,就很好奇阿瑜陀耶时期使用的是什么货币?怎么兑换的?今天我们就来讲一讲。

  ...ก่อนจะมาถึงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา มนุษย์ได้ประดิษฐ์เงินตราขึ้นมาใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ามานมนานแล้ว ตั้งแต่ยุคฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ 6) ยุคทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11) ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13) และยุคลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12) กระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรสุโขทัย ได้ผลิตเงินพดด้วงขึ้นเป็นครั้งแรกและใช้สืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
...在阿瑜陀耶之前人类早就发明了货币作为交换商品的媒介,扶南时期(佛历6世纪)堕罗钵底时期(佛历11世纪),室利佛逝时期(佛历13世纪)和华富里时期(佛历12世纪),到佛历18世纪素可泰王朝,卜当第一次生产,并一直沿用到曼谷王朝早期。

ดังนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังคงใช้เงินสกุลพดด้วงเช่นเดียวกับที่ใช้ในอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีการใช้เงินประเภทอื่น ๆ ด้วย รวมแล้วเงินตราที่ใช้กันในสมัยอยุธยานั้นมี 4 ชนิดคือ
因此,阿瑜陀耶时期用的卜当应该跟素可泰王朝的一样。 此外,还使用其他类型的货币,总共有4种:

1. เงินพดด้วง
卜当

ทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากัน จัดว่าเป็นเงินตราที่มีมูลค่าสูง เพราะกำหนดมูลค่าเท่ากับน้ำหนักของโลหะที่ใช้ผลิต จึงมักใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศมากกว่าที่ชาวบ้านจะใช้กัน แบ่งเป็น 6 ชนิด คือ ตำลึง บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง และไพ ซึ่งชนิดหนักตำลึงนั้น เนื่องจากมีมูลค่าสูงเกินไป ส่วนชนิดราคากึ่งบาทนั้นมีมูลค่าไม่เหมาะสมแก่ค่าครองชีพ ไม่สะดวกกับการใช้ จึงผลิตขึ้นน้อยมาก และมีเฉพาะในสมัยอยุธยาตอนต้นเท่านั้น
卜当是由银条铸造而成,它的首尾两端被弯到了一起,被认为是一种高价值货币,价值就等于打造这种货币的金属重量,因此更多是在国际贸易中而不是在民间使用,分为四泰铢、一泰铢、二分之一泰铢、四分之一泰铢、十二萨当半、三萨当6种。四泰铢因为价值过高,而二分之一泰铢价值又不适合支付日常开销,使用不方便,所以铸造得很少,仅在阿瑜陀耶早期使用。

ทั้งนี้ มีการสันนิษฐานว่า ที่เรียกชื่อ "เงินพดด้วง" เพราะรูปร่างของเงินเป็นก้อนกลมเหมือนตัวด้วง แต่ชาวต่างประเทศจะเรียกว่า "เงินลูกปืน" (Bullet Money) อย่างไรก็ตาม แม้เงินพดด้วงจะใช้กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เมื่อมาถึงสมัยอุยธยา เงินพดด้วงได้ถูกพัฒนารูปแบบไป ทำให้มีความแตกต่างกันทั้งรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก และชนิดของโลหะ เช่น ขาเงินพดด้วงสั้นลง และตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย มีรอยบากที่ขาเล็กลง และไม่มีรอยบากตรงตัวเงิน
据推测,“卜当”的名称起源是钱的形状是像甲虫一样圆形,外国人叫它“子弹币”(Bullet Money)。总之,虽然素可泰时期就已经开始使用卜当,但是到了阿瑜陀耶时代卜当已经得到发展,它们在形状、大小、重量和金属类型上有所不同,例如长度变短,两端弯曲圆润,不像素可泰卜当那样两端是锋利的切口。

บนตัวเงินพดด้วงจะมีการประทับตราไว้ โดยในสมัยสุโขทัยมีการประทับตราไว้มากกว่า 2 ดวง เป็นรูปสัตว์ชนชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ ทว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนตราประทับใหม่ เหลือเพียง 2 ตรา คือ ด้านบนเป็นตราธรรมจักร อันเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดิน ส่วนด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาล ซึ่งแตกต่างกันไปตามรัชสมัย
卜当币上印有徽章,素可泰时期印有2个以上的徽章,徽章上可以是牛、兔子、海螺、狮子等高级动物的图,到了阿瑜陀耶就只有2个,上面是金法轮圆环,象征国土,前面部分是国徽,因朝代而异。

มีหลักฐานระบุว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใช้ตราธรรมจักรและตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ขณะที่ในรัชสมัยอื่น ๆ มีทั้งตราช้าง ตราบัว ตราพุ่มดอกไม้ ตรากระต่าย ตราช่ออุทุมพร ตราราชวัตร ตราพระซ่อมดอกไม้ ตราสมอ ตราหางหงส์ และตราครุฑ ซึ่งไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าตราใดเป็นของรัชกาลใด
有资料记载,那莱大帝在位期间,用的是金法轮圆环和稻穗徽。其他朝代有象徽、莲花徽、花丛徽、兔徽、乌通蓬花束徽、Rajawat 徽章、Phra Som Dokmai 徽、船锚徽、凤尾徽和金翅鸟徽,这些都无法肯定是属于哪个朝代。

อีกสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เงินพดด้วงในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะมีมาตรฐานเท่ากัน ทั้งรูปร่าง น้ำหนัก และการประทับตรา เนื่องจากรัฐเป็นผู้ผูกขาดในการผลิต
另外,阿瑜陀耶时期的卜当币形状、重量和徽章都是同样的标准,由政府统一发行。

2. เบี้ย
贝币

เบี้ยคือเปลือกหอยเล็ก ๆ ซึ่งพบหลักฐานว่า ชาวต่างชาติที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาซื้อ-ขายสินค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำเปลือกหอยจากหมู่เกาะมัลดีฟส์มาใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูงมากนัก การใช้เบี้ยจึงเป็นที่แพร่หลาย รวมทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตราปลีกย่อย
贝币是微小的贝壳,有历史记载,跨海到东南亚经商的外国人,带来了马尔代夫的贝壳用作交换低价值商品的媒介。 因此,贝币得到广泛使用,包括阿瑜陀耶王朝也把贝币作为零售货币。

ทั้งนี้ เงินเบี้ยเป็นเงินปลีกที่มีมูลค่าต่ำสุดในระบบเงินตรา มีอัตราประมาณ 100 เบี้ยต่อ 1 อัฐ (เท่ากับ 1 สตางค์ครึ่ง) ชาวบ้านจึงมีไว้ใช้กันได้ แต่สำหรับชนชั้นปกครอง จะใช้เบี้ยเป็นตัวกำหนดค่าปรับทางกฎหมายเพื่อควบคุมไพร่หรือทาสที่กระทำผิด
贝币是货币体系中的价值最低的,每 1 att 约等于 100 贝币(约 1 萨当半),百姓日常使用,而统治阶级则用来征收罚款,以管理违法的无产阶级或奴隶。

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหอยเบี้ยจะได้มาจากท้องทะเลเท่านั้น ดังนั้นเบี้ยที่เข้ามาในสยามต้องผ่านมาทางพ่อค้าชาวต่างชาตินำเข้ามาขาย โดยหอยเบี้ยที่นำมาใช้มี 2 ชนิด คือ เบี้ยจั่น และเบี้ยนาง ทำให้บางครั้งเกิดการขาดแคลนเบี้ยขึ้น เป็นเหตุให้ในบางช่วงเวลา เบี้ยที่นำเข้ามาซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าก็จะมีราคาแพงตามไปด้วย เช่น อาจมีราคา 600-1,000 เบี้ยต่อ 1 เฟื้อง
然而,因为贝类来自大海,因此暹罗的贝币只能从外国商人那买。 贝币有 2 种,即 Bia Chan 和 Bia Nang,有时会出现贝币短缺,这就是为什么有时候贝币进口费比较贵,如每十二萨当半等于600-1000贝币。

3. ไพและกล่ำ
铜币

ไพและกล่ำเป็นเงินตราที่ทำจากโลหะที่ไม่ใช่เงิน เช่น ทองแดง ทองเหลือง จึงมีมูลค่าต่ำกว่าเงินพดด้วง และด้วยมูลค่าที่ไม่สูงมากไป ชาวบ้านจึงสามารถนำมาใช้ได้ง่าย โดยมาตราเงินสมัยกรุงศรีอยุธยาระบุไว้ว่า 2 กล่อม เท่ากับ 1 กล่ำ, 2 กล่ำ เท่ากับ 1 ไพ
铜币(分为pai和Klam)是由铜、黄铜等非金银的金属制成的货币,因此价值不太高,低于卜当,方便百姓。 阿瑜陀耶时期的货币部分指出,2 klam = 1 klam,2 klam =1 pai。

4. เงินประกับ
陶币

เงินประกับคือเงินปลีกทำจากดินเผา มีรูปร่างกลม มีตราประทับเป็นรูปต่าง ๆ คือ ดอกบัว กินรี กระต่าย ราชสีห์ ถูกนำมาใช้แทนเบี้ยเมื่อยามขาดแคลน ดังในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่เกิดสภาวะขาดแคลนเบี้ยขึ้น จึงต้องผลิตประกับดินเผาขึ้นมาใช้แทนในช่วงระยะหนึ่ง จนเมื่อมีพ่อค้านำหอยเบี้ยเข้ามาขายก็กลับมาใช้เบี้ยตามเดิม
陶币是用陶土铸成的硬币,形状呈圆形,印成各种形状,即莲花、女性人鸟、兔子、狮子,在贝币短缺时使用。如波隆摩閣国王陛下在位时,贝币短缺不得铸造陶币代替一段时间,直到商人带来新一批贝币,他们才恢复使用贝币。
สำหรับมาตราเงินตราไทยที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นดังนี้
阿瑜陀耶货币换算如下:
          1 ชั่ง = 20 ตำลึง
          1 ตำลึง = 4 บาท
          1 บาท = 4 สลึง
          1 สลึง = 2 เฟื้อง
          1 เฟื้อง = 4 ไพ
          1 ไพ = 2 กล่ำ = 200 เบี้ย
          1 กล่ำ = 2 กล่อม = 100 เบี้ย
          1 กล่อม = 50 เบี้ย

话说贝币真的好漂亮,晶莹剔透的,拿在手里冰冰凉凉的,一看就是宝贝,这局我投贝币一票!