大家都知道“那伽”在泰国文化中的分量,它独具特色的形象在泰国的各个地方都能看到,不知道大家知不知道,就连即将要出家的泰国男子也会被叫做“那伽”,大家知道为什么吗?人为什么会是那伽呢?今天我们就来好好了解一下。

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมจึงเรียกผู้ชายที่เตรียมอุปสมบทว่า “นาค”ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าคำนี้ใช้เมื่อไหร่ จะได้เรียกกันถูก “นาค” คือ ชายผู้ที่ได้โกนผม ห่มผ้าขาว ถือศีล เตรียมพร้อมจะบวชอุปสมบทในพระอุโบสถ โดยจะต้องผ่านขั้นตอน ‘ทำขวัญนาค’ ‘ขานนาค’ หรือ ‘บวชนาค’ เสียก่อน จึงจะสำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้
有没有曾经怀疑过,为什么要把准备出家的人叫做“那伽”?首先我们要知道这个词是什么时候开始用的才能正确使用。“那伽”指的是已经剃发、穿白衣、持戒律、准备进入佛殿举行出家仪式的男性,需要通过“那伽喊魂”的流程,才能彻底出家成为僧侣。

การเรียกผู้ชายที่เตรียมบวชว่า”นาค”นั้นมีที่มา ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ กล่าวถึงการบวชนาคไว้ว่า สมัยครั้งพุทธกาล พญานาคเคยปลอมตัวเข้ามาบวช หวังจะบรรลุธรรม แต่ภายหลังถูกจับได้จึงถูกขับไล่ให้ลาสิกขา เนื่องจากผิดกฎเพราะเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่มีสิทธิ์บวช พญานาคจึงขอร้องต่อพระพุทธเจ้าว่า ต่อไปในภายภาคหน้า แม้นาคจะบวชไม่ได้ก็ขอให้ผู้ที่มีกำลังเตรียมตัวเพื่อจะบวชนั้นมีชื่อเรียกว่านาค
将准备出家的男性成为“那伽”在巴利三藏经第四册和律藏经第四册中提到,在佛陀时代,那伽曾经乔装来出家,想到得佛道,但是后来被发现了,不得不还俗,因为违反了佛法中动物不能出家的规定,那伽于是向佛祖请求,虽然那伽不能出家,但是请求将准备出家的人称为那伽。

นี่จึงเป็นที่มาของประเพณี ” ทำขวัญนาค หรือ ขานนาค ” ให้แน่ใจว่าผู้ที่จะมาบวชนั้นไม่ใช่พญานาค แต่เป็นคนอย่างแน่นอน ในการบวชจึงมีระเบียบว่าพระคู่สวดสององค์จะต้องพาผู้บวชออกไปสอบสวนนอกประตูพระอุโบสถ ในคำสอบสวนนั้นมีคำถามหนึ่งถามว่า “มนุสฺโส สิ?” แปลว่า เจ้าเป็นคนหรือเปล่า?
这就是“那伽喊魂”习俗的来源,可以肯定的是要出家的人并不是那伽,肯定是人。于是,在出家的仪式当中会有两位僧侣带着将要出家的人在佛殿门外询问,询问的问题中就有一个:“你是不是人?”

ดังนั้นแล้วคำว่า”นาค”จึงไม่ได้มีความหมายถึงแค่เพียง “งูใหญ่” แต่ยังหมายถึง “มนุษย์ผู้ที่ได้รับการยอมรับเพื่อเข้าสู่สมณเพศต่อไป” ซึ่งขั้นตอนพิธีกรรมบวชนาคนี้พบได้เพียงในบริเวณประเทศพม่า, ไทย, ลาว และกัมพูชาเท่านั้น แต่ในประเทศอินเดียหรือแถบชมพูทวีปกลับไม่พบว่ามีพิธีกรรมขั้นตอนนี้เลย
所以这里的“那伽”并不仅仅是大蛇的意思,而是“准备好出家的人”,这种那伽出家的仪式只能在缅甸、泰国、老挝和柬埔寨见到,在印度反而完全没有这样的仪式。

หากแต่มองคำว่า”นาค”ในแง่ของวัฒนธรรมทางภาษาแล้ว จากการสืบค้นพบว่า คำว่า‘นาค’มีรากมาจากคำว่า ‘นอค’ (Nog) ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป ที่ภาษาอังกฤษก็นำมาใช้โดยกลายเป็นคำว่า ‘nakes’ มีความหมายเดียวกันว่า “เปลือย,แก้ผ้า” และจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ระบุคำว่า “ภิกษุ” แปลว่า “ผู้ทำลายกิเลส” ซึ่งเมื่อเข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว ก็ต้องโกนคิ้ว โกนผม ละเว้นเครื่องประทินผิว ละเว้นเครื่องหอม ละเว้นชุดชั้นใน ละวางการยึดติดจากรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส ดังนั้นแล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ? ‘นาค’ ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป จะมีความเชื่อมโยงกันกับข้อปฏิบัติเหล่านี้ของการครองเพศบรรพชิตในการสื่อความหมายถึงการ “ละวางซึ่งกิเลสทั้งปวง ” ?
如果来看“那伽”这个词在语言文化中的含义,可以发现,“นาค”这个词的词根是印欧语系的“นอค (Nog)”,在英语中演变为“nakes”,意思是“裸露的,不穿衣服的”。根据佛学词典,“ภิกษุ”的意思是“消灭贪欲的人”,当成为僧人后,需要剃掉眉毛头发,禁止使用护肤品和有香气的用品,不穿内衣,放下对声色形以及触感的执念。所以,有没有可能,印欧语系中的“那伽”是不是和僧侣的戒律相关,“放下所有贪欲”。

 

大家对于泰国的“那伽”文化了解多少呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自mthai,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。 s s