泰国榴莲在中国一直都很受欢迎,许多人去泰国旅游也都特别希望品尝一次正宗又便宜的泰国榴莲,可以说榴莲的热度一直不减,泰国也一直稳坐中国榴莲进口第一的宝座。但近几年来,其他东南亚国家的榴莲商品也开始出现在大众视野中,并且给泰国榴莲带来了不小的挑战。

“ทุเรียนไทย ดังไกลถึงเมืองจีน” คำพูดนี้ ก็คงไม่ผิดนัก เพราะทุเรียนเป็นหนึ่งในผลไม้ของไทย ที่คนจีนชื่นชอบเป็นอย่างมาก ซึ่งจีน ก็เป็นตลาดที่มีการบริโภคทุเรียนมากถึง 90% ของทุเรียนทั่วโลก และประเทศไทยเอง ก็ได้รับสิทธิ์ผูกขาดการส่งออกทุเรียนสดไปยังจีน มาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี
“泰国榴莲,漂洋过海闻名中国。”这句话并没有错,因为榴莲是一种中国人十分喜爱的泰国水果。而中国也是承包了泰国榴莲全世界90%销售量的市场,泰国也得到了垄断将新鲜榴莲出口到中国的权利,这种情况已经长达近10年了。

แต่ในวันนี้ ทุเรียนจากไทยกำลังเจอความท้าทายสำคัญ และอาจไม่ใช่วันที่ทุเรียนบ้านเรา สามารถครองใจคนจีนได้เต็มที่อีกต่อไป
อะไรคือ ความท้าทายสำคัญของทุเรียนไทย คู่แข่งแย่งตลาดจีน น่ากลัวมากแค่ไหน ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
但在如今,泰国榴莲正在经历一场重大挑战,或许泰国榴莲已经没办法继续全面俘获中国人的心了。那么什么是泰国榴莲重大的挑战,抢占中国市场的竞争对手究竟有多可怕?我们将说给你听。

ทุเรียน เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของไทยมานาน เพราะมีกลิ่น รสชาติ และรูปร่างที่โดดเด่น เช่น ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนก้านยาว หรือสายพันธุ์อื่น ๆ โดยเรามีการส่งออกทุเรียนไปยัง 3 ตลาดหลัก ได้แก่
- จีน 96%
- ฮ่องกงของประเทศจีน 3%
- อื่น ๆ เช่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ 1%
ชัดเจนว่าทุเรียนไทย พึ่งพาตลาดจีนเกือบทั้งหมด และหากเราเดินผ่านคนจีน ทุก ๆ 100 คน จะมีคนจีนที่ชอบกินทุเรียนอย่างน้อย 8 คน แม้ว่าสัดส่วนอาจดูไม่เยอะมากนัก แต่หากเทียบกับประชากรจีน ที่มีมากถึง 1,400 ล้านคน เท่ากับว่ามีคนจีนที่ชอบกินทุเรียนมากถึง 112 ล้านคน เลยทีเดียว
榴莲是泰国出名已久的水果,因为其香气、味道、和外形都十分出色,有金枕榴莲、长柄榴莲和其他品种。泰国榴莲出口的三个主要市场为:
- 中国 96%
- 中国香港 3%
- 其他,如:马来西亚、韩国等 1%
很明显,泰国榴莲几乎全部都在依靠中国市场,如果我们每遇到100个中国人,就会有至少8个人喜欢吃榴莲。虽然比例看起来并不高,但如果与中国14亿的人口相比,就相当于喜欢吃榴莲的中国人数量高达1.12亿。

หากเราลองไปดูการนำเข้าทุเรียนของจีนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะทุเรียนสด
- ปี 2011 ปริมาณการนำเข้า 210,938 ตัน มูลค่าการนำเข้า 7,821 ล้านบาท
- ปี 2021 ปริมาณการนำเข้า 821,589 ตัน มูลค่าการนำเข้า 145,000 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าทั้งปริมาณ และมูลค่าการนำเข้าทุเรียนสดของจีน มีการเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และกว่า 9 ใน 10 ของผลผลิตก็มาจากไทยอีกด้วย
如果我们观察近10年来中国对于榴莲的进口数据,尤其是新鲜榴莲,即:
- 2011年进口数量为21.0938万吨,进口总额78.21亿泰铢。
- 2021年进口数量为82.1589万吨,进口总额1450亿泰铢。
可以发现,不管是中国新鲜榴莲的进口数量还是进口总额都有了跨越式地增加,而且其中九成多的产品都是来自泰国。

อย่างไรก็ตาม หากลองมองไปในอนาคต อนาคตของทุเรียนไทยก็มีความเสี่ยงรออยู่เหมือนกัน เรื่องแรกเลยคือ “จีนเปิดกว้างการนำเข้าทุเรียนสดมากขึ้น” ช่วง 10 ปีมานี้ ไทยเป็นประเทศเดียว ที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดได้แบบไม่เสียภาษี แต่ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ย่อมาจาก Good Agricultural Practice หรือรับประกันว่ามีการปลูก เก็บเกี่ยว และขนส่งอย่างเหมาะสม
可不管怎样,如果展望未来,泰国榴莲的未来同样有风险在前方等候。第一个风险就是“中国放开了新鲜榴莲的进口范围”。10年来,泰国是唯一一个中国允许进行免关税进口新鲜榴莲的国家,但是必须保证商品符合GAP(良好农业规范)标准,也就是说要保证适宜的种植、收割、运输过程。

แต่ในปัจจุบัน เวียดนามและฟิลิปปินส์ได้รับสิทธิ์ส่งออกทุเรียนสดได้แล้ว ส่วนมาเลเซียก็ได้รับสิทธิ์ให้ส่งออกไปยังจีนทั้งลูกเช่นกัน เท่ากับว่า คนจีนมีทางเลือกในการกินทุเรียนจากประเทศอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น จากแต่ก่อนที่จะมีเพียงทุเรียนจากไทย
但现在越南和菲律宾也得到了新鲜榴莲的出口资格,而马来西亚也有权将整个榴莲出口至中国。也就是说,中国人吃榴莲有了更多其他国家的选择,而从前市场中只有泰国榴莲。

เรื่องต่อมาคือ “ผลผลิตของคู่แข่ง ใกล้เคียงกับไทยมากขึ้น” หากลองเทียบ ผลผลิตทุเรียนของประเทศคู่แข่งของเรา ปี 2021 ที่ผ่านมา
- อินโดนีเซีย 1,370,000 ตัน
- ไทย 1,200,000 ตัน
- เวียดนาม 642,600 ตัน
- มาเลเซีย 448,000 ตัน
จะเห็นได้ว่า คู่แข่งทุเรียนไทย สามารถปลูกทุเรียนได้ใกล้เคียงกับไทยมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม ที่มีการปลูกทุเรียนไล่ตามขึ้นมา หรืออย่างมาเลเซียเอง ก็มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศที่เคยปลูกปาล์มน้ำมัน หันมาปลูกทุเรียนที่ได้ราคาขายที่ดีกว่า
下一个风险是“竞争对手的产品更加接近泰国”。对比一下2021年生产榴莲的存在竞争关系的国家,即:
- 印度尼西亚 137万吨
- 泰国 120万吨
- 越南 64.26万吨
- 马来西亚 44.8万吨
不难看出,泰国榴莲的竞争对手已经越来越能够种植与泰国数量相近的榴莲,尤其是越南,他们的榴莲种植量正在奋起直追。或者马来西亚,他们也鼓励曾经种植棕榈树的农民转而种植能卖出更好价格的榴莲。

และแม้ว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย มีการบริโภคทุเรียนในประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้การส่งออกยังไม่สูงมากนัก แต่จีนเอง ก็อนุญาตให้มีการนำเข้าทุเรียนจากประเทศเหล่านี้ได้ ทำให้ในอนาคต ทุเรียนไทยอาจโดนแย่งส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้นก็เป็นได้
虽然马来西亚和印度尼西亚自己国内的榴莲消费量也很大,所以出口量还不多,但中国还是允许进口这些国家的榴莲,这使得在未来泰国榴莲可能会被分走更多市场份额。

และเรื่องสุดท้ายคือ “ต้นทุนการผลิตทุเรียนไทย แพงกว่าประเทศอื่น” โดยต้นทุนการผลิตทุเรียนไทย อยู่ที่ราว 1 ใน 4 ของราคาขาย เมื่อลองเทียบกับเวียดนาม ที่มีต้นทุนการผลิต คิดเป็น 1 ใน 5 ของราคาขาย
最后一个风险是“泰国榴莲的生产成本高于其他国家”。泰国榴莲的生产成本大约是售出价格的四分之一,与越南相比较,越南的生产成本则是售出价格的五分之一。

หากแข่งขันด้านราคา ทุเรียนไทยจะเสียเปรียบเวียดนาม เพราะเวียดนามมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่านั่นเอง สาเหตุก็เพราะว่า ทุเรียนจากเวียดนามสามารถส่งออกทางบกได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีชายแดนติดกับจีนโดยตรง ทำให้มีต้นทุนการขนส่งถูกกว่า รวมทั้งยังมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนค่าแรงที่น้อยกว่าอีกด้วย
如果在价格上竞争,泰国榴莲将在越南面前失去优势,因为越南的生产成本更低。原因在于,因为越南国土与中国直接接壤,所以越南榴莲可以通过陆路运输快速出口,运输成本也就更低,同时加上更低的劳动力成本,越南的优势就更加明显。

แต่หากจะแข่งขันเรื่องคุณภาพ ทุเรียนจากมาเลเซียที่มีชื่อว่า “ทุเรียนมูซานคิง” สามารถขายในราคาที่สูงกว่าทุเรียนหมอนทองจากไทยถึง 4 เท่า ซึ่งคนจีนก็นิยมกินทุเรียนจากมาเลเซียอยู่ไม่น้อย แม้ราคาจะแพงกว่าทุเรียนจากไทย เพราะมีการทำการตลาดให้คนจีนจดจำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง ถึงตรงนี้ ก็น่าติดตามต่อเหมือนกันว่า อนาคตของทุเรียนไทยในตลาดจีน จะเป็นไปในทิศทางไหน ท่ามกลางคู่แข่งที่ดูเหมือนจะกำลังแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น..
但如果要在质量上竞争,来自马来西亚的“猫山王榴莲”卖出的价格可以比泰国的金枕榴莲高出4倍,而中国人同样也很喜欢吃来自马来西亚的榴莲。虽然价格要比泰国的贵,但他们在进驻市场时就持续地加深中国人对他们优势的印象。言至于此,我们同样需要继续关注,在看似更加强劲的众多竞争对手中,泰国榴莲在中国未来究竟走向如何?

 

尽管过去泰国榴莲在中国市场中占据了足够大的份额,但随着其他国家的榴莲商品扩大对中国的出口,若没有更多在价格和质量上的优势,泰国榴莲在中国市场或许将难以维持现在的地位。

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自longtunman,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。