一.泰语中的高棉语构词法
การส้ราวคำตามวิธีของภาษาเขมร


ภาษาเขมรมีวิธีส้รางคำหลายวิธี เมื่อเรารับคำเขมรมาใช้ เราก็นำวิธีส้รางคำของภาษาเขมรมาใช้ รวมทั้งรับปรับปรุงศัพท์เสร็จแล้วมาใช้ด้วย 高棉语在构词上有很多方法,当我们用到高棉语时,我们就用这些构词方法和变形来理解。

การส้รางคำตามวิธีของภาษาเขมร มีดังนี้ 造词方法有如下几种:
1.ลงอุปสรรค คือ ลงหน่วยหน้าศัพท์ ได้แก่ 加前缀
1.1 ลงอุปสรรค บํ(บ็อม) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น บัง บัน บำ เช่น  在词语前面加บํ的前缀,其中可以有บัง บัน บำ这几种写法 
เกิด -- บังเกิด คม-- บังคม(ไหว้) คัล --บังคัล (เฝ้า) ควร - - บังควร เดิน- - บันเดิน (ทำให้เดิน) โดย --บันโดย (เอาอย่าง) วาย -- บังวาย(ทำให้เสื่อมเสีย) เพ็ญ -- บำเพ็ญ(ทำให้เต็มบริบูรณ์) เหิน-- บังเหิน(เหาะ) เหตุ - - บังเหตุ(ทำให้เป็นเหตุ)
(注:1.以上举例当中前面的词为词根,后面是经过添加前缀而新构成的词,新词和词根的意义有很大联系,但也有一些变化,比如เกิด是生 ,出生 ,发生的意思,而บังเกิด意为 使其出生,发生,2.后面括号为该词的泰语解释).
อุปสรรค(前缀) บํ เปลี่ยนเป็น บัง บัน บำ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้(前缀บํ放在词根前变成บัง บัน บำ的时候要遵循一下几个原则)
1) บํ อยู่หน้าพยัญชนะวรรค ก หรือเศษวรรค เปลี่ยนเป็น บัง เช่น
บังเกิด บังวาย บังควร บังเหิน บังอาจ
2) มีบางคำที่ บํ อยู่หน้าพยัญชนะเศษวรรค เปลี่ยนเป็น บัน เช่น
บันลือ บันเหิน(บังเหินก็ได้ )
3) บํ อยู่หน้าพยัญชนะวรรค ต เปลี่ยนเป็น บัน เช่น บันดล บันดาล บันโดย
(บํ在พยัญชนะวรรค ต 的前面时变成บัน)
4) บํ อยู่หน้าพยัญชนะวรรค ป เปลี่ยนเป็น บำ เช่น บำบัด บำเพ็ญ บำบวง
(บํ在พยัญชนะวรรค ป 的前面时变成บำ)
(5) คำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ ที่มิได้จากอุปสรรค มิได้อยู่ในกฏนี้ (以บัง บัน บำ开头的单词, 但是不属于这种构词法的有)
เช่น
เผอ็ญ -- บังเอ็ญ เปรอ -- บำเรอ ปราศ -- บำราศ

2.ลง อาคม(หมายถึงเต็มกลาง)หรือหน่วยกลางคัพท์ (在词根中间添加)

  2.1 ลง ํน (อำน) ระห่วางพยัญชนะต้นของคำ
(在单词的基础辅音后面加 ํ 后提出来放在前面,并在其位置上添加น构成新词) เช่น
เกิด --กำเนิด คัล -- คำนัล (เฝ้าเจ้านาย)
จง -- จำนง จอง -- จำนอง
เจียร( จิร บ.ส )-- จำเนียร( ช้านาน)
ชาญ -- ชำนาญ เดิน -- ดำเนิน
ตัก -- ตำหนัก (ตัก -ฎัก ช. =ใส่ วาง พักไทย ใชัตักบาตร)
ติ -- ตำหนิ ทบ -- ทำนบ (ทบ ช. = กั้น)
ทาย-- ทำนาย ทูล -- ทำนูล
อวย -- อำนวย อาจ -- อำนาจ


  2.2 เติม ํ (อำ) หรือ นฤคหิตอาคม ระหว่างพยัญชนะต้นที่เป็นพยัญชนะประสม (复合辅音) บาวคำก็เปลี่ยนพยัญชนะต้นด้วย (在词根基础辅音后面添加 ํ 其中有些辅音可能会发生一些变化)
กรอ -- กำรอ (เข็ญใจ) กราบ -- กำราบ
เจริญ -- จำเริญ ตรวจ -- ตำรวจ
ตรง -- ดำรง (เปลี่ยน ต- ด) ทรุด (ช.สรุต) -- ชำรุด (เปลี่ยน ท -ช)
แทรก -- ชำแรก (เปลี่ยน ท- ช) ปรุง -- บำรุง (เปลี่ยน ป- บ)
เปรอ -- บำเรอ (เปลี่ยน ป- บ) เถกิง -- ดำเกิง (เปลี่ยน ถ- ด)
ถกล -- ดำกล (เปลี่ยน ถ- ด) ถวาย -- ตังวาย (เปลี่ยน ถ- ต ํ - ํอัง)

  2.3 เฉพาะพยัญชนะเสียงหนัก(重音或浊音)คือพยัญชนะแถว ๒ ได้แก่ ช ฉ   ให้เติมนฤหิตกลางศัพท์ เปลี่ยน ช เป็น ก ฉ เป็น จ และเพิ่ม ห เช่น
แช็ง -- กำแหง ฉัน -- จำหัน

  2.4 ในคำที่พยัญชนะเป็น ร เติมพยัญชนะ บ ใส่สระ อะ ที่พยัญชนะต้น เช่น(在以ร为基础辅音的词后面加元音อะ提出来放在前面,原来的位置上添加บ构成新词)
 รำ -- ระบำ ราย -- ระบาย ราญ -- ระบาญ รำบาญ
เรียง -- ระเบียง เรียบ -- ระเบียบ

  2.5 เติมพยัญชนะ ง น ร ล ลงในคำที่พยัญชนะต้นมิใช่เป็นพยัญชนะประสม หรือเป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น(在不是复合辅音的基础辅音后面添加ง น ร ล)
ผก -- ผงก ชัน -- ชนัน (ผูก รัด ) พัก -- พนัก
จด -- จรด   จูง -- จรูง จรุง      
ถก -- ถลก    ถาก -- ถลาก
จึงสรุปได้ว่าการสร้างคำตามวิธีการของภาษาเขมรนั้น ใช้วิธีการลงอุปสรรค คือ การลงหน่วยหน้าคำศัพท์ และการลงอาคม คือ การลงหน่วยกลางศัพท์ดังกล่างข้างต้น