新华网曼谷11月29日电(记者 黎藜)世界银行一名经济学家29日说,泰国遭遇历史罕见的特大洪水灾害,导致经济遭到重创,重建费用预计将达到7560亿泰铢(约合241亿美元)。

基里帕说,泰国政府预计将花费2470亿泰铢(约合78.8亿美元)用于短期重建,3860亿泰铢(约合123.2亿美元)将用于中期重建,另外1230亿泰铢(约合39.2亿美元)用于长期重建。

基里帕预计,洪水灾害导致泰国损失1.3万亿泰铢(约合414亿美元),其中工业损失最为惨重,大约9300亿泰铢(约合296亿美元),旅游业损失940亿泰铢(约合30亿美元)。今年泰国国内生产总值预计增长2.4%,低于先前预计的3.6%。但她认为,由于各项重建措施相继启动,2012年泰国经济将增长4.0%,高于先前预计的3.7%。

当天,泰国国家经济和社会发展局发布报告说,持续4个多月的洪水灾害将导致今年第四季度失业率升至1.8%至2.3%,73万至90万人面临失业,其中40万至60万人为外国人,电子和汽车等产业失业率最高。

以下是泰国i-Newspaper新闻网原文:

เวิลด์แบงก์มั่นใจต่างชาติไม่ย้ายฐานหนีไทย ชี้ยังเป็นประเทศที่มีความง่ายต่อการทำธุรกิจในการจัดอันดับ ประเมินไทยต้องใช้เม็ดเงิน 7.55 แสนล้านบาทฟื้นฟูประเทศช่วง 2 ปีข้างหน้า ชี้เอกชนไทยอ่วมทั้งความเสียหายบวกความสูญเสียหนักสุดกว่า1.27ล้านล้านบาท

นางแอนเน็ต ดิกสัน ผู้อำนวยการธนาคารโลกในไทย ให้ข้อเสนอแนะในรายงานการประเมินความเสียหายและความสูญเสียของไทยจากเหตุอุทกภัยครั้งนี้ว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทย มีนโยบายการคลังอย่างระมัดระวัง ทำให้รัฐบาลมีเงินทุนมากเพียงพอใช้ฟื้นฟูหลังน้ำท่วมได้อย่างครอบคลุม ภัยพิบัติครั้งนี้จึงช่วยให้ไทยเรียงลำดับความสำคัญใหม่ ถึงความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการฟื้นฟู

รัฐบาลมีเงินลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาไทยลงทุนน้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน และทางเวิลด์แบงก์เองเคยเสนอให้รัฐบาลและเอกชนลงทุนเพิ่มอีก นางดิกสันกล่าว สอดรับกับนางสาวเอคาทารินา วอสโตรคุนโทวา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลก ประจำเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ที่ว่าจากการศึกษาสัดส่วนการลงทุนต่อจีดีพีปีนี้ของไทยต่ำกว่า 20% สะท้อนว่าไทยยังมีช่องให้ลงทุนได้อีกกว่าจะถึงระดับ 25%ของจีดีพี ซึ่งหมายถึงการลงทุนเต็มที่โดยเฉลี่ยของประเทศต่างๆ ภูมิภาค

ต่อข้อถามที่ว่าความสูญเสียกับความเสียหาย จะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ย้ายไปประเทศอื่นหรือไม่นั้น นางแอนเน็ต กล่าวว่า ในภาพกว้างเชื่อไทยยังเป็นที่ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ไม่คิดว่าจะมีนักลงทุนประเทศใดย้ายออกจากไทย เพราะเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ โดยดูจากความง่ายในการทำธุรกิจจากการจัดอันดับของธนาคารโลก ไทยอยู่อันดับดีคงจะไม่ย้ายไป เพราะภัยพิบัติและยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนในสายตานักลงทุนชี้น้ำท่วมสูญ 1.36 ล้านล้านบาท

น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) กล่าวให้ข้อมูลรายละเอียดในรายงานการวางแผนฟื้นฟูและการฟื้นตัวสำหรับประเทศไทยจากเหตุน้ำท่วมปี 2554 เมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) ว่า จากการใช้เวลารวดเร็ว 3 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 17-25 พ.ย. ปีนี้ สำรวจ 26 จังหวัดได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไล่ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมา พบว่า ความเสียหาย (Damages) กับความสูญเสีย (Losses) ในเบื้องต้น มีทั้งหมด 1,365,810 ล้านบาทหรือเทียบสัดส่วน 100% แยกเป็นของภาคเอกชนความสูญเสียกับเสียหายมากถึง 94% หรือ 1,275,400 ล้านบาท และที่เหลือเพียง 6% หรือ 81,400 ล้านบาทเป็นของภาครัฐ

และหากแยกดูความเสียหายและสูญเสียเป็นรายภาคจากทั้งหมด 1,365,810 ล้านบาท อยู่ในภาคการผลิตมากสุดประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่วนภาคการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเรื่องความเสียหาย

ประเมินใช้เงินฟื้นฟู 7.56 แสนล้าน

น.ส.กิริฎา กล่าวถึงการคำนวณเงินที่ต้องใช้ตามความจำเป็นเพื่อการฟื้นฟูและฟื้นตัวโดยรวม ซึ่งแบ่งออกเป็นระยะเวลา3ช่วง คือ ระยะ6เดือนข้างหน้าต้องใช้ 246,554ล้านบาท ระยะ6-24 เดือนข้างหน้าต้องใช้ 386,465 ล้านบาท และระยะ24เดือนข้างหน้า หรืออีก 2 ปี จากนี้ไปต้องใช้เงินลดลงเหลือ 123,315ล้านบาท ดังนั้นรวมวงเงินต้องใช้ฟื้นฟูและฟื้นตัว เพื่อให้เศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นแข็งแกร่งมากขึ้น จากทั้ง3ระยะดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 756,374 ล้านบาท แยกเป็นการใช้จ่ายของภาคเอกชน 5.2แสนล้านบาท ที่เหลือราว 2.35 แสนล้านบาทเป็นรัฐ ซึ่งคิดเป็น 5%ของรายได้รัฐในปีงบประมาณ 2556

ส่วนมูลค่าได้รับผลกระทบต่อจีดีพีของไทย ทั้งความเสียหายและความสูญเสียบางอย่างอาจเป็นผลบวกและบางอย่างเป็นผลลบ ซึ่งปีนี้ที่ได้ผลลบกระทบเต็มๆยังคงไม่ก่อสร้างอะไร ส่งผลกระทบต่อจีดีพีลดลง1.2% ทำให้จีดีพีเคยคาดไว้ก่อนน้ำท่วม3.6%ลดเหลือเพียง2.4%ปีนี้ ส่วนปีหน้าหรือปี2555เคยคาดการณ์จีดีพีไทยไว้3.7%แต่การช่วยซ่อมแซมสิ่งเสียหายหนุนจีดีพีปีหน้าเพิ่ม0.3%จึงขยับคาดการณ์จีดีพีเป็น4% และในปี2556คิดว่าการก่อสร้างมีมากช่วยจีดีพีเพิ่มขึ้น1%จากคาดการณ์เดิม4.5% ทำให้จีดีพีเติบโตเป็น5.6%

รัฐสูญรายได้2-3.6%

น.ส.กิริฎา ยังอธิบายถึงผลกระทบที่มีต่อรายรับกับรายจ่ายของภาครัฐ เพื่อการเยียวยาหลังน้ำท่วมช่วงปี2554-2556 พบว่า ส่วนรายรับของรัฐหลังเหตุน้ำท่วม ทำให้ไม่มีการผลิตการบริโภคก็ลดลง รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลงส่งผลให้รายได้รัฐลดลงอยู่ระหว่าง 2-3.6% ของคาดการณ์รายได้หลังน้ำท่วม โดยปีนี้ลดลง 3.6% ในปี 2555 ลดลง 2.8% และในปี 2556 ลดลง2%

ในส่วนของรายจ่ายแยกดูจากความเสียหายกับความสูญเสียที่คาดไว้ใน 4 ส่วนหลัก คือ โครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ด้านการผลิต ด้านสังคมและด้านเกี่ยวข้องกับทุกส่วนอย่างสิ่งแวดล้อม พบว่าเป็นความเสียหาย 640,049 ล้านบาท และความสูญเสีย 716,761 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,356,810 ล้านบาท

ชี้ก.ม.เปิดช่องรัฐกู้เพื่อฟื้นฟู

ต่อข้อถามที่ว่า ความจำเป็นต้องใช้เงินกว่า7แสนล้านในการฟื้นฟูควรกู้เงินจากไหนเพื่อให้มีใช้เพียงพอนั้น น.ส.กิริฎากล่าวว่าจากที่ได้คำนวณดูเพดานรัฐกู้ได้เท่าไหร่ตามกฎหมายปัจจุบัน พบว่าถ้าจะกู้เพิ่มเพื่อให้ครอบคลุมความสูญเสียกับความเสียหายตั้งแต่ปี2554-2556 ในแต่ละปีซึ่งตกปีละ2หรือ3แสนล้านบาท เชื่อว่ารัฐมีช่องว่างอิงจากกฎหมายปัจจุบัน ยังให้กู้ได้อีกโดยไม่เกินเพดาน แต่จะกู้จากในหรือต่างประเทศนั้นคงแล้วแต่ภาครัฐพิจารณาเอง นอกจากนี้จากการประมาณการในภาคการเงินไทยยังมีสภาพคล่องเพียงพอ จึงไม่คิดว่าจะมีสภาพตึงตัวในความต้องการเงินทุนของภาครัฐและเอกชน

เงินเฟ้อปี55ไม่น่าห่วง-ขึ้นไม่แรง

น.ส.กิริฎายังให้ความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากน้ำท่วมปลายปีนี้ ไม่น่าจะส่งผลให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงไปมากกว่าปีนี้ เพราะจากการประเมินแบบรวดเร็วถึงความเสียหายกับความเสียหายเกิดในปีนี้ คิดว่าไตรมาสแรกปีหน้าการผลิตจะกลับมาเหมือนเดิม การสูญเสียลดลง การขาดแคลนสินค้าเนื่องจากการผลิตหยุดไปก็น่าจะรุนแรง เป็นผลจากไทยเปิดเสรีนำเข้าสินค้าจึงไม่น่าเจอปัญหาหรือผลกระทบจากเงินเฟ้อไม่น่า

เงินเฟ้อมาจากหลายสาเหตุไม่ใช่แค่มาจากการฟื้นฟูในประเทศ แต่อาจมาจากเศรษฐกิจโลก คิดว่าเงินเฟ้ออาจเร่งตัวขึ้นปีหน้าแต่ไม่มากนัก เพราะมีเรื่องของดีมานด์ชะลอตัวบวกกับการผลิตสินค้าชะลอตัว จึงลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ น.ส.กิริฎากล่าว

จัตุมงคลหนุนลดดบ.แรง 0.50%

ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่อนข้างเห็นด้วยหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงแรง เพราะเวลานี้มีคนเดือนร้อนค่อนข้างมากจากปัญหาอุทกภัย

การปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25-0.5% คงไม่มีผลให้นักลงทุนเพิ่มการลงทุนมากขึ้น เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ถูกต้องมากกว่าจะดูว่าดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงมากน้อยแค่ไหน

คงไม่มีใครลุกขึ้นมาลงทุน เพราะดอกเบี้ยปรับลดลง แต่ผมว่าเป็นการส่งสัญญาณ ให้ตลาดได้รับรู้ มากกว่าว่าเราจะทำอะไร และนักลงทุนเขาไม่เดือดร้อนกับการที่ดอกเบี้ยลง 0.25% หรือ 0.5% หรอก เพราะปกติเขาจะดูว่าเราทำถูกทางหรือไม่ ถ้าทำถูกทางประเทศเจริญขึ้น อย่างนี้เขาก็เอาเงินเข้าไว้ก่อนม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ทั้งหมดนี้ถือเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายของธปท. เพราะเขาไม่ใช่คณะกรรมการ กนง. ซึ่งกนง. อาจจะห่วงในเรื่องเงินเฟ้อก็ได้ เพราะช่วงนี้จะเห็นว่าเงินเฟ้อปรับขึ้นมาบ้าง และการที่เงินเฟ้อจะลงอาจเป็นเรื่องยาก

ส่วนการฟื้นฟูนั้น ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า คงต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ไม่ถูกกับน้ำ ขณะที่กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่หลายฝ่ายมองว่า จะกลับมาได้เร็ว แต่โดยส่วนตัวมองคงไม่เป็นเช่นนั้น

สศค.หั่นจีดีพีปีนี้เหลือ 1.7%

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนต.ค.ปีนี้ จากการรวบรวมทุกตัวแปรเศรษฐกิจได้ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ภาวะเศรษฐกิจเดือนดังกล่าวชะลอตัวลง เป็นผลจากปัญหาอุทกภัยเป็นหลัก ซึ่งทำให้การบริโภคและการผลิตในภาคต่าง รวมถึงภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การบริการและการส่งออกชะลอตัวลง ถือเป็นภาวะที่ผิดปกติ ซึ่งยืนยันว่าเป็นเพียงภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว โดยตัวเลขเครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนพ.ย.และธ.ค.จะกลับมาฟื้นตัวได้

ผลจากปัญหาดังกล่าว ทำให้สศค.คาดการณ์ว่า จีดีพีปีนี้จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ 1.7-2% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6% สศค.จะปรับประมาณการทั้งปีใหม่ในเดือนหน้า

ปีหน้าประเมินจีดีพี 5%

ส่วนปีหน้า ประเมินว่า จีดีพีจะขยายตัวได้ถึง 5% จากเม็ดเงินงบประมาณขาดดุล 4 แสนล้านบาท มาตรการของรัฐบาล รวมถึง การออกพ.ร.ก.กู้เงินเพื่อลงทุนในระบบน้ำของรัฐบาล ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

ปีหน้าเราไม่ห่วง เพราะเศรษฐกิจจะขยายได้มาก ส่วนหนึ่งเราหวังว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะขยายตัวได้ถึง 3.2% ขณะที่ปัญหาที่เกิดในยุโรป ก็ไม่กระทบต่อระบบสถาบันการเงินของไทย แต่เราก็ไม่ประมาท โดยเตรียมฉนวนป้องกันเศรษฐกิจด้านต่างๆ ด้วย เศรษฐกิจในปี 2556 เป็นปีที่ต้องจับตาใกล้ชิด เพราะเป็นปีที่งบประมาณจะโป่ง จากของมาตรการรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้งบประมาณขาดดุลมาก

เครื่องชี้จีดีพีเดือนต.ค.ขยายตัวผิดปกติ

เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนต.ค. ที่สะท้อนว่า มีการขยายตัวอย่างผิดปกติ คือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 11.3% แม้เป็นตัวเลขสองหลัก แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 13.3%

นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์ นั่งยังติดลบถึง 38.8% เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 29.6% ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัว เมื่อเกิดอุทกภัย แนวโน้มการจำหน่ายก็เริ่มชะงัก เท่าที่หารือกับประธานบริษัทโตโยต้า เขาแจ้งว่า บริษัทจะเริ่มผลิตได้ในสองเดือนข้างหน้า โดยจะคงเป้าการผลิตให้ได้ล้านคันในปีหน้า

ด้านการลงทุนก็ชัดเจนว่า หดตัว สะท้อนจากยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวถึง 41.8% เทียบกับการขยายตัว 25.7% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเมื่อหักรายการพิเศษก็ขยายตัวติดลบ 2% เทียบกับการขยายตัว 4.9% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนภาคการส่งออก แม้ยังขยายตัวเป็นบวกได้ แต่ขยายตัวเพียง 0.3% หรือมีมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์เพียง 17.2 พันล้านดอลลาร์ ถือว่า ผิดปกติที่ชะลอตัวในทุกหมวดสินค้า ไม่ว่าจะเป็น เกษตร อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงรุนแรงถึง 35% ส่วนภาคผลิตภาคเกษตรยังขยายตัวเล็กน้อยแค่ 7.4% ผลจากการสูญเสียการผลิตข้าวถึง 5.6 หมื่นล้านบาท จากภาคเกษตรรวม 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ เครื่องชี้ด้านบริการ คือ นักท่องเที่ยวขยายตัวแค่ 7% หรือมียอดนักท่องเที่ยวแค่ 1.4 ล้านคน ลดลงจาก 22.7% จากเดือนก่อนหน้า

เอชเอสบีซีชี้น้ำท่วมฉุดจีดีพีเหลือ1.7%

นายเฟรเดอริก นิวมานน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเอชเอสบีซี หรือ ฮ่องกงแบงก์ประจำเอเชีย ให้ข้อมูลอ้างอิงจากรายงานเรื่องหลังน้ำท่วมแนวโน้มเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นตัวของไทยวานนี้(28พ.ย.)ว่า ในระยะสั้นไม่น่าห่วง การฟื้นตัวของไทยน่าจะเกิดขึ้นไตรมาสแรกปีหน้า โดยเหตุน้ำท่วมทำให้จีดีพีไตรมาส 4 ปีนี้ติดลบ 5% เทียบไตรมาส 3 โต 0.5% ส่งออกไตรมาส 4 ปีนี้ จะติดลบ 16% ก่อนเด้งกลับเป็นบวก 5.5% ปีหน้า โดยรวมจีดีพีไทยปีนี้คาดโต1.7% จากนั้นเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดี จีดีพีปรับเพิ่มเป็น 5% ในไตรมาสแรกปี2555 เทียบไตรมาสสุดท้ายปีนี้ เป็นการฟื้นตัวแบบวีเชฟ โดยรวมจีดีพีปีหน้าโตไม่ต่ำกว่า 4.5%

พิษน้ำท่วมว่างงานพุ่งเฉียดล้านคน

นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)กล่าวว่าน้ำท่วมกระทบการจ้างงานในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 1.8-2.3% หรือ มีผู้ว่างงานประมาณ 730,000-920,000 คน เพิ่มจากอัตราว่างงานเฉลี่ยใน 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 0.7% แต่จะเป็นภาวะการว่างงานที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว

ในภาพรวมการว่างงานจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ทั้งที่ตามภาวะปกติการว่างงานในไตรมาสสุดท้ายของปีจะน้อยที่สุด ส่งผลให้รายได้ของแรงงานลดลงชั่วคราวในระยะสั้น แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานต่อเนื่องต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน หลังน้ำลด

สำหรับการจ้างงานในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 1.6% โดยการจ้างงานในสาขาก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึง 4.3% ทำให้อัตราการว่างงานลดเหลือ 0.7% หรือประมาณ 262,440 คน ลดลงจาก 0.9% โดยผลตอบแทนค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนเพิ่มขึ้น 7.2% แต่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4.1% ส่งผลให้ค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเพียง 3.0% (อ่านรายละเอียด น.2)