เล่ากันว่า ในสมัยโบราณของจีน มีชายหนุ่มสองพี่น้องระเหเร่ร่อนไปอยู่ต่างถิ่นต่างเมือง ได้ไปขอพักอาศัยอยู่ในบ้านของครอบ
ครัวหนึ่ง วันเวลาผ่านไปจากฤดูใบไม้ร่วงเข้าสู่ฤดูร้อน แล้วก็เข้าสู่ฤดู หนาวอันหนาวเหน็บ เสื้อผ้าที่พวกเขาสวมใส่ขาดกระรุ่งกระริ่งก็ไม่มีคนช่วยปะ พวกเขาอยากจะมีเสื้อตัวใหม่สวมก็ไม่มีใครช่วยตัดเย็บ หญิงเจ้าของบ้านผู้มีใจเมตตาปรานีได้เห็นสภาพของชายหนุ่มพี่น้องคู่นี้แล้ว ก็ช่วยพวกเขาด้วยความเต็มใจ มีอยู่วันหนึ่ง ผู้เป็นสามีของนางกลับจากธุระนอกบ้านท่เห็นภรรยาของตนให้ความช่วยเหลือแก่ชายหนุ่มสองพี่น้องอย่างกระตือรือร้น ก็ให้เกิดความระแวงสงสัยยิ่งนัก จึงแอบชะเง้อเมียงมองอยู่นอกประตู ผู้เป็นภรรยาเห็นเข้าก็พูดกับสามีว่า"ท่านใยต้องแอบชะเง้อเมียงมอง คอยระแวงสงสัยเช่นนี้เล่า เรื่อง ราวความเป็นจริง ยังไงเสียก็ต้องเป็นที่ประจักษ์แจ้งสักวัน น้ำใสย่อมมองเห็นหินนี่นา?"
คำว่า"น้ำใสย่อมมองเห็นหิน" ต่อมาภายหลังไดเแปรเป็น"น้ำลดหินผุด"
สำนวน"น้ำลดหินผุด" ภาษาจีนอ่านว่า" " เป็นการอุปมาว่า เรื่องราวต่างๆเมื่อผ่านการสำรวจพิจารณาและตรวจสอบแล้ว ในที่สุด ความจริงย่อมเป็นที่ประจักษ์แจ้ง. สำนวนนี้ต่างกับสำนวนไทย"น้ำลอตอผุด"ที่หมายความว่า ถึงคราวชะตาตก ความชั่วร้าย ความทุจริตคดโกง ความเลวทราม ความไม่ดีต่างๆที่ทำไว้ก็ปรากฏขึ้นให้เห็น เปรียบได้กับน้ำเวลาขึ้นเต็มฝั่ง มองไม่เห็นตอที่อยู่ใต้น้ำ พอน้ำลดแห้งก็เห็นตอสะพรั่ง คำโคลงภาษิตและสำนวนไทยของคุณสราญ บริหารธนวุฒิมีอยู่บทหนึ่งว่า
ตอใหญ่อยู่ใต้น้ำ ปิดบัง
ความชั่วก็ดุจดัง เช่นนั้น
หมดอำนาจภายหลัง ตอผุด ขึ้นนา
ความชั่วเคยปิดกั้น เผยสิ้นสงสัย.
ส่วนสำนวน"น้ำลดหินผุด"หรือ " "ของจีนนี้เทียบได้กับสำนวนไทยที่ว่า"เห็นดำเห็นแดง"ที่หมายความว่า ได้รู้ความจริง ได้รู้ดีรู้ชั่ว ได้รู้ผิดรู้ถูก ได้ประจักษ์เรื่องที่ยังมัวมลไม่ กระจ่างแจ้ง.

 
【注 音】shuǐ luò shí chū  

 【释 义】水落下去,水底的石头就露出来。原形容冬天的景色,后比喻原来说不清楚的事终于真相大白  
 【出 处】宋·欧阳修《醉翁亭记》:“野芳发而幽香,佳木秀而繁阴,风霜高洁,水落而石出者,山间之四时也。”宋·苏轼《后赤壁赋》:“山高月小,水落石出。”  
 【用 法】紧缩式;作谓语、宾语、补语;含褒义  
 【近反义词】   近义词: 真相大白、原形毕露   反义词: 匿影藏形 、不明真相  
 【歇后语】大海退了潮  
 【灯 谜】泵;退潮   【示 例】水山,不要急。事情早晚能弄个~。(冯德英《迎春花》第二十章)  
 【故事】北宋时期,著名文学家苏轼生性豪放,学识渊博,很有文采。他不愿屈服权贵,被贬到黄州,两次游历黄州城外的赤壁,写出两篇《赤壁赋》。他借着酒兴,在《后赤壁赋》中描绘赤壁是:江流有声,断岸千尺,山高月小,水落石出。  
 【典 故】苏轼,字子瞻,号东坡居士,是名文学家苏洵的长子。神宗当皇帝的时候,采用王安石的变法政策,苏轼因不赞成新法,和王安石辩论。那时王安石很为神宗所器重,苏轼敌不过他,被贬到湖北当团练副使,他在黄州的东坡地方,建筑了一间居住,所以又称苏东坡。自号东坡居士。   苏东坡喜欢山水,时时出去游玩。赤壁是三国时东吴和蜀汉联军大破曹操的地方;但赤壁在湖北有三处,一在汉水之侧,竟陵之东,即复州;一在齐安之步下,即黄州;一在江夏之西南一百里,今属汉阳县。江夏西南一百里之赤壁,正是曹公败处,东坡所游之赤壁在黄州汉川门外,不是曹公失败的地方,东坡自己也知道,他先后做了两篇赤壁赋,只是借题发挥而已,名同地异,因他的才思横溢,文笔流利,写得唯妙唯肖,使后人对于赤壁这地方,都怀有向往的心情,在后赤壁赋中,他有这样几句“...于是携酒与鱼,复游于赤壁之下,江流有声,断岸千尺,山高月小,水落石出,曾日月之几何,而江山不可复识矣。…”   “水落石出”苏轼的赋中,本来是指冬的一种风景,但后人把这水落石出四字,用做真相毕露被悉破的意思。也有人把一件事情的原委弄清楚以后,等到真相大白,也叫做水落石出。