每年一到要入学的季节,泰国校园就会有一个迎新的传统,而在社交媒体上就总会看到各种学长学姐整蛊学弟学妹的新闻,轻的是在一起打打闹闹,重的甚至可能会出人命。那你知道泰国校园里这种恐怖的迎新文化到底是哪里来的吗?又是怎么演变到今天这种地步的呢?今天我们就来了解一下。

文章带读:
(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

“มาก่อนเป็นพี่ มาหลังเป็นน้อง มาพร้อมเป็นเพื่อน” ใครที่ผ่านการรับน้องมาน่าจะคุ้นเคยกับประโยคนี้ดี มันคือประโยคคลาสิกของระบบ โซตัส (SOTUS) ที่อยู่คู่กับรับน้องในสังคมมหาวิทยาลัยของไทยมาอย่างยาวนาน แต่ช่วงหลังหลายมหาวิทยาลัยก็ประกาศยกเลิกและไม่สนับสนุนระบบนี้อีกต่อไป
“先到的是前辈,后到的是后辈,一起到的是朋友”,经过了校园迎新活动的人应该对这句话很熟悉,这是SOTUS体系的一句经典语录,SOTUS体系就是长期存在于泰国大学的迎新生文化,但是后来很多大学都宣布取消并表示不支持再SOTUS。
(我们熟悉的泰剧《一年生》剧名正来自这个单词——SOTUS)

วันนี้มาชวนย้อนไปดูกันสั้นๆ ว่าจุดเริ่มต้นมาจากไหน ทำไมถึงเป็นที่นิยมในประเทศไทย
今天,来简单 回顾一下,SOTUS源自哪里,又是为什么在泰国收到追捧的。

โซตัส (SOTUS) เรามาดูที่ความหมายของคำนี้กันก่อน
SOTUS 先 来看看这个词的含义

  • S ย่อมาจาก คำว่า Seniority คือ ต้องการให้นักศึกษารุ่นน้องเคารพอาจารย์และนักศึกษารุ่นพี่
  • S缩写 自Seniority,意思是学弟学妹们要尊重老师和学长学姐
  • O ย่อมาจาก คำว่า Order คือ ต้องการให้นักศึกษารุ่นน้องเชื่อฟังคำสั่ง มีระเบียบวินัย
  • O缩 写自Order,新生要听话,懂规矩
  • T ย่อมาจาก Tradition คือ ต้องการให้มีการรักษาเฉพาะประเพณีที่ดีงามและเหมาะสมไว้
  • T缩 写自Tradition,必须保持优良的传统
  • U ย่อมาจาก คำว่า Unity คือ ต้องการให้นักศึกษารักษาความสามัคคีระหว่างนักศึกษา
  • U缩写自Unity,学生之间 要相互团结
  • S ย่อมาจาก คำว่า Spirit คือ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม มีการเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • S缩写自Spirit,好 的内心,有好品德,为集体牺牲

จากความหมายอักษรย่อแต่ละตัว ก็น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่ามันคืออะไร ส่วนเข้ามาในไทยได้อย่างไร มีการสันนิษฐานว่า มาจากระบบอาวุโสของโรงเรียนประจำในอังกฤษ โดยที่อาจารย์จะตั้งนักเรียนชั้นปีสูงๆ ที่มีความประพฤติดีมาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ จุดประสงค์เพื่ออบรมสั่งสอนรุ่นน้อง ตำแหน่งนี้มีชื่อเรียกว่า พรีเฟกต์
从每个词的缩写 应该能大概看出来它是什么了。至于它是怎么来到泰国的呢?据推测,它来自英国学校的等级制度,老师将表现良好的高年级学生选定为教师主力,目的是为了教导低年级学生,这个职位被叫做prefect。

ตำแหน่งพรีเฟกต์ จะมีสิทธิพิเศษเช่น ตักเตือนรุ่นน้องได้ หักคะแนนพฤติกรรมได้ มีห้องนั่งเล่นส่วนตัว มีสิทธิมากกว่าคนอื่นๆ
Prefect这个职位 有一些特权,例如可以训诫学弟学妹,扣除他们的行为表现分数,有自己的休息室,比其他人拥有更多的权利。

ส่วนการเข้ามาในไทยนั้นมีหลายแหล่งข้อมูลระบุไว้ว่า เข้ามาช่วงที่ไทยกำลังเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ช่วงนั้นมีหลายคนได้ไปเรียนนอกและนำเอาวัฒนธรรมการรับน้องเข้ามาด้วย หนึ่งในวัฒนธรรมที่เอาเข้ามาก็คือการ ว้าก ที่ในมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศใช้ได้ (ให้นึกภาพเวลาเราดูหนังฝรั่ง บางเรื่องจะมีฉากที่รุ่นพี่ยืนว้ากรุ่นน้องในชมรมตอนดึกๆ) สิ่งนี้ถูกนำมาใช้กับการรับน้องของไทย
至于何时来到泰国,有多方资料表示是 在泰国开始建立大学的时期,当时很多人去国外留学,把国外的文化也带回了泰国,其中的一种就是外国大学里的“训斥”文化(试着想一下某些外国电影中会有学长学姐在晚上对着同社团的学弟学妹喊叫训斥),这种文化也被借鉴到泰国的迎新生文化中。

โดยมีความเชื่อกันว่าการกดดันรุ่นน้องจะเป็นการละลายพฤติกรรมและทำให้อยู่ร่วมกันง่ายขึ้น ลดความต่างชั้นของฐานะ มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น แต่ไปๆ มาๆ การตีความก็ดูเหมือนจะผิดและรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งกลายเป็นความสะใจของรุ่นพี่เท่านั้น
大家认为,压迫学弟学妹可以打破 不同届学生的壁垒,让他们的相处更加容易,地位更加平等,但是来来回回的看起来好像是朝着错误的方向发展,并且暴力程度不断加深,有些时候成了学长学姐发泄自己的方法。

โซตัสอยู่คู่กับการรับน้องของไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยระบบสังคมที่มีโครงสร้างพี่ช่วยเหลือน้อง มีความอาวุโสเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างที่นักวิชาการหลายคนให้ความเห็นว่า มันสนับสนุนระบบอุปถัมภ์ของไทย
SOTUS在泰国 的迎新生文化中存在了很久,是前辈帮助后辈的体系,与资历相关,很多泰国学者表示,SOTUS支持了泰国社会的“赞助体系”(Patronage System)。

ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นทำให้โซตัสนั้นได้รับความนิยมและถูกส่งต่อกันมาอย่างยาวนาน มีพักหลังที่คำถามเริ่มถูกตั้งมากขึ้นถึงความจำเป็นและความเท่าเทียมของคนเรา อีกทั้งรุ่นพี่ที่โตกว่าไม่กี่ปีจะสามารถสอนอะไรได้ ทำให้หลายมหาวิทยาลัยประกาศยกเลิกรับน้องแบบโซตัส
由于上述原因,SOTUS受到了欢迎,被沿袭已久,后来它的必要性被不断质疑,体现的不平等也被抨击,另外年长不几岁的学长学姐们又能教些什么?这也导 致很多大学取消了SOTUS的迎新生活动。

จนถึงทุกวันนี้ก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีบางมหาวิทยาลัย บางคณะ บางสาขาที่ยังมีการรับน้องแบบโซตัสอยู่และมักมีข่าวเศร้าให้เห็นเสมอจากการรับน้องที่รุนแรง ก็ได้แต่หวังว่าการรับน้องรูปแบบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้อง
直到现在,仍然不能否认,这种文化在某些大学某些学院和某些专业仍然在发挥作用,我们还能经常看到因为暴力迎新而造成悲剧的新闻,我们只能希望这样的迎新文化能够朝着正确的方向改变。

 

大家对泰国大学的这种迎新文化怎么看呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。