曼谷的黎明寺是大家来到泰国一定会去打卡的地方,大家都对这里精美的建筑赞不绝口,但是大家知道吗?黎明寺的建筑风格其实大有讲究,黎明蕴藏了很深的文化内涵。接下来就让我们简单了解一下,黎明寺背后到底蕴藏了什么文化!

“วัดอรุณ” หรือชื่อเต็มว่า วัดอรุณราชวราราม เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นที่ตั้งของ “พระปรางค์วัดอรุณ” อันเลื่องชื่อ ทั้งยังมีศิลปะและสถาปัตยกรรมสวยๆ ให้ชมกันอย่างเพลิดเพลิน ความงดงามต่างๆ ในวัดอรุณไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดๆ แต่ผ่านการคิดและสร้างสรรค์มาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “คติไตรภูมิ” และ “คติจักรพรรดิราช” สมัยต้นรัตนโกสินทร์
黎明寺,全名为Wat Arun Ratchawararam,是全世界游客的打卡地之一,因为这里矗立着著名的黎明寺佛塔,而且还有很多好看的艺术和建筑细节供人们观赏。黎明寺的精美并不是凭空产生的,而是被精心构思和设计出来的,尤其是借用了曼谷王朝初期的“三界观”和“王权观”。

ปวีณา หมู่อุบล เล่าถึงวัดอรุณและคติต่างๆ ไว้ในผลงานเล่มล่าสุด “อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์” (สำนักพิมพ์มติชน, 2567) ว่า
Pawina Muubon在她最新 的作品《君王的权力:曼谷王朝初期统治阶级的文化政治》(Matichon出版社,2024年)中讲到了黎明寺和其中的各种思想:

วัดอรุณ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ “วัดมะกอก” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดแจ้ง” สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เสียใหม่ และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม
黎明寺是阿瑜陀耶时期的一 座古寺,原名为“Wat Makok”,后来在达信王时期更名为“Wat Chaeng”,最后到了拉玛二世王时期进行了修缮,并御赐了“Wat Arun Ratchawararam”的名称。

มีการศึกษาวิเคราะห์วัดอรุณอย่างละเอียดว่า เป็นวัดที่ได้รับการออกแบบโดยยึดตาม “คติไตรภูมิ” สมัยต้นรัตนโกสินทร์อย่างสมบูรณ์ เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระมหาธาตุหลวงประจำกรุงรัตนโกสินทร์ จะเห็นได้ว่า ในวัดอรุณเต็มไปด้วยงานศิลปะและสถาปัตย์ที่งดงามและยิ่งใหญ่ โดยการวางผังและองค์ประกอบทางศิลปกรรมและสถาปัตย์ต่างๆ ตั้งใจให้เป็นภาพจำลองของโลกและจักรวาลตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนาในสังคมไทยยุคนั้น
根据对黎明寺详细的分析,发现这座寺庙是根据 曼谷王朝初期的“三界观”完整设计的,旨在供奉曼谷王朝的守护神圣物。在这座寺庙中可以看到,它充满了精美而庄严的艺术作品和雕塑。通过布局和各种艺术和雕塑元素的设计安排,旨在让其成为泰国社会佛教信仰的理想化世界和宇宙的缩影。

ปวีณา ชี้ให้เห็นว่า บริเวณผังพุทธาวาสส่วน พระปรางค์วัดอรุณ ที่ชาวไทยและนักท่องเที่ยวทั่วโลกคุ้นตา คือสัญลักษณ์ของจักรวาลตามคติไตรภูมิ ที่แสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เขาสัตบริภัณฑ์ ชานเขาพระสุเมรุ ทวีปทั้งสี่ มหาสมุทรกำแพงจักรวาล และนรกภูมิ
Pawina表明,当地居民和全球游客最熟悉的佛塔部分,体现了三界观,展示了对宇宙的象征,表现出了须弥山、欲界天的第二层天忉利天、四天王天、犍陀罗山、须弥山四周、宇宙结 界海洋、地狱等符号的象征。

ส่วนผังพุทธาวาสบริเวณ พระอุโบสถ ที่อยู่ใกล้กับพระปรางค์วัดอรุณ คือสัญลักษณ์ของ “ชมพูทวีป” ประกอบด้วย มัชฌิมประเทศในป่าหิมพานต์ ส่วนทางพุทธาวาสบริเวณพระมณฑปพระพุทธบาทจำลองและพระเจดีย์คือสัญลักษณ์ของ “ลังกาทวีป”
距离佛塔很近的佛殿区域布局,是 南赡部洲的象征,这里包含了雪山中的印度国。佛足印记供奉的地方和佛塔重现了兰卡的象征。

“การออกแบบผังวัดอรุณฯ ในลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อสถาปนาให้กรุงรัตนโกสินทร์กลายเป็นเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับแบบแผนเชิงโครงสร้างทางจักรวาลวิทยาแบบจารีต อันเป็นอุดมคติสูงสุดทางสังคมของผู้คนในยุคต้นรัตนโกสินทร์” ปวีณา บอกไว้ในหนังสือ
“黎明寺之所以设计成这个样子是为了让曼谷成为能够与宇宙结构相联系的神圣之城,这也是曼谷王朝初期人们最崇高的社会理想。”Pawina在书 中提到。

วัดอรุณยังมีสถาปัตย์ที่เกี่ยวกับ “คติจักรพรรดิราช” คติราชาเหนือราชาทั้งปวง เป็นแนวคิดที่ปรากฏในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ที่นำมาเชื่อมโยงกับความคิดทางการเมือง เพื่อสร้างสิทธิโดยชอบในการปกครอง โดยคติจักรพรรดิราชพบได้ในรัฐต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
黎明寺还体 现了“王权观”,王权至上是佛教和婆罗门教的思想,在政治统治中得以体现,为自身的统治建立合法性,这种王权思想在东南亚各个王国中都有体现。

ปวีณา แนะว่า หากสังเกตจะพบสถาปัตย์ที่เกี่ยวข้องกับคติจักรพรรดิราชอยู่บริเวณ เรือนธาตุ (ซุ้มจระนำ) ทั้ง 4 ทิศของพระปรางค์บริวาร ประดับประติมากรรมรูปเทวดาทรงช้าง มีการตีความว่า สัญลักษณ์นี้หมายถึงพระเจ้าจักรพรรดิราชทรงช้าง มีไว้เพื่อแสดงความเป็นมหาราชแห่งจักรวาล สอดคล้องกับการออกแบบผังวัดอรุณโดยจำลองมาจากโครงสร้างและแผนผังจักรวาลตามคติไตรภูมิ เพราะพระอินทร์คือผู้ทรงช้างเอราวัณนั่นเอง
Pawina介绍,如果观察佛塔四周关于王 权观的设计就会发现,有大象形状的雕像,这个标志的意思是宇宙的主宰站立在大象之上,符合了黎明寺根据三界观宇宙的设计和建设,因为因陀罗就是爱罗婆多白象就是因陀罗的坐骑。

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “คติพระอินทร์” ยังคงได้รับความสำคัญและมีการเน้นย้ำอย่างมาก เห็นได้จากรัชกาลที่ 3 พระราชทานนามแก่พระที่นั่งใหม่ทั้ง 3 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ซึ่งล้วนแต่เป็นพระนามที่เกี่ยวข้องกับพระอินทร์ทั้งสิ้น
在拉玛三世时期,因陀罗观还有着深远的影响,可以从三世王对三个王座御赐的名称中瞥见,三个王座的名称分别为Chakrapat Phiman、Paisan Taksin、Amarindra Winitchai,这三个名字都与因陀罗有关。

นอกจากนี้ ถ้าลองมองขึ้นไปยังยอดพระปรางค์วัดอรุณ จะเห็น “มงกฎ” ประดิษฐานอยู่เหนือยอดพระปรางค์ เป็นการย้ำคติพระอินทร์ให้ชัดขึ้น
此外,如果上到黎明寺佛塔的顶 部就会看到塔顶上供奉着冠冕,清楚地强调了因陀罗的思想。

มงกุฎดังกล่าวไม่ใช่ในความหมายแบบตะวันตก แต่หมายถึงยอดวิมานไพชยนต์ อันเป็นที่ประทับของพระอินทร์ เรื่องนี้ยังมีการตีความกันด้วยว่า รัชกาลที่ 3 ทรงใช้สัญลักษณ์นี้เพื่อให้คนทั้งหลายรับรู้ว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ก็คือ “เจ้าฟ้ามงกุฎ”
这里的冠冕不是西方意义的王冠,而指的是因陀罗居住的地方,这个细节还被理解成,拉玛三世王使用这个标志为的是让人们知道,在他之后统治王国的人是Chao Fa Mongkut(拉玛四世)。

 

大家有机会去好好看看黎明寺里的这些细节吧!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。