历经23年,终于有一部《婚姻平权法》让“所有性别”平等!

 

内容提要:
27 มีนา สภามีมติ เห็นด้วย 400 เสียง ไม่เห็นด้วย 10 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านสภาแล้ว
3月27日,众议院以400票通过,10票反对,2票弃权,3人未投票的结果通过决议,婚姻平权法已在众议院获得通过。

ย้อนรอย 23 ปี การเดินทางกว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ผ่านมาคือบริบทสังคมและการเมืองไทย ที่มีผลอย่างมากต่อการเดินทางครั้งนี้
回顾泰国争取《婚姻平权法》的23年历程,都经历了什么?泰国社会和政治背景等重要因素,对这23年的演变有着巨大的影响。

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เช่น การแก้ไขคำจากระบุเพศชาย-หญิง เป็น บุคคล ผู้หมั้น ผู้รับหมั้น และคู่สมรส และยังมีการแก้ไขอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุมกับทุกเพศ
《婚姻平权法》的重要内容,例如将“男性、女性”的称谓修改为“个人、订婚双方和配偶”。此外为了能覆盖所有性别,还涉及到了其他修改。
---------------------------------------
27 มีนาคม 2567 วันที่ต้องบันทึกลงประวัติศาสตร์ไทย เพราะถือเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทย ที่สภาไทยแก้ไขกฎหมายให้ทุกเพศสมรสกันได้
2024年3月27日,一个必须载入泰国史册的日子!因为泰国议会修改了法律,允许所有性别结婚,这被认为是泰国社会的重要一步。

วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เป็นการขยายสิทธิการสมรสให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ที่ประชุมสภา มีมติ เห็นด้วย 400 เสียง ไม่เห็นด้วย 10 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง 
《民商法典》修正案草案(二读)审议,即《婚姻平权法》草案的议程,是把婚姻权利平等扩大到涵盖所有性别,会议以400票同意,10票反对,2票弃权,3人未投票的结果通过决议。 

 

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ได้เพิ่งมีในยุคนี้ เพราะจริงๆ แล้วในอดีต ทั้งภาคประชาชนและภาคการเมือง พยายามผลักดันมาตลอด แต่เนื่องจากบริบทสังคมในแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน จึงไม่สำเสร็จ จนมาถึงปี 2567 ไม่ว่าเพศใดก็ใกล้จะสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมายแล้วในประเทศไทย
然而,《婚姻平权法》并不是现在才开始做的推动。此前,无论是委员会公众部还是政治部都一直在做各种推进。但因为每个时期的社会背景不同,此前“平权”履步为艰,一直到2024年,才实现了这样的平等,无论什么性别,都将接近能够在泰国合法结婚。

เราจะพาย้อนรอย 23 ปี เส้นทางสู่การสมรสเท่าเทียม ในแต่ละยุคมีความพยายามขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างไร และทำไมจึงต้องยุติไป พร้อมดูรายละเอียดสำคัญของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ว่ามีการแก้ไขประเด็นสำคัญใดบ้าง 
我们将带您回顾这23年,走回那通往平等婚姻的道路,看看各个时期是如何努力推进平权问题的,为什么此前被中止?再来了解一些《婚姻平权法》的重要细节内容,到底修改了哪些重要条例。

 

23 ปี เส้นทางสมรสเท่าเทียม
23年婚姻平等之路

ปี 2544 รัฐบาล นำโดยนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เริ่มเสนอแนวคิดให้คนรักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย แต่ต้องยุติลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกระแสสังคมต่อต้าน ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงมองเห็นว่าสังคมไม่พร้อม เรื่องนี้จึงตกไป
2001年,他信·西那瓦政府开始提出“允许同性 伴侣合法登记结婚”的想法。但由于社会舆论的强烈反对,使得进程很快就被迫停止,政府认为社会还没有准备好这样的改变,于是这件事就被搁置了。 

ปี 2555 มีคู่รักเพศหลากหลายต้องการจดทะเบียนสมรส แต่ถูกปฏิเสธ จึงได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง 
2012年,多元性别伴侣想要登记结婚但遭到拒绝,于是向有关政府机构投诉。 

ปี 2556 ในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความพยายามให้มีกฎหมายรับรองคู่รัก เพศเดียวกันอีกครั้ง ตามข้อเสนอของประชาชน มีการยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตเพื่อให้ผ่านการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่สำเร็จ ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเท่ากับ คู่รักชาย-หญิง 
2013年,英拉·西那瓦执政期间,再次尝试让法律承认同性关系:根据民众的提议,他们向众议院提交了《民事伴侣法案》草案,但最后没有成功。该草案因未涵盖与男女伴侣相同的权益和福利而受到批评。 

ในปี 2557 เกิดรัฐประหาร การผลักดันร่าง พ.ร.บ. จึงยุติลง
2014年,发生政变。《法案》推进进程暂停。

ปี 2563-2566 ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการเคลื่อนไหวจากภาคประชาชนและพรรคการเมือง ขณะเดียวกันกระแสทั่วโลกที่พัฒนาเรื่อง ‘สมรสเท่าเทียม’ ตามหลักความเท่าเทียมก็ชัดเจนมากขึ้น ความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นด้านสิทธิที่สำคัญ และสังคมไทยในปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องความเท่าเทียมทางเพศอย่างกว้างขวาง 
2020年至2023年,巴育·占奥差上将的执政期,公众和政治部都有一定的动态。与此同时,“婚姻平等”在全球范围都在进步,其所依据的平等原则已经更加明确,性别多样性是权利问题上的重要课题。至此,泰国社会已经在普遍谈论性别平等问题。

พรรคก้าวไกล โดย ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ เสนอ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต่อสภาฯ และได้รับการถูกบรรจุวาระแรกในปี 2565 ซึ่งรัฐบาลเองก็จัดทำกฎหมายอีกฉบับมาประกบ คือ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต หน่วยงานเจ้าภาพคือกระทรวงยุติธรรม ที่มี สมศักดิ์ เทพสุทิน สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 
前进党成员 Tunyawaj Kamolwongwat 向众议院提交了《婚姻平权法》草案,并被列入2022年的一读,政府自己制定了另一部与之配套的法律,即《民事伴侣法案》草案。主办机构是司法部,司法部长为人民力量党的 Somsak Thepsuthin 。

แม้ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะผ่านวาระแรกไปแล้ว แต่สุดท้ายก็ถูกค้างในสภาฯ ไม่สามารถพิจารณาได้ครบ 3 วาระ เนื่องจากปัญหาสภาล่มบ่อยและถูกวาระแทรกวาระ
虽然《婚姻平权法》草案已经一读通过,但由于议会总是被解散,还因为有其他议程穿插,因此上述草案未能完成3轮审议,最终在众议院被搁置。

หลังมีรัฐบาลใหม่ วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมถูกหยิบยกเข้าสภาฯ อีกครั้ง 
新政府组建后,2023年12月21日,《婚姻平权法》草案被再次提交至众议院(总共有4项草案)。

โดยสภาฯ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จำนวน 39 คน เพื่อพิจารณาศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายทั้งหมด โดยวันที่ 27 มีนาคม มีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 สภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.สมสรเท่าเทียม ที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมสภา มีมติ เห็นด้วย 400 เสียง ไม่เห็นด้วย 10 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง
众议院成立了一个由39人组成的委员会来审议和研究所有法律细节,众议院一读通过草案后,于3月27日通过二读、三读审议,以400票同意,10票反对,2票弃权,3人未投票的结果通过决议。

จากนี้ต้องรอดูว่าด่านถัดไปคือ สว. ที่ในอดีตก็มีการแก้ไขบางมาตรา หรือไม่ให้ผ่านก็ได้ ซึ่งหากไม่ให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ก็จะถูกตีกลับมายังสภาฯ เพื่อให้มีการเอากลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง 
此刻我们需要等待的是下一阶段的参议院,此前参议院也会做一些条款修改,或直接通过。如果这项法律没有获得通过,它将被退回众议院做重新考虑。

  

กฎสมรสเท่าเทียม แก้อะไรบ้าง 
《婚姻平权法》有什么修改?

กฎหมายการสมรสที่ใช้ในปัจจุบัน มีรายละเอียดอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ซึ่งระบุว่า "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้"
现行婚姻法在《民商法典》中有详细规定,规定“男女年满17岁方可结婚,但若情况必要,法院可能会允许在此之前举行婚礼”。

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีการแก้ไขหลายจุด หลักๆ จะมีการแก้ไขคำระบุเพศ เปลี่ยนเป็นใช้คำอื่น เช่น แก้คำว่า ชาย-หญิง สามี-ภริยา และสามีภริยา เป็นบุคคล ผู้หมั้น ผู้รับหมั้น และคู่สมรส เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้นหรือคู่สมรสไม่ว่าจะเป็นเพศใด โดยจะแก้ไขจาก หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส และแก้ หมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็น ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ทำให้คำในหมวดเหล่านี้เปลี่ยนเป็นคู่สมรสที่ไม่ระบุเพศ 
《婚姻平权法》有不少修正,主要集中在性别认定上。调整如将“男-女”“丈夫-妻子”“夫妻”等词改为“个人”“订婚双方”“配偶”,这样含义就涵盖了不分性别的配偶双方。即将第三条夫妻关系修改为配偶关系,将第四条夫妻财产修改为配偶间财产,这些类别中的单词修改不再着重性别。 

 

แม้จะมีการแก้ไขสิทธิและรายละเอียดในแต่ละมาตราบ้าง ทำให้ทุกเพศเมื่อแต่งงานมีสิทธิเท่ากัน แต่การเรียกร้องให้มีการสมรสเท่าเทียม ไม่ใช่แค่เรียกร้องให้คนทุกเพศสามารถแต่งงานกันได้เท่านั้น เพราะสิ่งที่สังคมต้องการยังมีเรื่องของสิทธิด้านอื่นๆ ที่ต้องการให้เท่ากันเช่นกัน 
此次虽然对各相关权利和细节都做了一些修改,让每个性别在婚姻中享有平等的权利,但婚姻平等的呼声这不仅仅是呼吁所有性别的人能够结婚,因为社会想要的还有更多其他方面的权利平等问题。 

แม้การเปลี่ยนความหมายของคำว่าคู่สมรส จะทำให้ ‘ทุกเพศ’ สมรสกันได้ แต่หลังจากสมรสแล้ว ถัดไปคือเรื่องครอบครัว ซึ่งในประชุมสภาวันนี้มีการถกเถียงกันในมาตราที่สำคัญคือ มาตรา 59 หมวดบิดา มารดา และบุตร ที่ไม่มีการแก้ไข แต่ กมธ.เสียงข้างน้อย ได้ขอสงวนแก้ไขมาตราดังกล่าว 
尽管改变“配偶”一词的含义将允许“所有性别”结婚,但婚后接下来是家庭。在今天(27日)的议会会议上,就一个重要的条款进行了辩论,即第59条,关于父亲、母亲和儿童的条款,该条款尚未得到修改,少数委员请求保留修改上述部分的权利。

โดย ภาคภูมิ พันธวงค์ หนึ่งใน กมธ.ภาคประชาชน ขอให้เสนอเพิ่มคำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ โดยปัจจุบันร่างหลักยังคงใช้ บิดา มารดา ไม่ใช้ บุพการี ทั้งที่ไม่ได้ลิดรอนสิทธิแต่อย่างไร แต่เป็นการขยายสิทธิให้เกียรติครอบครัวที่มีความหลากหลาย 
委员会公众部成员 Pakpoom Panthawong 建议添加“直系双亲”的表述,目前主体仍然使用“父亲”“母亲”的字样,尽管“双亲”的词汇没有以任何方式剥夺他们的权利,反倒能扩大并尊重多元化家庭的权利。 

“เข้าใจว่าการโหวตนี้มีแนวโน้มในทางมารยาทการเมือง แต่นี่คือการโหวตเพื่อยืนยันการมีอยู่ของคู่สมรสเพศหลากหลายทุกคน การโหวตครั้งนี้คู่สมรส LGBTQI ทุกคนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เนื่องด้วยคำว่า บิดา และมารดา และการยกมือครั้งนี้คือประวัติศาสตร์ในการผลักดันสมรสเท่าเทียมให้เท่าเทียมอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่คำพูดที่สวยหรู
“要明白,这次投票是一个政治行动,但却是一次确认所有多元性别伴侣存在的投票行动。通过这次投票,所有 LGBTQI 配偶都不会被抛弃,因为“父亲”“母亲”这两个词,再加上此次举手投票,是真的推进了婚姻平等的历史,而不只是华丽的言语。” 

----------------
พวกเราไม่ได้ขอความเมตตา แต่มาพูดเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ ให้มองเห็นคู่สมรสเพศหลากหลายที่ยังไม่ถูกรองรับสถานะทางกฎหมาย วันนี้จึงขอให้เพิ่มโดยใช้คำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ เพื่อความเป็นกลางทางเพศและเคารพครอบครัวเพศหลากหลาย โดยไม่กระทบสิทธิคำว่า บิดา มารดา แต่อย่างใด
我们并不是在祈求怜悯,而是在谈的是性别的权利和公正,让这些尚未获得法律认可的多元性别伴侣受到关注。因此,今天希望添加“直系双亲”这个词的使用,为了性别中立,也为了尊重性别多元化家庭,但不会以任何方式影响“父亲”“母亲”的权利。
----------------- 

ด้าน กมธ.เสียงข้างมากชี้แจงว่า หากเพิ่มคำว่าบุพการีลำดับแรก จำเป็นต้องรื้อกฎหมายที่มีอยู่ทั้งประเทศไทยที่มีคำว่า บิดา มารดา โดยเติมคำว่าบุพการีลำดับแรกไปทุกฉบับ ซึ่งจะมีผลกระทบที่รุนแรงพอสมควร ฉะนั้น กมธ.เสียงข้างมากจึงไม่เห็นด้วยกับข้อสงวนของ กมธ.เสียงข้างน้อย 
多数委员解释说如果添加“直系双亲”一词,就需要废除泰国各地包含“父亲”“母亲”一词的现行法律,在每部法律中添加“直系双亲”一词,这将产生相当严重的后果,因此大多数成员不同意该意见。 

กมธ.เสียงข้างมาก อภิปรายแนวทางของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่า แก้ไขกฎหมายฉบับที่จำเป็นจะต้องแก้เพื่อให้รองรับสิทธิต่างๆ เช่น กฎหมายการรับบุตรบุญธรรม กฎหมายคุ้มครองเด็ก ซึ่งจะเป็นการแก้ที่ตรงจุดกับที่ กมธ.เสียงข้างน้อยอภิปรายถึงปัญหา และจะไม่เกิดปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขในการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ 
多数委员讨论解决此类问题的方法,需要同步修改必要的法律以支持对应的各种权利,例如《收养法》《儿童保护法》等,对应修改后才能在不影响法律(执行)的前提下,解决少数派所阐述的问题,而本次修改不需要做调整。 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมให้สอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน
此外还有其他值得讨论的点,即增加索赔理由和申请离婚的理由,整体修改就更加全面,符合同性 伴侣之间的关系性质问题。

แก้ไขอายุบุคคลที่จะหมั้นทั้งสองฝ่ายมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ จากเดิม 17 ปี ส่วนการสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว จากเดิม 17 ปี แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ โดยแก้เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 
订婚年龄和结婚年龄,由17岁改为年满18周岁,但若有必要的合理理由,法院可允许在此之前结婚。该修正案是为了与《儿童权利公约》保持一致。 

 

虽然现在还没有最终定论是否能成型,后续还需经过参议院和国王的同意,但这样的推动,可以说是人类历史的大进步,此次修改,泰国真的获得好感无数!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自thairath,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。