战国时代,宋国有一个养猴子的老人,他在家中的院子里养了许多猴子。日子久了,这个老人和猴子竟然能沟通讲话。
ในสมัยจั้นกั๋ว ณ แคว้นซ่ง มีชายชราเลี้ยงวานรผู้หนึ่ง ได้เลี้ยงวานรฝูงหนึ่งไว้บริเวณสวนบ้านของเขา เมื่อวันเวลาผ่านไปนานเข้า ชายชราผู้นี้กับเหล่าวานรเริ่มสื่อเข้าใจกันได้

这个老人每天早晚都分别给每只猴子四颗栗子。几年之后,老人的经济越来越不充裕了,而猴子的数目却越来越多,所以他就想把每天的栗子由八颗改为七颗,于是他就和猴子们商量说:“从今天开始,我每天早上给你们三颗粟子,晚上还是照常给你们四颗栗子,不知道你们同不同意?
ชายชราจะเลี้ยงวานรด้วยลูกเกาลัด โดยให้วานรแต่ละตัวมื้อเช้า4 ผลมื้อเย็น4 ผล เวลาผ่านไปหลายปี ฐานะทางการเงินของเขาเริ่มย่ำแย่ลง แต่จำนวนวานรกลับเพิ่มมากขึ้น เขาเลยคิดที่จะลดจำนวนเกาลัดจากเดิมที่เคยให้ 8 ผล เป็น 7 ผลต่อวัน คิดได้ดังนั้นชายชราจึงไปเจรจากับเหล่าวานรว่า “จากวันนี้เป็นต้นไป ข้าจะให้เกาลัดแก่พวกเจ้ามื้อเช้าตัวละ 3ผล ส่วนมื้อเย็น 4ผลเหมือนเดิม พวกเจ้าคิดว่าเป็นอย่างไร? ”

猴子们听了,都认为早上怎么少了一个?于是一个个就开始吱吱大叫,而且还到处跳来跳去,好像非常不愿意似的。老人一看到这个情形,连忙改口说:“那么我早上给你们四颗,晚上再给你们三颗,这样该可以了吧?”猴子们听了,以为早上的粟子已经由三个变成四个,跟以前一样,就高兴地在地上翻滚起来。
เมื่อฝูงวานรได้ฟัง ต่างก็คิดว่าทำไมมื้อเช้าน้อยลงไปหนึ่งผล จึงได้ตะโกนโวยวาย วิ่งวุ่นไปมา เหมือนจะบอกว่าไม่พอใจเป็นอันมาก ชายชราเห็นสภาพเช่นนั้น จึงรีบกล่าวแก้ว่า “นั้นมื้อเช้าข้าให้พวกเจ้าตัวละ 4 ผล มื้อเย็น 3ผล อย่างนี้เป็นอย่างไรบ้าง?” พวกวานรฟังแล้ว เข้าใจว่าเกาลัดมื้อเช้าเปลี่ยนจากสามผลเป็นสี่ผลเหมือนเดิมแล้ว ต่างก็พากันดีอกดีใจกลิ้งไปมาบนพื้น

朝三暮四这个成语原来是比喻人使用欺骗的手段,现在则用来形容人经常变卦,反复无常。
สุภาษิต “朝三暮四” นี้แต่เดิมหมายถึง ใช้กลวิธีเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ปัจจุบันมักใช้เปรียบเปรยถึงการพูดแล้วคืนคำ หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปมาไม่อยู่กับร่องกับรอย