学泰语的小伙伴一定对泰语里的中文借词不陌生,而这其中很多都是来自潮汕话,今天我们就要为大家介绍一个深受泰国人“喜爱”的潮汕话借词,相信你一定不陌生,快一起来学学吧!



การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันหรือในวาระอื่นๆ มีทั้งที่เป็นคำไทยแท้ และคำที่หยิบยืมมาจากภาษาอื่น ไม่ว่าจะเป็นเขมร บาลี สันสกฤต หรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งในบรรดาคำที่หยิบยืมมาจากภาษาจีน นักวิชาการยอมรับกันว่า หยิบยืมมาจากจีนแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนมากกว่าที่อื่น และคำหนึ่งในกลุ่มนั้นก็คือ “เฮงซวย” ด้วย
在我们日常生活或其他场合使用的词汇既有本土的泰语词汇,也有从其他语言中借入的外来语词汇,不管是高棉语、巴利语、梵语,还是英语和中文。而从中文中借入的词汇中,学者们 认为大部分都是潮汕话和福建话,“เฮงซวย”这个词就是其中之一。

ด้วยลักษณะการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ผสมปนเปกันไปในหลายยุคสมัย สำหรับประเทศไทยก็มีชาวจีนเดินทางเข้ามามาก จากการศึกษาของพรพรรณ จันทโรนานนท์ พบว่า ชาวจีนในประเทศไทย คือชาวจีนที่อพยพมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน คือ มณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และไหหลำ ชาวจีนเหล่านี้ได้แก่ชาวจีนกวางตุ้ง ชาวจีนแคะ (ฮากกา) ชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวจีนฮกเกี้ยน และชาวจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่
由于古代人口的迁移 ,出现了文化的交流,多个时代的文化被融合在一起,泰国也有很多华人迁移进来,Phornphan Chantharonanon 的研究表明,泰国境内的华人是从中国南部迁移而来的,也就是中国的广东省、福建省和海南省,这些华人都是广东人、客家人、潮汕人、福建人和海南人,一共有5种大语言派系。

พวกที่เข้ามาในสมัยพระเจ้าตากสิน (พ.ศ. 2310-25) จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2393-2411) ชาวจีนอพยพในช่วงนี้จะเป็นชาวจีนแต้จิ๋วเป็นส่วนใหญ่ เพราะพระเจ้าตากสินทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว
在达信大帝(1767-1772年)到拉玛四世王(1850-1868年)期间迁移到泰国的华人大部分都是潮汕人,因为达信王本人就有潮汕人的血统。

ชาวจีนรุ่นแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในไทยจะเข้ามากับเรือสินค้า และส่วนมากเป็นชาวจีนที่อาศัยทำกินอยู่ในดินแดนทางใต้แถบชายทะเลมาก่อน ต่อมาเมืองกวางโจวมีเมืองท่าใหม่แถบชายทะเลทางใต้ยิ่งทำให้ดินแดนทางใต้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีก เช่น เมืองท่าจางหลิน ที่ซัวเถา จึงทำให้ชาวจีนกลุ่มภาษาต่างๆ อพยพออกนอกประเทศมากขึ้น (เกาะไหหลำเดิมอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล ในปี ค.ศ. 1988 (周敏 ; 1995 : 8-9)
起初迁移到泰国的 华人是乘坐商船至泰国的,大部分人都曾在中国南部海边生活过,后来广州建立了新的码头,让南部的重要性进一步加强,在汕头也有了樟林港,让操着各种口音的中国人纷纷迁移到国外(以前海南隶属于广东省,在1988年被列为省份。周敏 ; 1995 : 8-9)



ในกลุ่มคำที่เกี่ยวกับความเชื่อ มีคำที่คนไทยน่าจะได้ยินบ่อยอันดับต้นๆ อย่าง “เฮงซวย” 兴衰 เป็นภาษาพูดติดปาก ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายว่าหมายถึง เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี เช่น “คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่องเฮงซวย” ในคำอธิบายฉบับราชบัณฑิตยสถานกำกับที่มาของคำว่า ในภาษาจีน คำว่า “เฮง” แปลว่า โชคดี “ซวย” แปลว่า เคราะห์ร้าย เฮงซวย ว่า ไม่แน่นอน”
在关于信仰的词汇中,很多泰国人都曾经听到过เฮงซวย这个词,意思是“兴衰”,是人们经常挂在嘴边的词汇,1999年泰国皇家学术委员会字典对该词作了释意: 不确定、质量低、不好,例如“不好的人、不好的东西、不好的事情”。字典也解释了这个词的来源是中文,เฮง的意思是好运,ซวย的意思是厄运,因此เฮงซวย的意思是不确定。

ขณะที่พิชณี โสตถิโยธิน บรรยายในบทความเรื่อง “คำยืมภาษาจีนแต้จิ๋วในภาษาไทย: ปรากฏการณ์ที่วงศัพท์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความหมาย” ในวารสารจีนศึกษา ฉบับที่ 5 ปีที่ 5 พ.ศ. 2555 ว่า คำว่า เฮงซวย ภาษาจีนแต้จิ๋วหมายถึง “โชคไม่ดี” จัดว่าอยู่ในวงศัพท์ความเชื่อ และเป็นวงศัพท์คุณลักษณะ พิชณี อธิบายว่า “เมื่อภาษาไทยยืมมาใช้เกิดการย้ายที่ความหมายจากวงศัพท์ความเชื่อไปยังวงศัพท์คุณลักษณะ”
同时Pitchanee Sotthiyothin在《泰语中的潮汕话借词:由含义变化带来的词汇现象》一文(发表于2012年《中国研究》杂志第5年第5版)中解释到,潮汕话เฮงซวย,意思是“厄运”,是宗教信仰方面的词汇,是一个形容词,Phitchanee还解释到:“当泰语将这个词借来之后从含有宗教方面的意义的词转换成了一个特质方面的词汇。”

อิทธิพลของชาวจีน (แต้จิ๋ว) นอกจากภาษาแล้ว พรพรรณ จันทโรนานนท์ อธิบายว่า ชาวจีนแต้จิ๋ว ยังนำความรู้เรื่องการทำน้ำตาลทรายเข้าสู่เมืองไทยตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ การทำสวนผักอย่างเป็นล่ำเป็นสัน การทอผ้าด้วยกี่กระตุกของชาวจีนแคะ (ฮากกา) (แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย; 2538 : 27-28)
潮汕华人的影响力,出了体现在语言之外,Phornphan Chantharonanon 还解释到,潮汕的华人还在曼谷王朝初期时将自己制作砂糖的手艺带到了泰国,还包括料理菜园和客家人用织布机织布的手艺。


大家还知道泰语里的其他中文借词吗?

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。