说到泰国的传统装扮,你肯定能想到金灿灿的尖顶冠和华丽的泰丝,但那些都是上流社会才会出现的装扮,普通民众日常的装扮可离这些东西太远了,在一些泰国影视剧里大家肯定留意过,很多男人都是肩上披着或者腰上缠着一块方格花纹的布,不知道你有没有好奇这块布到底是干什么的,又叫什么,今天我们就来聊聊泰国男人肩披腰缠的那块布。

ปัญหาเรื่องคํา “ผ้าขาวม้า” ซึ่ง มร.เดอ ลาลูแบร์ บันทึก ไว้อย่างชัดเจน และคุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลจากต้นฉบับ ภาษาฝรั่งเศสโดยตรงไว้อย่างดีเยี่ยม จึงขอคัดลอกคําแปลของท่านแบบคงอักขรวิธีตามต้นฉบับ ดังนี้
关于缠腰布的事情 ,法国外交官西蒙·德·拉·鲁贝尔曾经清楚地记录,而Sata T. Komolabutra直接从原版的法语很好地翻译过来,这里借鉴的就是他当时保留原文内涵的直译:

ความละอายในการเปลือย
裸露身体 的羞耻

แต่อย่างไรก็ดีการเปลือยการ (น่าจะเป็น กาย-ชลอ) โดย ทํานองนี้ใช่ว่าชาวสยามจะไร้ยางอายก็หาไม่ ตรงกันข้าม ชายและหญิงในประเทศนี้กลับเป็นชนชาติที่มีความตะขิดตะขวงใจเป็นอย่างยิ่งในโลก ที่เผยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายซึ่งทําเนียมกําหนดให้ปิดบังไว้ ออกให้ใครๆ เห็น พวกผู้หญิงที่นั่งขดอยู่ในเรือเมื่อวันที่เอกอัครราชทูตพิเศษของสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแห่เข้าพระนคร ส่วนคนที่อยากเห็นเต็มแก่ก็เพียง เหลียวหลังข้ามไหล่มาดูเท่านั้น เราต้องจ่ายผ้าขาวม้าให้ทหารฝรั่งเศสนุ่งเมื่อลงอาบน้ำตามถิ่นท่า (น่าจะ เป็นตีนท่า-ชลอ) เพื่อระงับข้อคระหาของชาวเมืองที่เห็น ทหารฝรั่งเศสเปลือยกายล่อน จ้อนลงอาบน้ำในแม่น้ำ
无论如何,这里的裸露身体不是说暹罗的男子不知羞耻,相反,在世界范围内,这个国家的男人和女人对把该遮挡得严实的部位展露出来这件事是十分顾忌的。当法国特使乘船入京时,女人们盘腿坐在船上观看,想看的人有很多,但也是在远处观望,还要给下到河里洗澡的法国士兵们分发缠腰布,避免城里的人看到他们光着身子。

คงเห็นชัด ในสมัยอยุธยาชาวไทยใช้ผ้าขาวม้านั่งอาบน้ำ
很清楚的是 ,阿瑜陀耶时期的泰国人在洗澡时会用到缠腰布。

จะอย่างไรก็ตามจิตรกรรมตามฝาผนัง จะเห็นภาพชายชาวไทยใช้ผ้าผาดบ่า อาจจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อนสมัยอยุธยาก็ได้บางทีผ้าเหล่านั้นก็ใช้คาดพุง ซึ่งคนบ้านนอกอย่างคนเขียนนี้เรียก “ผ้าเคียนพุง”
根据墙 壁上的壁画,可以看到泰国的男人们肩上披着一块布,这样的画面出现的时间可能早于阿瑜陀耶时期,有时这块布又系在腰间,有些人就把它叫做“缠腰布”。

ตอนเป็นเด็กๆ ผู้บังเกิดเกล้าใช้ให้ไปหยิบผ้าเคียนพุง ก็หยิบได้ถูกต้อง ครั้นโตขึ้นไปอาศัยข้าวก้นบาตรพระที่วัดข้างบ้าน หิดขึ้นเต็มง่ามมือทั้งสองข้าง พระท่านใช้ให้ไปหยิบผ้าดินแดง ก็หยิบได้ถูกต้อง เพราะเป็นผ้าเคียนพุงของพระท่าน ครั้นโตขึ้นอีกหน่อยมีโอกาสเข้าไปเรียนหนังสือในตัวเมือง พวกเพื่อนๆ ว่าต้องนุ่งผ้าขาวม้าอาบน้ำ (ความจริงพวกเพื่อนๆ เรียก ผ้าขาม้า มากกว่าผ้าขาวม้า)
小的时候大人让穿缠腰布,也能正确得穿上,长大一点到了寺庙里,僧侣让穿僧衣,也能正确得穿上,因为僧衣就是僧侣的缠腰布,再大一点有机会到城里的学校 上学,同学们说洗澡的时候一定要穿缠腰布(其实同学们更多地叫‘pha3 kha5 ma4’,而不是‘pha3 khau5 ma4’)。

จึงได้รู้ว่า “ผ้าขาวม้า” ก็คือ “ผ้าเคียนพุง” นั่นเอง
所以说ผ้ าขาวม้า就是缠腰布。

ต่อมาอ่านหนังสือได้แต่ไม่แตก จึงทราบว่า ปราชญ์หลาย ท่านเขียนถึงคํา “ผ้าขาวม้า” ไว้หลายแห่ง จนกระทั่ง พ.ศ. 2540 กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือ “อภิธานศัพท์คําไทย ที่มีต้นเค้ามาจากภาษาต่างประเทศ” คงเก็บคํานี้ไว้เช่นกัน ดังข้อความ
后来会读书了 ,但又读的不是特别懂,才知道很多学者咋很多地方都用到了“缠腰布”这个词,直到1997年文艺部创编了《泰语中的外来语词汇》一书,也收录了这个词:

ผ้าขาวม้า เป็นคําไทยมีต้นเค้ามาจาก ภาษาเปอร์เซีย มี คําเต็มว่า กามาร์ บันด์ (Kamar band) กามาร์ แปลว่า เอว หรือ ท่อนร่างของร่างกาย ส่วน บันด์ แปลว่า พัน, รัด, หรือ คาด. เมื่อรวมกันเป็น กามาร์ บันด์ จึงหมายถึง เข็มขัด, ผ้า พัน, หรือ รัด, หรือ คาดสะเอว
pha3 khau5 ma4这个词源自波斯语,完整的表达是Kamar band,Kamar的意思是腰或身体的上半部分,band的意思是缠、扎、系,连在一起就是系在腰 间的布。

คํา กามาร์ บันด์ นี้ยังมีปรากฏอยู่ในภาษาอื่นๆ อีก เช่น ภาษามลายู มีคํา กามาร์บัน (Kamarban) หมายถึงผ้าพันสะเอว ภาษาฮินดี มีคํากามาร์บันด์ (Kamarband) คือ ผ้าใช้รัดเอว และ ภาษาอังกฤษมีคํา คัมเมอร์บันด์ (Cummerband) ด้วย
Kamar band在其他语言里也有出现,比如马来语,Kamarban的意思是缠腰布,印地语Kamarband的意思也是缠腰布,英语了也有Cummerband这个词。

ข้อความทั้งหมดข้างต้นนั้นเป็นข้อเขียนของ คุณพรพรรณ ทองต้น ซึ่งเขียนลงในหนังสือที่กรมศิลปากร จัดพิมพ์จําหน่ายดัง กล่าวแล้ว พอเห็นภาษาอังกฤษเข้าก็เหมือนยาหม้อใหญ่เข้าอีก จึง ลองค้นหาคํา Cummerbund จาก The Compact Edition of the Oxford English Dictionary เขียนอธิบายไว้ คือ
上面 全部的内容都来自Phornphan Thongton在艺术部编著的书中提到,看到英语也有就更加烦躁,于是在牛津英语词典精简版里找到了这个词的释义:

Cummerbund : [Urdū and Pers. kamer band, i, e, lion-band] A sash, or gindle worn round the waist, a waist belt.
Cummerbund :腰带、腰间系着的布带,腰部系带

ด้วยเหตุนี้ “ผ้าขาวม้า” จึงเป็นคําของเปอร์เซียเขา ไม่คำไทย ผ้าเคียนพุง เชื่อว่าเป็นคําไทยแน่ ๆ คนบ้านนอกรุ่น ๗๐ ขวบขึ้นไปเคยได้ยินคํานี้มาก่อน คําผ้าขาวม้า
所以,pha3 khau5 ma4这个词是波斯语词汇,而不是泰语,但是“ผ้าเคียนพุง 缠腰布”这个词肯定是泰语词汇,70岁以上的外府人早先一定听过pha3 khian1 phung1这个词,而pha3 khau5 ma4是后来的。

 

原来“缠腰布”还有这么一层意思,现在看来真是可传统可迷人呢!最后,附上一众“缠腰布”男星给大家,2022年祝大家身材好心情好一切都好哦!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。