相信大多数人都有过一见钟情的经历,从看到Ta的第一眼就无法自拔,深陷其中,虽然很多人都有这样的经历,但是如果要询问原因的话,很多人都难以回答出来,因为感觉这个东西嘛,本来就是虚无缥缈的。错!其实一见钟情背后是有科学道理的哦!到底是什么,继续看吧!


“รักแรกพบ” ที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องของพรหมลิขิต บุพเพสันนิวาสที่นำพาให้คนสองคนมาเจอกัน และรู้สึกต้องตาต้องใจกันตั้งแต่แรกพบนั้น อาจจะไม่ได้โรแมนติกอย่างที่หลายคนจินตนาการไว้ เมื่อแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่เราเรียกกันว่า “Love at first sight” นั้น มีเหตุผลด้านวิทยาศาสตร์สนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย
一见钟情被很多 人都当作是命中注定的事,命运让两个人相见,并在见面的一瞬间爱上对方,但真相是一见钟情可能没有很多人认为的那么浪漫,其实它是有科学方面的依据的。


“สารเคมีในสมอง”ส่งผลต่อความรัก
大脑中的化学物质对爱 情有影响


การที่คนเราตกหลุมรักใครสักคน และมีความรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วนเหมือนผีเสื้อบินอยู่ในท้อง เป็นเพราะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในสมอง จากการที่สมองหลั่งสาร “โดพามีน” และ “เซราโนนิน” ออกมา จึงเกิดความรู้สึกอบอุ่น และความผูกพันกับอีกฝ่าย
我们之所以会爱上一个人,感觉 肚子里就像有蝴蝶在飞舞一样,是因为在我们的大脑中分泌出了多巴胺和血清素,才会让我们感觉到温暖,感觉到和另一方有紧密的联系。

โดยนักประสาทวิทยา ดร. Trisha Stratford อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า โดพามีนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจและรู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้คนที่เรารัก ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวเปรียบเสมือนการให้รางวัลของสมองเวลาที่เกิดความรู้สึกถูกใจสิ่งใด จนทำให้สมองเกิดการเสพติดสิ่งนั้นไปโดยปริยาย
神经学家 Trisha Stratford 博士解释了这件事,多巴胺是让我们接近所喜爱的人之后产生满足和舒心感觉的一种荷尔蒙,这种荷尔蒙就好比是当我们对某种东西满意之后给大脑的一种奖励,让我们 的大脑难以言表地迷恋上它。

ขณะที่เซโรโทนินจะถูกปล่อยออกมาหลังจากได้พบกับใครบางคนที่เราคิดว่าน่าสนใจ น่าดึงดูดใจ ซึ่งในระยะเริ่มแรกของความสัมพันธ์ ฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราอย่างมาก ว่ากันว่าสามารถรบกวนจิตใจได้มากถึงขนาดที่วันทั้งวันเขาคนนั้นจะวนเวียนอยู่ในความคิดของเราได้มากถึง 65 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว!
血清素是我们在遇到了有趣的、吸引我们的人之后被分泌的,在一段关系的初始阶段,这种荷尔蒙会给我们的心情造成极大的影响,严重到会导致那个人会在65%的时间内都出现在 我们的脑海中。



“รักแรกพบ” เกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาที
“一见钟情”在相见的7秒内 发生


ความประทับใจจากรักแรกพบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาทีแรกที่เราได้พบกับใครบางคน ซึ่งหมายความว่าระยะเวลาดังกล่าว แทบจะตัดสินใจได้ทันทีว่าเขาคนนั้นมีอะไรที่สามารถดึงดูดใจเราได้หรือไม่ ซึ่งความรู้สึกที่ต่างฝ่ายต่างมีแรงดึงดูดเข้าหากันนั้น ถือว่าเป็นรักแรกพบที่สามารถพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งได้
一见钟情留下的深刻印象会在我们遇到某个人的7秒中之内发生,那也就意味着这短短的时间就决定了这个人能在多大程度上吸引我们,双方都产生了想要接近的吸引力的话,就可能会发展成为一 段更深层次的关系。

ทั้งนี้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาทีที่เรากำลังพิจารณาว่าเขาคนนั้นดึงดูดใจเราได้หรือไม่ สมองจะหลั่งสาร “อ็อกซิโทซิน” ที่มักถูกเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ออกมา ซึ่งหากสมองบอกว่าเรากำลังมีความรัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะตกหลุมรักตั้งแต่แรกพบเข้าให้แล้ว
总之,在我们思考这个人到底吸不 吸引我们短短的时间内,大脑会分泌一种叫做催产素的荷尔蒙,它也被叫做“爱情荷尔蒙”,如果大脑告诉我们正在经历爱情的话,就可能从初次见面就坠入了爱河。


“การสบตา” ส่งผลต่อรักแรกพบ
“视线交汇”会对一 见钟情造成影响


ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยชิคาโกเคยทำการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการสบตาว่าสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกรักแรกพบได้หรือไม่ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของดวงตา รวมถึงการหาความแตกต่างด้วยว่าระหว่างความรักกับความใคร่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างไร
过去,芝加哥大 学曾经做过一个关于视线交汇能不能促成一见钟情的实验,这个实验研究眼球的活动,研究爱情和心仪的感觉会对眼球的活动造成怎样的影响。

จากการทดลองให้ดูภาพที่เกี่ยวกับความรักโรแมนติก และภาพที่กระตุ้นให้เกิดความอารมณ์หรือความรู้สึกทางเพศ พบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับใบหน้าของคนที่พวกเขากำลังมีความรักมากกว่า ขณะที่การเคลื่อนสายตาไปโฟกัสที่ร่างกายในภาพอื่น ๆ นั้น ก็สนับสนุนแนวคิดเรื่องรักแรกพบด้วยเช่นกัน
被研究者会被展示浪漫的图片和让他们产生性刺激的图片,研究发现,在被测试者眼球聚焦在其他图片上的身体的同时,他们更容易将注意力投在他们正在爱的人身上,这也支持了一见钟情的说法。



ผลพลอยได้จาก “ภาพลวงตาเชิงบวก”
“积极错 觉”带来的影响


ขณะที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน เมื่อปี 2017 ระบุว่ารักแรกพบอาจเป็นผลพลอยได้จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ภาพลวงตาเชิงบวก” (Positive Illusion) เมื่อคนรักสองคนเชื่อว่าตนเองตกหลุมรักกันและกันตั้งแต่แรกพบ ก็ทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับความทรงจำในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปในเชิงบวก
格罗宁根大学2017年 的一项调查表明,一见钟情可能是一种叫做“积极错觉”现象带来的结果,当恋爱中的两个人觉得自己一见钟情,就会和两个人过去的记忆产生关联,这些记忆又都会是积极正面的。

นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังพบด้วยว่าคนส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์รักแรกพบมักจะลงเอยด้วยความสัมพันธ์ระยะยาว และการหวนรำลึกถึงความทรงจำเมื่อครั้งที่พบกันครั้งแรกของทั้งคู่ก็สามารถส่งผลในเชิงบวกให้ต่างฝ่ายต่างรู้สึกผูกพันและรักกันมากขึ้นด้วย
除此之外,上述研究还发现大部分一见钟情的关系都比较长久,回忆一见钟情的故事会让恋爱中的两个人对对方产生更加紧密的联系和爱意。


原来爱情真的是又有科学依据但是又毫无道理可言的呢~

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,图片来自视觉中国,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。