喜欢看泰国新闻的学霸们,应该对"โยนกลอง"(扔鼓)这个词并不陌生。它是一项专业的体育运动,还是消遣娱乐的民间游戏?面对这飞来横鼓,我们该接还是该躲呢?这就跟小编一起一探究竟吧~

ประเด็นน่าสนใจ
趣味知识点

  • โยนกลอง เป็นสำนวนไทยที่พบได้บ่อยครั้งในข่าว-หน้าหนังสือพิมพ์
    "โยนกลอง"这个泰语俗语,常见于泰国新闻或报纸版面。

  • มีที่มาจากการตีกลองร้องทุกข์ในสมัยก่อน ที่ประชาชนผู้มีเรื่องเดือดร้อนจะมาตีกลองวินิจฉัยเภรี เพื่อถวายฏีกา
    起源于古时有冤屈的百姓们通过击鼓的方式向国王呈奏诉状。

  • เมื่อมีเรื่องร้องทุกข์เข้ามาจะมีการไต่สวน ซึ่งผู้ถูกไต่สวนก็จะมีการโยน หรือปัดความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น / หน่วยอื่น
    收到诉状后,就会进行调查审讯。 而受到审讯的人,往往会将责任推卸给其他的组织或个人。

  • จึงเป็นที่มาของคำว่า โยนกลองในที่สุด
    这就是"โยนกลอง"这句俗语的由来。

หนึ่งในสำนวนที่มีการใช้งานบ่อย และพบเห็นได้บนหน้าหนังสือพิมพ์หรือข่าวต่าง ๆ มักจะมีคำหนึ่งที่พบบ่อย นั่นคือคำว่า “โยนกลอง” แต่คำนี้ ไม่ได้หมายถึงการเอากลองมาโยนใส่กัน หรือโยนรับกันไปมา แต่เป็นการเปรียบเปรย-เปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า “โบ้ย” ที่วัยรุ่นในวันนี้ ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
在泰国的报纸版面或各类新闻中,经常能看到"โยนกลอง"这个词。"โยนกลอง"作为一个常用的泰语俗语,其涵义并非互相扔鼓或者来回接鼓,而是用作修辞比喻,与现下泰国年轻人口中的"โบ้ย"(推卸工作或责任)一词意思相近,至今仍被广泛使用。

 

ความหมายของคำว่า "โยนกลอง"
“扔鼓”的含义

สำนวนไทยคำว่า “โยนกลอง” หมายถึง การปัดหรือผลักภาระ หน้าที่ หรือความรับผิดชอบต่าง ๆ ไปให้ผู้อื่น เป็นผู้รับแทน เพื่อให้หน้าที่-ความรับผิดชอบนั้น พ้นไปจากตัวเอง ตัวอย่างประโยคที่ใช้ในข่าว ที่เราเห็นได้ เช่น
泰语俗语“扔鼓”的意思是将负担、职责或责任推卸给他人,由他人代为受过,从而为自己规避责任。比如我们在新闻中看到的以下例句:

“ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้น ต่างฝ่ายต่างโยนกลองกันไปว่า ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ”
“出现腐败问题,双方互相‘扔鼓’,声称不是自己的责任。”

 

ที่มาของคำว่า "โยนกลอง"
“扔鼓”的由来

ที่มาของคำนี้ แม้จะมีที่มาไม่ชัดเจน แต่จากข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เชื่อว่า สำนวนนี้ มาจากในสมัยโบราณ ประเทศไทยมีการตั้งกลอง กระดิ่ง หรือฆ้อง ไว้ที่หน้าวัง เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหา หรือมีเรื่องที่ต้องการร้องทุกข์ ได้มาตีกลอง-ฆ้อง ได้ถวายฏีกา ร้องทุกข์ ต่างๆ ถึงความเดือดเนื้อร้อนใจที่เกิดขึ้นใน
“扔鼓”一词,虽然没有明确的来源,但是从搜罗到的资料来看,这句俗语是由古代流传而来。在古代,泰国的皇宫门前会放置鼓、钟或锣,以供有难处或者有冤屈的百姓们通过敲锣打鼓的方式申诉心中的不满。

การใช้กลองในการตีเพื่อร้องทุกข์นั้น ตามที่บันทึกไว้หนังสือสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีการใช้งานในช่วงรัชกาลที่ 3 เรียกว่า กลองวินิจฉัยเภรี โดยจะเป็นกลองที่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปบูรณปฎิสังขรณ์เมืองจันทบุรี เป็นผู้สร้างและส่งเข้ามาถวายเมื่อ ค.ศ. ๒๓๘๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า ความทุกข์ร้อนของราษฎรที่จะร้องถวายฎีกาได้ก็ต่อเมื่อเวลาเสด็จออก แต่ถ้าให้ตีกลองร้องฎีกาได้ทุกวัน ก็จะสามารถบรรเทาทุกข์ของราษฎรได้ และได้พระราชทานนามกลองนี้ว่า วินิจฉัยเภรี
根据泰国皇家学院出版的《泰国历史百科全书》中的记载,鸣冤鼓起源于拉玛三世国王统治时期,在当时叫做"断案鼓"。是在公元 2380 年(原文表述为公历,实际上应当是佛历2380年),由朝廷派驻修缮尖竹汶城的财政大臣(本名"Dis")创作制造,并进献给拉玛三世国王的。根据拉玛三世国王圣谕:以前只有当他出宫巡访时,百姓们才有机会上诉,而有了这鸣冤鼓,百姓们可以每天都可以通过击鼓鸣冤的方式减轻心中的痛苦。拉玛三世国王还将此鼓命名为"断案鼓"。

ซึ่งเมื่อมีการร้องทุกข์ หรือยื่นฏีกา ก็จะมีการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ถูกร้องมาทำการไต่สวนว่า เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระทรวง หน่วยงานใด เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการปล้นสะดมภ์ โจรอาละวาด
当有人提出诉讼或呈上诉状时,被告人或者其他相关人员就会受到传唤接受审讯。 不论是抢劫还是盗窃,都会要求有关机构和部门受理案件。

และในการไต่สวนนี้เอง ก็มักพบว่า มีการปัดความรับผิดชอบ ไม่รับเรื่อง หรือโยนเรื่องดังกล่าวไปยังผู้อื่นไปมา
而在审判的过程中,经常会出现互相推诿,不愿承担责任的情况。

จากการปัดความรับผิดชอบ – โยนคำร้อง และฏีกาเหล่านั้นไปมา จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “โยนกลอง” นั่นเอง
因此,对于诉状上的指控互相推卸责任,便成了“扔鼓”一词的由来。

ภายหลังเมื่อมีประชาชนมากขึ้น การตีกลองวินิจฉัยเภรี เพื่อร้องทุกข์ต่างๆ มากขึ้น ควบคู่กับธรรมเนียมปฏิบัติแบบตะวันตกเข้ามาสู่ประเทศไทย จึงได้มีการยกเลิกการตีกล้องร้องทุกข์ ไปเป็นระบบศาลในช่วงสมัยนิยม
后来,击鼓鸣冤的百姓们多了起来,加之西方的惯例传到了泰国,击鼓鸣冤的状告方式便逐渐被近代的法院诉讼形式所取代了。

 

原来泰国人扔的鼓就是我们踢的皮球和甩的锅呀,真的是很有画面感了~

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自mthai,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。