学习泰语,就一定不能不提兰甘亨石碑,它是泰语最初的起源,石碑上的一笔一画都是后人了解当时素可泰时期暹罗最好的证据,要说到泰国的古代文明,那一定绕不开高棉文化的影响,也就是当今的柬埔寨,当时的吴哥王朝在整个中南半岛可以说是盛极一时,输出了很多高棉文化,现代泰语里还有数不尽的柬埔寨语借词。今天,我们就来带大家认识认识兰甘亨石碑,看看里面到底有多少高棉语的借词。

ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีข้อความหรือถ้อยคำจำนวนหนึ่งที่ปรากฏคำยืมจากภาษาเขมร แสดงให้เห็นว่าสุโขทัยรับอิทธิพลจากเขมรในระดับหนึ่ง
兰甘亨石碑上出现 了一定数量来自高棉语的借词,表明了素可泰一定程度上受到了高棉文化的影响。

ด้านที่ 1
 一面

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ว่า “น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูฏ่อ” คำว่า “เบก” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “เปก” มีความหมายว่า “เปิด” เช่น ในศิลาจารึก K. 940 ว่า “เปฺร เปก อาย ตีรถคฺราม” แปลว่า “ใช้ให้เปิดที่หมู่บ้านตีรถะ” (ศิลาจารึกเขมรโบราณรูปเขียน บ. กับ ป. เขียนแบบเดียวกัน และโดยปกติไทยมักเขียนรูป บ. กับ ป. เสมอในคำยืมภาษาเขมร)
在兰甘亨石碑第一面的第7行写道:“我不逃跑,我骑象冲撞敌人,冲到父亲前面,继续战斗”,“เบก”这个词来自古高棉语,在古高棉语石碑中出现,意思是“打开,开路”,比如在 K.940号石碑中记载了““เปฺร เปก อาย ตีรถคฺราม”,意思是:“在码头边的村庄开路”(古高棉语石碑中บ. 和ป.写法相同,泰国人在高棉语借词中บ. 和ป.使用大致平衡)。

ดังนั้น คำว่า “เบกพล” น่าจะมีความหมายว่า “เปิดพล” คือกิริยาที่ขับช้างเปิดทางให้พลทหารออกไป
所以,“เบกพล”的意思应 该是“เปิดพล”,是一个骑象为军队开路的动作。

อ. ศานติ ภักดีคำ ตั้งข้อสังเกตว่า คำว่า “เบก” ต่อมาในภาษาเขมรสมัยกลางได้เปลี่ยนระบบการเขียนจากสระเอ มาเป็นสระเออ จึงเป็น “เบีก” หรือ “เบิก” ซึ่งตรงกับการใช้ของภาษาไทยในยุคหลัง หากรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1 ขึ้นใหม่ ก็น่าจะทรงเขียนว่า “เบิก” มากกว่า “เบก”
Santi Phakdikham老师注意到,“เบก”这个词后来在中期高棉语的书写体系中由元音เอ变成了元音เออ,成了“เบีก” 或者 “เบิก”,和后来泰语中的借词一致,如果兰甘亨石碑是 拉玛四世才建成的,那就应该用“เบิก”,而不是“เบก”。

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 11 ว่า “อ ชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัว” คำว่า “บำเรอ” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “ปมฺเร” มีความหมายว่า “การรับใช้, ผู้รับใช้” เช่น ในศิลาจารึก K. 415 ว่า “อฺนก ต ปมฺเร กมฺนุง ต วฺระ ทฺวาร” แปลว่า “คนซึ่งรับใช้ในที่พระทวาร”
石碑第一面第11行写到:“我对我的父亲衷心,我对我的母亲衷心,我得到…”,“บำเรอ”这个词也是古高棉语的借词,在古高棉语石碑中以“ปมฺเร”的形式出现,意思是:“伺候,伺候服务 人员”,比如在K.415号石碑中记载到:“อฺนก ต ปมฺเร กมฺนุง ต วฺระ ทฺวาร”,意思是:“在宫门伺候的人。”

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 14 ว่า “มีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูทางเพื่ (อน)” คำว่า “จกอบ” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “โจฺกป” มีความหมายว่า “ภาษีที่เก็บบนเรือ” เช่น ในศิลาจารึก K. 44 ว่า “โจฺกป อุจิต สมฺวตฺสร”
石碑第一面第14行记载到:“水中有鱼,田中有稻,城主不向民众收税。”“จกอบ”一词也是古高棉语的借词,在古高棉语石碑中为“โจฺกป”,意思是:“在船上收取的税费”,比如在K.44号 石碑中记载到:“โจฺกป อุจิต สมฺวตฺสร”。

อย่างไรก็ตาม ภาษาเขมรตั้งแต่สมัยกลางเป็นต้นมาถึงปัจจุบันไม่มีการเขียนด้วยรูปนี้ แต่เปลี่ยนไปเขียนเป็น โกบ หรือ จงฺโกบ ดังนั้น คำว่า “จกอบ” จึงน่าจะเป็นคำยืมจากภาษาเขมรโบราณอย่างแน่นอน
无论如何,从中期到现代的高棉 语没有这么写这个词的,而是写成โกบ 或者จงฺโกบ,因此“จกอบ”一词肯定是从古高棉语中借来的词汇。

ด้านที่ 2
 二面

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 6 ว่า “กลางเมืองสุกโขไทนี้ มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี” คำว่า “ตระพัง” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “ตฺรวง” หรือ “ตฺรวาง” มีความหมายว่า “แหล่งน้ำของหมู่บ้าน” เช่น ในศิลาจารึก K. 56 ว่า “โลฺวะ ตฺรวง ถฺลา” แปลว่า “ถึงสระน้ำใส นอกจากนี้ ในศิลาจารึกวัดเขากบก็มีการใช้คำว่า “ตระพัง” เช่นเดียวกัน
石碑第二面第6行记载到:“在素可泰城中,有清澈的湖水,湖水味美。”“ตระพัง”是古高棉语借来的词汇,在古高棉语石碑中写做“ตฺรวง” 或 “ตฺรวาง”,意思 是:“村庄的水源”,例如在K.56号石碑中:“โลฺวะ ตฺรวง ถฺลา”,意思是:“到了清澈的湖”,除此之外,在Wat Khao Khop寺中也有用“ตระพัง”这个词。

สำหรับคำว่า “ตระพัง” ในภาษาเขมรปัจจุบันเขียนว่า “ตรฺพําง” แปลว่า “แอ่ง, หนอง, สระ”
“ตระพัง”在现代柬埔寨语 中写作:“ตรฺพําง”,意思是:“水洼,沼泽,湖。”

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 18 ว่า “ญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงคํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพี (น)” คำว่า “ดํ” นี้น่าจะมาจากคำว่า “ตํ” ในภาษาเขมรโบราณ มีความหมายว่า “ตี” ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณ เช่น ในศิลาจารึก K. 814 ว่า “ตํ สฺคร” แปลว่า “ตีกลอง”
石碑第二面第18行写到:“准备好财物,敲锣打鼓。”“ดํ”这个词可能来自古高棉语中的“ตํ”,意思是:“打”,在古高棉语石碑中出现,例如在K.814号石碑中记载了:“ตํ สฺคร” ,意思是:“打鼓”。

อย่างไรก็ตาม ในภาษาเขมรปัจจุบันเขียนคำนี้ว่า “ฎํ” อ. ศานติ ภักดีคำ อธิบายว่า ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่เขียนว่า “ดํ” นั้น น่าจะรับมาจากรูปเขียนในภาษาเขมรโบราณ ส่วนคำว่า “บงคํ” นั้น ภาษาเขมรโบราณแปลว่า “บังคม, การบูชา”
无论如何,在现代柬埔寨语中 把这个词写成“ฎํ”, Santi Phakdikham老师解释到,在兰甘亨石碑上写成“ดํ”,可能是受到了古高棉语写法的影响。“บงคํ”一词在古高棉语中的意思是:“跪拜,祭拜”。

ด้านที่ 3
 三面

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 2 ว่า “มีพระอจน มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ปาหมาก” คำว่า “ปราสาท” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “ปฺราสาท” มีความหมายว่า “หอสูง, วัด, ปราสาท (ของกษัตริย์)” เช่น ในศิลาจารึก K. 878 ว่า “สมรจ วฺระ ปฺราสาท“ แปลว่า “สำเร็จพระปราสาท” คำนี้ใช้ในความหมายรวม ๆ มาตั้งแต่ในศิลาจารึกเขมรโบราณ
石碑第三 面第2行记载到:“有佛像,有寺庙,有椰子林和槟榔林。”“ปราสาท”这个词是古高棉语的借词,在古高棉语的石碑中为“ปราสาท”,意思是:“高楼,寺庙,城堡(国王的),”例如在K.878号石碑上记录了:“สมรจ วฺระ ปฺราสาท”,意思是:“建成了寺庙”,这个词在古高棉语中的含义就非常宽泛。

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 6 ว่า “มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น” คำว่า “ขพุง” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ เขียนว่า “กฺวุง” หรือ “ขฺวุง” (ว. ต่อมาในจารึกสมัยหลังพระนครใช้ พ.) มีความหมายว่า “สิ่งที่นูน, นูน, โป่งขึ้น. ยอดสุดของภูเขา, วาสนา, ความโลภ” คำนี้ใช้เป็นชื่อทาส และใช้ขยายความสูงของภูเขา ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณ เช่น ในศิลาจารึก K. 855 ว่า “ต ขฺวุง วฺนํ” แปลว่า “อันยอดสูงสุดของภูเขา”
石碑第三面第6行 记载到:“有河流,有山川,在山上居住着鬼神。”“ขพุง”借自古高棉语,写作 “กฺวุง” 或“ขฺวุง” (吴哥后期的石碑上用พ.这个字母),意思是:“突出的地方,山顶;运气。”这个词可以是奴隶的名字,也可以用来修饰山的高,在古高棉语石碑上发现,例如在K.885石碑上有“ต ขฺวุง วฺนํ”的记录,意思是:“山的最高点”。

ดังนั้น “พระขพุง” จึงหมายถึง “ภูเขาสูง” นั่นเอง การที่สุโขทัยยึดเอาภูเขาสูงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น อาจมาจากคติเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาส ที่สืบทอดมาตั้งแต่เขมรโบราณสมัยพระนคร
因此,“พระขพุง” 一词的意思就是“高山”,素可泰将高山作为神圣的地方,可能是因为受到从吴哥时期古高棉文化中须弥山或冈仁波齐峰的影响。

อ. ศานติ ภักดีคำ กล่าสรุปเกี่ยวกับคำยืมจากภาษาเขมรที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “คำยืมภาษาเขมรที่ปรากฏการใช้ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงส่วนใหญ่เป็นคำเขมรโบราณ ซึ่งภาษาเขมรปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงรูปเขียนและความหมายไปแล้ว แต่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงยังปรากฏการใช้ในบริบทความหมายที่ร่วมกับศิลาจารึกเขมรโบราณหลักอื่นอยู่”
Santi Phakdikham老师总结到了在兰甘亨石碑上出现的高棉语借词:“大部分在兰甘亨石碑上出现的高棉语借词都是来自古高棉语,在现代柬埔寨语中的写法和含义都发生了变化,但是在兰甘亨石碑上的用法仍然和古高棉语石碑上的通用。”

你知道现代泰语中有哪些词汇是高棉语里借来的吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。