二战时期,在泰国发生过一件具有深远意义的大事件,那就是“死亡铁路”的修建,它是当时日军为了打通缅甸通路运送战略物资,聚集了成千上万战俘修建的,“死亡铁路”的名称也是由于修建时战俘的高死亡率和沿线惨烈的地理环境而命名,直到现在,它一直是泰国著名的历史景点之一。那你知道这条大名鼎鼎的死亡铁路和泰国究竟还有哪些纠葛吗?今天我们就来一起看看!

หากกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งหนึ่งที่หลายคนคิดถึงกันก็คือ “ทางรถไฟสายมรณะ” ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรจุเป็นแผนกิจกรรมให้เห็นอยู่เสมอ แต่ทางรถไฟสายนี้ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของไทย แม้มันจะอยู่ในประเทศไทย และเราได้มาด้วยการซื้อขายกันหลังสงครามสิ้นสุด
如果说到第二次世界大战,很多人会想到的一样东西就是北碧府的“死亡铁路”,现在是泰国的一个景点,有很多游览的套餐,但是泰国开始并不拥有这条铁路,即使它 身在泰国,而是战后泰国用钱买来的。

รายละเอียดเรื่องนี้ ไกรฤกษ์ นานา เขียนไว้ใน “ใครเป็นเจ้าของ ‘ทางรถไฟสายมรณะ’? ญี่ปุ่นสร้าง ฝรั่งขาย ไทยซื้อ” พอสรุปได้ดังนี้
关于这件事 的细节,Krairoek Nana在《谁是死亡铁路的主人:日本建造、西方售卖、泰国购买》一书中总结到:

วันที่ 20 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นก็เริ่มเจรจาขอสร้างทางรถไฟทหารสายใหม่ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการขนส่งจากสถานีรถไฟสายใต้ของไทยไปยังพม่าถึง 2 เส้นทาง คือ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก-กาญจนบุรี-ตันบูซายัด (ทางรถไฟสายไทย-พม่า) หรือทางรถไฟสายมรณะ และทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี (ทางรถไฟสายคอคอดกระ)
1941年12月20日,日军商讨要建立一条新的铁路,为了连接从泰国南部到缅甸的两条铁路,分别是Nong Pla Duk-北碧- Thanbyuzayat线(泰缅铁路)或死亡铁 路,和春蓬- Kra Buri线(克拉地峡线)。

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เขียนถึงเหตุผลในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ของญี่ปุ่นว่า
太平洋 战争期间的泰国外交部部长写到了日本建造泰缅铁路的原因:

“เรื่องรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่านี้ มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านเศร้าสลดมาก จนทั่วโลกขนานนามว่า ‘รถไฟสายมรณะ’ (The Railway of Death)
“北碧 府到缅甸的铁路线是以巨大的悲伤而闻名的,在全世界都以‘死亡铁路’而著称。

เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะเชื่อมการคมนาคมกับพม่าโดยผ่านทางเมืองกาญจนบุรี ฉะนั้นจึงได้เริ่มสำรวจการสร้างทางรถไฟสายนี้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) โดยสร้างพร้อมๆ กันทั้งสองด้าน คือ ทางด้านพม่าเริ่มจากเมืองทันไบยูซะยัดทางภาคใต้ของพม่า ทางด้านไทยเริ่มทางเมืองกาญจนบุรี แต่ภายหลังสร้างได้ไม่กี่เดือน ญี่ปุ่นเสียหายทางทะเลมากขึ้น ญี่ปุ่นเห็นว่าถ้าทางนี้เสร็จได้เร็วก็จะช่วยในเรื่องการขนส่งมาก จึงออกคำสั่งระดมให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943)
由于日本军队有着通过北碧府连接缅甸交通的政策,因此从1942年6月就开始考察修建此条铁路,从1942年11月开始建造,从两边同时开始修建,缅甸方面开始从缅甸南部的Thanbyuzayat开始,泰国从北碧府开始,但是建造了没多久,日军在海上损失惨重,认为如果这条铁路修建完成就能在运输方面起到大作用 ,于是下令集中力量在1943年8月内修建完成。

แต่เป็นที่ทราบกันแล้วว่าเส้นทางสายนี้ทุรกันดารที่สุด ต้องผ่านทิวเขามากมาย ป่าดงทึบ อากาศก็ร้อนจัด และในภูมิภาคนี้ฝนก็หนัก โรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดรุนแรง เครื่องมือสำหรับการช่างก็มีไม่พอ ทหารสัมพันธมิตรซึ่งเป็นเชลยเล่าว่า งานส่วนมากต้องทำโดยใช้เครื่องมือและกำลังแรงเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกต่างๆ เอามาใช้ รวมทั้งจ้างเกณฑ์พวกกุลีชาวทมิฬ พม่า ชวา ญวน มลายา และจีน คนงานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเชลยศึกหรือคนงานซึ่งเกณฑ์จ้างต้องทำงานอย่างหนักที่สุด ตั้งแต่เช้าจนค่ำ อาหารก็ไม่พอกิน ที่พักก็ใช้ผ้าใบซึ่งทำเป็นหลังคา ในฤดูมรสุมฝนตกหนักนอนไม่ได้เพราะน้ำท่วม คนงานส่วนมากจึงเจ็บป่วย ยาก็มีไม่พอหรือไม่มี ส่วนมากจึงไม่รักษาปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ผลก็คือล้มตายลงเป็นอันมาก
但是众所周知,这条线路极度贫瘠,需要穿越众多山丘和深林,天气炎热,雨水频繁,还有众多疾病,修路的工具也非常紧缺,同盟军的战俘讲到,大部分的工作需要用工具和体力,日本聚集了很多战俘作为劳力,包括很多泰米尔、爪哇、越南、马来和中国的苦力,这里的人不管是战俘还是苦力都要极其辛苦 地劳动,食物也很紧缺,休息的地方也是帆布搭成的帐篷,季风时节根本不能休息,因为全部被水淹没,大部分工人都会生病,药物不是紧缺就是没有,大部分只能听天由命,结果只能是大片大片的死亡。

ในที่สุดญี่ปุ่นก็เร่งจนเสร็จได้ และเริ่มเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เป็นระยะทาง 415 กิโลเมตร เมื่อเปิดทางกองทัพญี่ปุ่นต้องทำพิธีทางศาสนาอุทิศส่วนกุศลให้คนงานที่ตายในการสร้างทางนี้ ญี่ปุ่นคำนวณว่าในการสร้างทางรถไฟสายนี้ ทหารญี่ปุ่นต้องตายประมาณ 10,000 เชลยศึกตายประมาณ 10,000 และพวกกุลีที่จ้างเกณฑ์มาประมาณ 30,000 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรแถลงว่าญี่ปุ่นคำนวณต่ำมาก สัมพันธมิตรคำนวณจากผู้คนที่สูญหายไปในการนี้ว่า เชลยศึกคงตายประมาณ 12,000 กุลีประมาณ 250,000”
最终在日方的催促下铁路完工,在1943年10月17日通车,全长415公里,通车之后日军为死去的工人做了宗教仪式,日本计算这条铁路日军死了约1万人,战俘 死亡约1万人,苦力死亡约3万人,但是同盟军认为日方的统计数据过低,他们认为这条铁路造成了大约1.2万战俘和25万苦力的死亡。

โดยทางญี่ปุ่นได้ให้ความหวังแบบคลุมเครือต่อฝ่ายไทยตั้งแต่วันแถลงการณ์ว่า
日本在发布 公告的那天就给泰国许下了虚幻的承诺:

“ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2485 จึงได้มีการประชุมหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งมีพันโท ไชย ประทีปะเสน และ พลตรี โมะริยะ เซจิ ผู้แทนกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และได้ข้อสรุปว่า กองทัพญี่ปุ่นขอเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการใช้ทางรถไฟจนกว่าจะเสร็จสงคราม ส่วนรายละเอียดของการครอบครองภายหลังสงคราม ทางฝ่ายญี่ปุ่นยังไม่ยอมตกลงเป็นที่แน่ชัดจนกว่าสงครามจะเสร็จสิ้น”
“1942年 8月19日,泰国和日本举行了商讨,泰方代表为Chai Prathipasen中校,日方代表为Moriya Seiji少将,达成一致:在战争结束之前日方负责铁路的管理和使用,战后管理的详细问题,在战争结束前日方还不远过早定论。”

เมื่อสงครามยุติ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เข้ามาจัดการกับผู้แพ้ รวมถึง “ทรัพย์เชลย” ซึ่งนับรวมมี “ทางรถไฟสายมรณะ” ด้วย
当战争结 束,日本战败,同盟军开始向战败方清算,还包括“战俘财产”,其中就包括“死亡铁路”。

ลอร์ดหลุยส์ เมาต์แบตเทน ผู้บัญชาการสัมพันธมิตรประจำตะวันออกไกล ออกประกาศข้อบังคับใหม่ทันทีหลังสงครามกับการจัดทรัพย์ของพวกญี่ปุ่นเป็น “ของกลาง” ด้วยข้อตกลง 2 ข้อ โดยผู้แทนรัฐบาลไทยในขณะนั้น พลโท ศ. เสนาณรงค์ถูกเชิญไปลงนามรับทราบ ณ เมืองแคนดี้ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1945 (พ.ศ. 2488)
同盟 军远东总司令Louis Mountbatten在将日军财产视为中立物后立即发布了新的公告,共两条内容,但是的泰国政府代表Sawaeng Senanarong中将也在1945年9月8日被邀请至印度康提签字。

วันที่ 1 มกราคม 2489 และโดยผลแห่งข้อตกลงสมบูรณ์แบบนี้ ไทยต้องถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อังกฤษเป็นเงิน 30 ล้านบาท และยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่อังกฤษอีกเป็นเงิน 6 ล้านปอนด์ ซึ่งเทียบเป็นเงินไทยในขณะนั้นเท่ากับ 240 ล้านบาท
1946年1月1日,根据协议的规定,泰国需要向英国赔款3千万泰铢,还需要赔偿另外的6百万英镑损失费,换算成泰铢大约是2亿4千万泰铢。

ภายหลังที่ผู้แทนรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามในสัญญาสมบูรณ์แบบฉบับดังกล่าวนี้แล้ว รัฐบาลอังกฤษได้แจ้งต่อรัฐบาลไทยว่า ทางรถไฟสายไทย-พม่านั้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลอังกฤษ ให้ประเทศไทยดูแลรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ก่อน จนกว่ารัฐบาลอังกฤษจะได้พิจารณาดำเนินการอย่างใดต่อไป
后来两个国家在上述协议的完整版上签字,英国政府通知泰国政府,泰缅铁路为英国政府所有,请求泰国政府维持其原装,直到英国政府考虑好如何进行后 续处置。

รัฐบาลไทยได้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว มีความเห็นว่า ควรเปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ เพื่อขอซื้อทางรถไฟสายไทย-พม่าเสียเลยจะเหมาะสมกว่า เพื่อการตัดปัญหาต่างๆ อันจะเกิดขึ้นในภายหน้าลงโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าทางรถไฟยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของชาติอื่น โดยยังอยู่ในประเทศไทย ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นตามมาไม่เป็นที่สิ้นสุด
泰国政 府考虑后认为,需要和英国政府协商,认为直接买下泰缅铁路更加合适,以免后续出现各种问题,如果铁路还归其他国家所有,但是建在泰国,会产生源源不断的问题。

แต่ในเวลานั้นรัฐบาลไทยและอังกฤษต่างก็ตกอยู่ในสภาพถังแตกภาย หลังสงครามซ้ำเติมด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำฝืดเคืองอย่างหนัก แม้แต่ชาติผู้ชนะอย่างอังกฤษก็ยังต้องการเงินภายนอกมาจุนเจือความเสียหายของตนจากผลลัพธ์ของสงคราม
但是 当时的泰国和英国政府都是饱受疮痍,战争加上经济低迷,虽然是像英国这样的战胜国,也需要大量的外部资金来弥补战争带来的伤害。

อังกฤษมีภาระผูกพันต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่ประเทศที่ถูกใช้เป็นสมรภูมิจำเป็น (พม่า มลายา และอินโดนีเซีย) จึงหวังจะได้ขายทางรถไฟ ในราคาที่สูงกว่าต้นทุนจริง
英国 还需要向多个用作战场的国家(缅甸、马来亚、印尼)支付费用,所以希望能够以比本钱更高的价格售卖铁路。

ทูตอังกฤษมีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศไทยว่า ตามที่ญี่ปุ่นได้ขนวัสดุต่างๆ จาก พม่า มลายา และเนเธอร์แลนด์อิสตอินดีส [อินโดนีเซีย] มาสร้างทางรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่า รวมทั้งรถจักรและเครื่องอุปกรณ์ ฯลฯ บัดนี้ทางรัฐบาลอังกฤษจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ 3 ประเทศนั้นๆ จึงจะรื้อขนสิ่งของเหล่านั้นไป
英国 使馆向泰国外交部发文,因为日本从缅甸、马来亚、荷兰和印尼运送了大量物资修建泰缅铁路,还包括很多机械和工具,所以英国政府需要向这三个国家赔偿,因此要将这些物品拆除。

รัฐบาลไทยมีนโยบายจะรักษาสิทธิ์เหนือผืนดินของตนเองที่ทางรถไฟสร้างอยู่ จึงพยามซื้อคืนเสนทางรถไฟคืน โดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารโลกเป็นเงิน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาฟื้นฟูประเทศ ซึ่งในแผนแม่บทของรัฐบาลระบุชัดเจนว่าจะนำไปใช้ “บรูณาการรถไฟ”
 国政府希望能够维护建在铁路国土的主权,所以希望能够购买铁路,从世界银行借款3700万美元,用以恢复国家,政府也明确表示是为了“修缮铁路”。

ขั้นแรกรัฐบาลอังกฤษได้เสนอขายในราคา 3 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ฝ่ายไทยขอให้ลดราคาลงมาตามภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น เดือนกันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลอังกฤษจึงได้เสนอเรื่องขายทางรถไฟสายไทย-พม่าต่อกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยอีกครั้ง ในราคารวม 1.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เป็นราคาทางรถไฟ รวมทั้งค่ารางเหล็ก ไม้หมอน รถตู้ รถจักร เครื่องมือในโรงงานและพัสดุ ในสภาพที่เป็นอยู่แต่เดิม รวมทั้งเงินที่จะต้องชำระสำหรับรถจักร รถตู้ และรางรถไฟมลายู และเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงานกาญจนบุรี อันเป็นทรัพย์สินของเหมืองแร่บริษัท TAIPING TIN ด้วย
刚开始英国 政府定价为3百万英镑,泰国政府希望能够根据当时1946年9月的经济状况降低价格,英国政府向泰国外交部再一次提交了售卖泰缅铁路的议案,价格为150万英镑,包括铁路、铁轨、枕木、车厢、机械、工具的价格,当时都是TAIPING TIN矿产开采公司的财产。

การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2489 คณะรัฐมนตรีลงมติมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการเจรจาทำความตกลงซื้อทางรถไฟสายไทย-พม่า พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์และขอให้ต่อราคาลง และให้ได้ผ่อนชำระราคาเป็นเงินบาท
1946年9月30日的内阁会议任命了外交部负责购买泰缅铁路的商讨事宜,包括工具购买和协商价格,希望能够用泰铢分期付款。

หากราคาที่รัฐบาลไทยเสนอขอซื้อในชั้นหลัง ตรงกับราคาที่รัฐบาลอังกฤษเสนอขายใหม่คือ 1,250,000 ปอนด์ ส่วนการชำระเงินนั้น สำหรับทรัพย์สินของรัฐบาลมลายูและพม่า ฝ่ายไทยต้องชำระเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนั้นชำระเป็นเงินบาท และให้ผ่อนชำระได้ตามรายการที่ 2 ฝ่ายจะได้เจรจาตกลงกัน
后来泰国政府提出的价格和英国新的售卖价格125万英镑吻合,在付款方面,如果是马来亚政府和缅甸政府的财产,泰国需要用英镑进行付款,除此之外用泰铢付款,根据双方协商的方案分期付款。

 

原来大家现在熟知的死亡铁路背后还有这么多故事!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。