学习泰国历史的小伙伴可能听过一个叫做“罗斛”的地方,很多泰国古装的影视剧也经常会提到这个名字,那它到底是哪里呢?和泰国又有什么关系呢?今天我们就带大家走进这个曾是古老王国的“罗斛”。

(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

ลพบุรี เดิมชื่อลวปุระหรือโลวปุระ ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นลพบุรีโดยพระนารายณ์ (กษัตริย์พม่า) เมื่อ พ.ศ. 1630
华富里,以前叫做Lawapura或者Lowapura(古称罗斛),后来由缅甸国王Phra Narai在1087年更名为华富里。

มีปัญหาคาใจนักประวัติศาสตร์ไทยว่า ลพบุรีตกมาเป็นของไทยเมื่อใด?
很多泰国历史学家都对一个问题心存疑惑,华富里是在什么时候成为了泰国的?

ชัย เรืองศิลป์ กล่าวว่า “อาณาจักรลพบุรีของมอญพินาศลงก่อนหริภุญชัยหลายร้อยปี ศิลาจารึกภาษาเขมรสองหลักที่พบในเมืองลพบุรีแสดงว่า 1565 เมืองละโว้หรือลวปุระหรือลพบุรีอยู่ใต้ปกครองของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 กษัตริย์กัมพูชา นี่เป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเขมรในตอนปลายศตวรรษที่ 16
Chai Ruengsin说:“孟族人的罗斛王国在哈利奔猜王国几百年前就灭亡了,在华富里府出土的两座高棉语石碑表明,1022年罗斛在高棉国王苏利耶跋摩一世的统治之下,这个证据比较可信,表明佛历16世纪末高棉统治着湄南河下游的河谷地区。”

ในศตวรรษที่ 17 มีชนชาวไทยตั้งบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่มีเอกราชสมบูรณ์ ยังต้องอยู่ใต้อำนาจหรืออารักขาของพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา” (ประวัติสังคมไทยสมัยโบราณก่อนศตวรรษที่ 25 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2539)
佛历17世纪, 泰族人开始在湄南河建立王国,但是没有完全的独立,还处在高棉王国的统治之下(佛历25世纪前古代泰国社会史,第3版,1996)。

ศรีศักร วัลลิโภดม กล่าวไว้ในหนังสือสยามประเทศว่า “ขอมกัมพูชากับอยุธยามีความสัมพันธ์กันมา แม้ย้อนขึ้นไปสมัยก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่า เมืองละโว้หรือลพบุรี เป็นเมืองอยู่ภายใต้อิทธิพลการเมืองของขอมที่กัมพูชาเสียด้วยซ้ำ”
Sisak Wanliphodom在《暹罗国家》一书中讲到:“即使是退回到更早的时代,高棉与阿瑜陀耶来往密切,罗斛城是处在高棉的统治之下的。”

ผู้เขียน (เรื่องนี้) มีข้อมูลใหม่ใคร่จะเสนอดังต่อไปนี้
本文的作者还有新增的资料,如下:

พระเจ้าพรหมมหาราช (1583-1659) เป็นผู้ตีได้หรือยึดได้ลพบุรี ด้วยเหตุผลดังจะกล่าวต่อไปนี้ พระเจ้าพรหมมหาราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพังคราช ถูกขอมเมืองอุมงคเสลาแย่งเอาโยนกนครไปได้ต้องหลบไปอยู่ที่เมืองสีทวง ต่อมา พ.ศ. 1599 พระเจ้าพรหมมหาราชขณะที่มีพระชนม์ได้ 17 พรรษา นําทัพไทยตียึดเอาโยนกนครคืนจากขอมได้ และตามตีขอมไปถึงเมืองอุมงคเสลา ยึดเมืองอุมงคเสลาจากขอมได้อย่างสง่างามและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเวียงไชยปราการ ขอมถอยร่นลงมาทางใต้ พระเจ้าพรหมมหาราชนํากองทัพไทยตามตีถึงเมืองกําแพงเพชร ก่อนจะถึงเมืองกําแพงเพชรตีได้อาณาจักรหริภุญชัย และเปลี่ยนเป็นอาณาจักรล้านนา และตีได้เมืองศรีสัชนาลัยจากพระเจ้าพสุจราช
Prom Maharaja(1040-1116)攻下了罗斛,因为如此,Prom Maharaja作为Pangkharacha的王子,被高棉城主抢夺走了信哈那瓦地的统治权,不得不躲在Sithuang城中,后来1056年,当时17岁的Prom Maharaja,带兵从高棉手中夺回了信哈那瓦地,将高棉军队打至Umongkasela城,从高棉人手中抢到了Umongkasela城的统治权,并且改名为Wiang Chai Prakan,高棉军队南撤,Prom Maharaja率领军队一直打到甘烹碧城,攻打至甘烹碧之前,先占领了哈利奔猜,后来成为了兰纳王国,还从Phraya Phasut Racha手中占领了是塞差那萊。

ระหว่าง พ.ศ. 1649 ถึง 1659 เป็นเวลา 10 ปี เสด็จจากเวียงไชยปราการมาทรงสร้างเมืองพิษณุโลก สร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศาสดา ที่สําคัญคือทรงไปยึดเอาเมืองลพบุรี เนื่องจากระยะ พ.ศ. 1630-1649 เมืองลพบุรีว่างกษัตริย์ลง…ผู้เขียนเข้าใจว่าพระนารายณ์ กษัตริย์เมืองละโว้คงสิ้นพระชนม์ลง จึงเป็นโอกาสให้พระเจ้าพรหมมหาราชทรงยาตราทัพไทย เข้ายึดไว้ได้แล้วใน พ.ศ. 1649 พระเจ้าพรหมมหาราชจึงโปรดให้เจ้าไกรสรราช พระราชโอรสกับพระชายาคือพระนางสุลเทวีพระธิดาของกษัตริย์เมืองศรีสัชนาลัย ไปครองเมืองลพบุรี
在1106-1116这10年的时间,从Wiang Chai Prakan出发,建立了彭世洛城、Phraphut Chinsri、Phraphut Chinrat、Phrasatsada三座佛像,更重要的是控制了罗斛城,因为在1087-1106年罗斛没有君主。作者认为,罗斛的君主Phra Narai王可能是驾崩了,所以给了Prom Maharaja机会,在1106年被占领,Prom Maharaja派自己的王子Pra Kraisorn Racha和王后是塞差那萊公主Pranang Sulaweti去统治罗斛城。

ลพบุรีจึงตกเป็นของไทยตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมา
罗斛从那个时候开始就成为泰国的一部分了。

 

有机会去华富里旅游的同学除了猴子大军,千万不要错过那些历史景点哦!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。