相信去过芭提雅的小伙伴都会印象深刻,作为一个知名的旅游城市,芭提雅到处的灯红酒绿,让人眼花缭乱,但是大家可能不知道,这个看起来非常繁荣的旅游胜地,之前竟然是一个小渔村,它到底是如何发展起来的呢?今天就让我们好好了解一下吧!

文章带读:
朗读:(泰)ฟ้าใส
 

เมืองพัทยา เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ เงียบสงบ ธรรมชาติงดงาม แต่ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักทั่วไป ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห่างจากกรุงเทพประมาณ 150 กิโลเมตรเศษ มีอ่าวและชายหาด ที่สวยงาม และสามารถลงเล่นน้ำได้ ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร
芭提雅以前是一个寂静的小渔村,自然风光秀美,但并不为大众所熟知。芭提雅位于春武里府直辖县Nakluea镇,距离曼谷150多公里,有好看的海湾和沙滩,可以下去玩水,长约3公里。

ส่วนชื่อเมืองที่เรียกว่า “พัทยา” นั้น สันนิษฐานเป็น 2 แนวทาง ด้วยกันคือ
“芭提雅”这个名字有两种推测方向:

หนึ่งมาจากคำว่า “ทัพพระยา” เนื่องจากสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าพระยากําแพงเพชร นำทัพเดินทางไปจันทบุรีรวบรวมไพร่พลเพื่อกอบกู้บ้านเมือง เดินทางผ่านชลบุรี และได้มาตั้งค่ายพักค้างที่พัทยา 1 คืน
一种说法是来自1767年阿瑜陀耶时期达信王的“ทัพพระยา”(披耶的军队),当时他还是烹碧的昭披耶,带领军队到了尖竹汶府保卫家乡,经过了春武里府,在芭提雅驻军一夜

อีกหนึ่งมาจากคำว่า “พัทธยา” ซึ่งเป็นชื่อลมประจำฤดูของไทยชนิดหนึ่ง ที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูต้นฝน (ประมาณดือนพฤษภาคม-ปลายเดือนตุลาคม) ชื่อ “ลมพัทธยา” เป็นชื่อที่เรียกกันมาตั้งแต่โบราณ เมื่อลมพัทธยาพัดมาก็เป็นสัญญาณของฤดูฝน
另一种说法是来自“พัทธยา”,是泰国的一种季风,在雨季(大概是在5月到10月末)从西南方向吹向东北方向,被称为“Phatthaya季风”,从古代就叫这个名字,是雨季到来的标志。

ส่วนที่ชื่อเมืองเหลือเพียง “พัทยา” เช่นปัจจุบัน อาจเป็นการกร่อนลงในการออกเสียงหรือการเขียน อันเนื่องจากวีรกรรมของพระเจ้าตากสินมหาราช หรือชื่อลมประจำฤดู ทางใดทางหนึ่ง
最后只剩下“芭提雅”,可能是在读写过程中的简化,可能是来自达信大帝的英雄事迹,或者是季风的名字。

แล้วพัทยา เปลี่ยนจากหมู่บ้านชาวประมง มาจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อใด
那芭提雅是怎么从一个小渔村变成全世界人都知道的旅游胜地的呢?

จุดเริ่มต้นในฐานะเมืองท่องเที่ยวของพัทยา คาดว่าน่าจะเกิดใน พ.ศ. 2497 เมื่อไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) ซึ่งมีอเมริกาเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิก ส.ป.อ. ทำให้ไทยมีเกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนามอยู่เป็นเวลานาน ( พ.ศ. 2497-2518) ที่สำคัญคือการขอตั้ง “ฐานทัพชั่วคราว” ในประเทศไทยของอเมริกา เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติการ
芭提雅作为旅游城市的起点应该是1954年以美国为首的东南亚条约组织建成,作为条约组织的成员泰国在越南战争(1954-1975)期间起了重要的作用,作为美军基地为其提供便利。

สถานการณ์ดังกล่าว “พัทยา” จึงเป็นสถานที่พักผ่อนที่ดีสำหรับกองทัพอเมริกาในขณะนั้น
当时的状况下芭提雅就成了美国军队重要的好休息处。

ทหารสหรัฐจากสมรภูมิเวียดนามที่ปฏิบัติภารกิจครบกำหนด จะมีทหารผลัดใหม่ไปเปลี่ยนเวรให้ทหารชุดเดิมได้หยุดพักผ่อน โดยทหารแต่ละผลัดจะมีจำนวนประมาณ 400-500 คน ระยะเวลาการพักผ่อนของทหารแต่ละผลัดประมาณ 1 สัปดาห์ และทหารอเมริกันเริ่มมาพักผ่อนที่พัทยาครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2502
参加越南战争的美军不断更替,每届大约400-500人,在芭提雅停留休息的时间大约为1周,在1959年4月第一次在芭提雅驻扎修养。

ชาวพัทยาและประชาชนพื้นที่ใกล้เคียงพยายามหาสินค้าและบริการต่างๆ มาค้าขายกับทหารอเมริกา แต่ไม่นานนักลงทุนต่างถิ่นก็เข้ามาลงทุนในพื้นที่ทำให้เกิดการจ้างงานและกิจการใหม่ๆ ขึ้น เช่น ร้านอาหาร, บ้านพักตากอากาศ, โรงแรม, บังกะโล, ร้านจำหน่ายของที่ระลึก, สถานบันเทิง ฯลฯ แทนอาชีพประมง ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ในกิจการโรงแรม
芭提雅和附近的居民寻找各种商品和服务售卖给美军,但是不久就有资本家在当地投资,催生了雇佣和很多新产业,比如餐厅、度假村、酒店、洋房、纪念品店、娱乐场所等,代替了捕鱼业,比如说下列的酒店行业。

พ.ศ. 2506 โรงแรมโอเรียนเต็ลจากกรุงเทพฯ ได้ลงทุน 25 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงแรมสาขาที่พัทยา ชื่อ โรงแรมนิภา ลอดจ์-โรงแรมแห่งแรกของพัทยามาตรฐานระดับนานาชาติ เป็นโรงแรมขนาดใหญ่มีจำนวนห้องพััก 112 ห้อง เปิดให้บริการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507
1963年,来自曼谷的Oriental酒店投资了2500万泰铢,在芭提雅建造了第一所国际水平的Nipa Lodge酒店,这是一家共有112个房间的大型酒店,在1964年12月投入使用。

เมื่อสงครามเวียดนามยุติลง กองทัพอเมริกายกกำลังพลกลับประเทศ แต่เมืองพัทยาก็ขึ้นแท่นเป็นเมืองท่องเที่ยวที่รู้จักกันไปทั่วโลกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในท้องถิ่น, แรงงานที่เข้ามาประกอบอาชีพ และนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศที่เดินทางมาพักผ่อน ฯลฯ ล้วนแต่เกินกำลังที่สุขาภิบาลนาเกลือจะจัดการได้
当越南战争结束之后,驻扎的美军就回到了美国,但是芭提雅却成为了全世界闻名的旅游城市,不管是当地居民、前来务工的劳工和各国的游客,都超过了Nakluea卫生区能够承受的范围。

รัฐบาลจึงพิจารณาให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเมืองพัทยาใหม่ จากเดิมที่เป็น “สุขาภิบาลนาเกลือ” เมื่อ พ.ศ. 2499 พื้นที่ครอบคลุมเขตตำบลนาเกลือและพัทยาใต้ มาเป็นรูปการบริหารพิเศษเรียกว่า “เมืองพัทยา” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 และตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 ขึ้น โดยนำเอารูปแบบการบริหาร แบบผู้จัดการเทศบาล (City Manager)
政府于是调整了芭提雅的行政管理体系,从原来1956年包括Nakluea镇和南芭提雅的“Nakluea卫生区”,在1978年11月29日改为“芭提雅市”,同年通过法令确立的芭提雅的管理制度为城市经理制

 

大家对芭提雅有什么印象呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。